อาหารไม่ย่อย

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
อาหารไม่ย่อย

ภาวะอาหารไม่ย่อยทำให้คุณมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบาย ณ ส่วนท้อง (อาการปวดท้อง) หรืออาการแสบร้อนหลังกระดูกหน้าอก (อาการแสบร้อนกลางอก)

อาการปวดท้อง (Dyspepsia) และอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn) อาจเกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังการรับประทานหรือดื่มน้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้มีดังนี้: 

  • รู้สึกอิ่มหรือท้องอืด 
  • คลื่นไส้
  • เรอ 
  • ของเหลวหรืออาหารย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร

ภาวะอาหารไม่ย่อยนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย แต่กรณีส่วนมากจะไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่านั้น

เหตุใดจึงเกิดภาวะนี้ขึ้น?

ภาวะอาหารไม่ย่อยอาจเกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหารเข้าไปสัมผัสกับเนื้อเยื่อเมือกที่อ่อนไหวของระบบย่อยอาหาร (mucosa) จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบที่สร้างความเจ็บปวดขึ้นมา

ผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยส่วนมากจะไม่มีการอักเสบภายในระบบย่อยอาหาร ดังนั้นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงคาดกันว่ามาจากความอ่อนไหวที่เพิ่มขึ้นของ mucosa เอง (ทั้งจากความเป็นกรดหรือการยืดตัวออก)

กรณีส่วนมากเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร แต่ก็สามารถเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นการสูบบุหรี่ การดื่ม แอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ ความเครียด หรือการใช้ยาบางประเภท

การรักษาภาวะอาหารไม่ย่อยที่บ้าน

ผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยส่วนมากสามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและวิถีชีวิตง่าย ๆ อีกทั้งยังมียามากมายที่สามารถช่วยได้เช่นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (antacids)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะนี้อาจเกิดมาจากปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ (หายาก) ซึ่งหากแพทย์คาดว่าภาวะอาหารไม่ย่อยของคุณเกิดจากกรณีเช่นนี้ จะมีการตรวจสอบส่องกล้องเพื่อเสาะหาปัญหาอื่น ๆ เพิ่มเติม

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยส่วนมากไม่จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แต่หากเกิดอาการนี้ซ้ำ ๆ ก็ควรไปพบแพทย์

คุณควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการจากอาหารไม่ย่อยและอยู่ในเกณฑ์ต่อไปนี้: คุณมีอายุ 55 ปีขึ้นไป คุณสูญเสียน้ำหนักร่างกายไปมากโดยไม่ทราบสาเหตุ คุณมีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) เพิ่มขึ้น คุณอาเจียนเรื้อรัง คุณมีภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ( iron deficiency anaemia) คุณมีก้อนแปลกปลอมในกระเพาะอาหาร คุณมีเลือดปนกองอาเจียนหรือในอุจจาระ

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพต้นตอ เช่นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแม้แต่มะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้นคุณจึงต้องเข้ารับการตรวจสอดกล้องเพื่อมองหาความเป็นไปได้ต่าง ๆ

กระบวนการสอดกล้องทางเดินอาหาร (endoscopy) เป็นกระบวนการตรวจภายในร่างกายด้วยการใช้ endoscope (ท่อเรียวยาวและยืดหยุ่นที่มีไฟฉายและกล้องติดอยู่ที่ปลาย)

ภาวะอาหารไม่ย่อยรุนแรงอาจทำให้เกิดปัญหาระยะยาวขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร เช่นแผลเป็นที่หลอดอาหาร หรือบนท่อจากกระเพาะอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะอาหารไม่ย่อยที่บ้าน

อาการหลักของภาวะอาหารไม่ย่อยคืออาการปวดหรือไม่สบายในท้องส่วนบน (dyspepsia) ที่ผู้ป่วยมักจะประสบร่วมกับอาการแสบร้อนหลังกระดูกหน้าอก (heartburn) แต่ก็สามารถเกิดขึ้นต่างหากจากกันก็ได้

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำแทบจะทันที แต่ก็อาจมีช่วงเวลาที่เว้นว่างระหว่างการรับประทานอาหารและการเกิดอาการก็ได้

อาการแสบร้อนกลางอกเกิดจากน้ำย่อยจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร (oesophagus)

หากคุณประสบกับภาวะอาหารไม่ย่อย คุณอาจประสบกับอาการต่อไปนี้ได้: รู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัว เราหรือผายลม อาหารหรือของเหลวไหลกลับจากกระเพาะอาหาร ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน

สาเหตุของภาวะอาหารไม่ย่อยที่บ้าน

ภาวะอาหารไม่ย่อยมาจากสาเหตุมากมายต่างกัน และมักไม่ได้เกิดจากภาวะสุขภาพร้ายแรง

กระเพาะอาหารจะทำการผลิตกรดเป็นกระบวนการปรกติ แต่บางครั้งกรดเหล่านั้นก็อาจไปสร้างความระคายเคืองที่เยื่อบุของกระเพาะอาหาร ที่ส่วนบนของลำไส้ใหญ่ (duodenum) หรือแม้แต่หลอดอาหารเสียเอง

ความระคายเคืองนี้จะสร้างความเจ็บปวดและมักทำให้รู้สึกแสบร้อนขึ้นมา ซึ่งภาวะอาหารไม่ย่อยนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อบุของระบบย่อยอาหารมีความอ่อนไหวต่อกรดในกระเพาะมากขึ้น หรือเกิดจากการยืดออกระหว่างการรับประทานอาหาร

ภาวะอาหารไม่ย่อยอาจถูกกระตุ้นให้เกิดหรือทำให้ทรุดลงโดยปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

การใช้ยา

คุณอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยขณะที่กำลังใช้ยาบางประเภทอยู่ เช่น nitrates (ที่ช่วยขยายหลอดเลือด) ที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัวลงจนทำให้กรดเล็ดรั่วกลับขึ้นไป

ยาอื่น ๆ อย่างยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) ก็สามารถส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้เช่นกัน

ห้ามใช้ยา NSAID อย่างอิบูโพรเฟน (ibuprofen) และแอสไพริน (aspirin) หากคุณมีหรือเคยเป็นปัญหาที่กระเพาะอาหาร เช่นภาวะแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งเด็กที่อายุต่ำว่า 16 ปีไม่ควรทานยาแอสไพริน

ห้ามหยุดยาที่แพทย์จ่ายให้เองนอกจากจะได้รับคำแนะนำยินยอมจากแพทย์ผู้จ่ายยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นที่เกี่ยวข้องกับแผนการดูแลรักษาตัวคุณแล้ว

ภาวะอ้วน

หากคุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกิน คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะอาหารไม่ย่อยเนื่องจากแรงกดภายในกระเพาะอาหารมีมากขึ้น และเมื่อได้รับแรงกดมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารได้

ความเครียดหรือความวิตกกังวล

หากคุณมักรู้สึกเครียดหรือกังวลบ่อยครั้ง ความรู้สึกเหล่านี้ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการของภาวะอาหารไม่ย่อยได้

ไส้เลื่อนกระบังลม

ไส้เลื่อนเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะภายในร่างกายเกิดดันไปยังกล้ามเนื้อหรือผนังเนื้อเยื่อที่บอบบางโดยรอบ

ส่วนภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus hernia) เกิดขึ้นเมื่อส่วนของกระเพาะอาหารดันตัวขึ้นไปยังกระบังลม (แผ่นกล้ามเนื้อใต้ปอด) ซึ่งทำให้เกิดการตีบตันบางส่วนที่กันไม่ให้กรดออกจากหลอดอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกขึ้นมา

การติดเชื้อ Helicobacter pylori

การติดเชื้อHelicobacter เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยมาก ซึ่งทำให้เกิดแผนบนกระเพาะ หรือในกรณีหายากคือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในกรณีส่วนมากก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ เลย

ผู้ป่วยบางรายอาจประสบกับอาการอาหารไม่ย่อยจากการติดเชื้อ Helicobacter และในกรณีเหล่านี้จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-oesophageal reflux disease - GORD) เป็นภาวะทั่วไปและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยซ้ำซาก โรคนี้เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดเนื่องจากหูรูดหลอดอาหารไม่สามารถป้องกันน้ำย่อยไม่ให้ย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้

การไหลย้อนของกรดปริมาณเล็กน้อยมักจะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดย GORD จะเกิดขึ้นเมื่อมีการไหลย้อนกลับในปริมาณมากจนทำให้เยื่อบุอ่อนไหวของหลอดอาหารอักเสบ โรคนี้ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก รู้สึกถึงอาหารในกระเพาะไหลย้อน หรืออาการกลืนลำบาก เป็นต้น

แผลในกระเพาะอาหาร

ภาวะแผลในกระเพาะอาหารเป็นแผลเปิดที่เกิดบนเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) หรือที่ลำไส้ (duodenal ulcer) หากคุณมีแผลที่กระเพาะอาหารคุณอาจจะประสบกับภาวะอาหารไม่ย่อยเป็นอาการจากแผลได้

แผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะไปสร้างความเสียหายที่ผนังเยื่อบุกระเพาะหรือผนัง duodenum ซึ่งในกรณีส่วนมาก ความเสียหายนี้เป็นผลมาจากการติดเชื้อ H pylori เอง

มะเร็งกระเพาะอาหาร

กรณีหายาก การเกิดภาวะแผลในกระเพาะอาหารซ้ำซากอาจเป็นหนึ่งในอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารก็ได้

เซลล์มะเร็งในกระเพาะได้เข้าทำลายเยื่อเมือกปกคลุมโดยรอบจนทำให้กรดไหลไปสัมผัสกับผนังกระเพาะโดยตรง

การวินิจฉัยภาวะอาหารไม่ย่อย

ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการจากภาวะอาหารไม่ย่อยไม่บ่อยและไม่รุนแรง และอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม หากคุณประสบกับภาวะอาหารไม่ย่อยบ่อยครั้ง หรือหากคุณมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวรุนแรง ควรรีบพบแพทย์จะดีที่สุด โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะอาหารไม่ย่อยและ: อาการอื่น ๆ ที่คุณประสบ ที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะสุขภาพต้นตออื่น ๆ ยาที่คุณกำลังใช้อยู่ วิธีการใช้ชีวิตของคุณ เช่นคุณสูบบุหรี่และดื่มเหล้าหรือไม่ หรือมีน้ำหนักร่างกายเกินหรือไม่

แพทย์อาจทำการกดเบา ๆ บนหน้าท้องของคุณเพื่อตรวจสอบว่าคุณมีอาการเจ็บหรือไม่

แพทย์อาจต้องทำการตรวจสอบภาวะของคุณเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการจากภาวะอาหารไม่ย่อยของคุณ เนื่องจากว่าบางครั้งภาวะอาหารไม่ย่อยนี้อาจเกิดมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ เช่นการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H pylori) เป็นต้น

รายละเอียดการตรวจสอบเพิ่มเติมที่อาจต้องดำเนินการมีดังนี้

การตรวจสอบเพิ่มเติม

การสอดกล้อง

คุณอาจถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Endoscopy) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบภายในร่างกายของคุณด้วยท่อ endoscope ที่มีลักษณะเรียวยาวและยืดหยุ่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณนิ้วก้อยของคุณเท่านั้น ซึ่งท่อจะมีไฟส่องและกล้องติดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่ง กล้องนี้จะจับภาพภายในร่างกายขึ้นบนหน้าจอ TV ภายนอก

Endoscopy มักไม่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะอาหารไม่ย่อย แต่แพทย์ก็อาจนำวิธีการนี้มาใช้ตรวจหาภาวะนี้หากว่า: แพทย์ต้องการตรวจสอบภายในช่องท้องของคุณอย่างละเอียด คุณเคยได้รับการรักษาภาวะอาหารไม่ย่อยมาและไม่ได้ผล คุณมีอาการจากภาวะอาหารไม่ย่อยชนิดรุนแรง

การใช้ยารักษาภาวะนี้อาจไปบดบังปัญหาบางอย่างที่ควรจะพบเจอระหว่างการส่องกล้อง ดังนั้นคุณอาจต้องทำการหยุดยา proton pump inhibitors (PPIs)กับ H2-receptor antagonists ก่อนเข้ารับการทดสอบอย่างน้อยสองสัปดาห์

แพทย์อาจแนะนำให้คุณเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นหากยาชนิดที่ใช้ทำให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย ซึ่งคุณสามารถหยุดใช้ยาได้หากได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบดูแลคุณอยู่เท่านั้น

การวินิจฉัยการติดเชื้อ H pylori

หากแพทย์คาดว่าอาการของคุณเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H pylori คุณอาจต้องเข้ารับการทดสอบหาภาวะติดเชื้อนี้ เช่น: การตรวจแอนติเจนในอุจจาระ: จะมีการเก็บตัวอย่างอุจจาระขนาดเท่าเม็ดถั่วไปทดสอบหาแบคทีเรีย H pylori การตรวจลมหายใจ การตรวจเลือดเพื่อทดสอบหาแอนติบอดีที่มีต่อแบคทีเรีย H pylori (แอนติบอดีคือโปรตีนที่ร่างกายผลิตออกมาต่อสู้กับการติดเชื้อ)

ยาปฏิชีวนะและ PPI จะส่งผลต่อผลการทดสอบลมหายใจหรือการทดสอบแอนติเจนในอุจจาระ ดังนั้นก่อนเข้ารับการทดสอบสองสัปดาห์และสี่สัปดาห์คุณต้องทำการหยุดใช้ยา PPI และยาปฏิชีวนะตามลำดับ

การวินิจฉัยภาวะอื่น ๆ

หากแพทย์คาดว่าอาการอาหารไม่ย่อยของคุณเกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ คุณจำต้องเข้ารับการทดสอบต่าง ๆ เพื่อมองหาภาวะต้นตอเหล่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดท้องสามารถเกิดจากท่อน้ำดีภายในตับของคุณได้ โดยท่อน้ำดีคือกลุ่มท่อที่ลำเลียงน้ำดี (ของเหลวที่ใช้ทำลายไขมันในระบบย่อยอาหาร) จากตับสู่ถุงน้ำดี (ถุงที่ไว้ใช้กักเก็บน้ำดี) และลำไส้ หากแพทย์คาดว่าเกิดจากท่อเหล่านี้ อาจมีการทดสอบการทำงานของตับคุณซึ่งมักเป็นการตรวจเลือดประเมินการทำงานของตับ

คุณอาจถูกจัดไปทำการอัลตราซาวด์ช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อให้แพทย์มองเห็นภาพภายในร่างกายของคุณออกมา

การรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย

การรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) มีความผันแปรออกไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะและความรุนแรงของอาการต่าง ๆ

หากคุณถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะสุขภาพต้นตอ คุณต้องทำการรักษาภาวะสุขภาพนั้น ๆ แทน

การปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต

ถ้าอาการอาหารไม่ย่อยของคุณเกิดขึ้นไม่บ่อย คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา คุณสามารถบรรเทาอาการของคุณได้ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินและการใช้ชีวิตเล็กน้อยดังนี้

การลดน้ำหนัก

การที่คุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกินจะเกิดแรงกดขึ้นบนกระเพาะอาหารจนทำให้น้ำย่อยถูกดันออกทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น (กรดไหลย้อน) และนี่ก็นับเป็นสาเหตุของภาวะอาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

หากคุณมีภาวะอ้วน (obese) สิ่งสำคัญคือการลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ปลอดภัยและคงที่ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ กับทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ

เลิกสูบบุหรี่

หากคุณสูบบุหรี่ สารเคมีที่คุณสูดเข้าไปจะส่งผลให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อยเช่นกัน สารเคมีเหล่านี้จะไปทำให้กล้ามเนื้อวงแหวนที่แยกหลอดอาหารจากกระเพาะคลายตัวลงจนทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยขึ้นมา

อาหารและแอลกอฮอล์

พยายามจดบันทึกว่าอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทไหนที่ทำให้อาการอาหารไม่ย่อยทรุดลง และเลี่ยงอาหารเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง: การทานอาหารที่มีไขมันสูงและรสเผ็ดน้อยลง การงดหรือลดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลง เลี่ยงหรือเลิกสุรา

เวลานอน

หากคุณประสบกับอาการอาหารไม่ย่อยตอนกลางคืน ควรเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอนสามถึงสี่ชั่วโมง เพราะการเข้านอนทั้ง ๆ ที่มีอาหารเต็มกระเพาะจะเพิ่มความเสี่ยงที่กรดจะเล็ดลอดเข้าไปในหลอดอาหารในขณะที่คุณนอนอยู่นั่นเอง

เมื่อคุณนอน ควรใช้หมอนสองใบหนุนศีรษะและหัวไหล่ให้สูงขึ้น หรือใช้วิธียกฝูกนอนส่วนบนให้สูงขึ้นเล็กน้อยด้วยการวางสิ่งของไว้ข้างใต้ ที่นอนที่เอนเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้กรดเคลื่อนเข้าไปในหลอดอาหารในขณะที่คุณหลับได้

การเปลี่ยนยาที่กำลังใช้อยู่

แพทย์อาจแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนยาที่กำลังใช้อยู่หากคาดว่ายาประเภทนั้นส่งผลให้คุณมีอาการอาหารไม่ย่อย

ตราบใดที่การหยุดยาสามารถทำได้ คุณก็สามารถหยุดใช้ยาเหล่านั้นได้ถาวร เช่นยาแอสไพรินหรืออิบูโพรเฟน หรือหากเป็นไปได้ แพทย์จะทำการจ่ายยาประเภทอื่นที่ใช้แทนได้แก่คุณ โดยคุณไม่ควรหยุดยาโดยพลการโดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์เสียก่อน

การบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยกะทันหัน

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยกะทันหันที่ต้องได้รับการบรรเทาทันที แพทย์จะแนะนำวิธีที่ดีที่สุดให้คุณ เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและตรวจสอบการใช้ยาของคุณ แพทย์จะแนะนำไปยัง: ยาลดกรด ยาอัลจิเนต

ยาลดกรด

ยาลดกรด (Antacids) คือประเภทยาที่ใช้บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยไม่รุนแรงถึงปานกลาง โดยยานี้จะลดความเป็นกรดของกรดในกระเพาะลงทำให้ไม่ไปสร้างความระคายเคืองแก่เยื่อบุระบบย่อย

ยาลดกรดมีทั้งรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด คุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์

ผลของยาลดกรดจะออกฤทธิ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงในแต่ละครั้ง ดังนั้นคุณอาจต้องใช้ยามากกว่าหนึ่งโดสต่อครั้ง ซึ่งคุณควรทำการศึกษาที่ฉลากยาก่อนเพื่อระวังไม่ให้ใช้ยามากเกินไป

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้ยาลดกรดคือเมื่อคุณเริ่มมีอาการหรือคาดว่ากำลังจะมีอาการจากอาหารไม่ย่อย เช่น: ใช้หลังอาหาร ใช้ก่อนเข้านอน

เนื่องจากว่ายาลดกรดจะคงอยู่ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้นในช่วงเวลาข้างต้น และอาจทำให้ยาออกฤทธิ์นานขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ยาลดกรดพร้อมทานอาหารไปด้วย ยาอาจออกฤทธิ์ได้สามชั่วโมง แต่หากคุณใช้ยาลดกรดในขณะที่กระเพาะว่างอยู่ ยาอาจจะออกฤทธิ์ได้เพียง 20 ถึง 60 นาทีเท่านั้น

นอกจากเรื่องของขนาดยาที่ไม่ควรใช้มากเกินไปแล้ว คุณควรศึกษาเกี่ยวกับผลข้างเคียงและปฏิกิริยาที่มีขณะใช้ยาลดกรดร่วมกับยาอื่นด้วย

ยาอัลจิเนต

ยาลดกรดบางตัวอาจผสมยาที่เรียกว่าอัลจิเนต (Alginates) ด้วย ซึ่งยานี้จะช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้ โดยภาวะกรดไหลย้อนเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารรั่วไหลกลับไปยังหลอดอาหารจนระคายเคืองผนังเยื่อบุของหลอด

ยาอัลจิเนตจะไปเคลือบสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยกันไม่ให้กรดในกระเพาะเข้าไปในหลอดอาหาร

แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอัลจิเนตหากคุณประสบกับอาการของกรดไหลย้อน หรือ GORD

ควรใช้ยาลดกรดที่มีอัลจิเนตหลังรับประทานอาหารเพื่อให้ยาคงอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น หากคุณใช้อัลจิเนตขณะที่ท้องว่าง ยาจะถูกขับออกจากกระเพาะเร็วมากขึ้นจนส่งผลน้อยลง

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยกะทันหันเรื้อรัง

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยแบบเรื้อรังหรือเกิดซ้ำซาก การรักษาด้วยยาลดกรดกับอัลจิเนตอาจไม่สามารถควบคุมอาการของคุณได้ แพทย์จึงอาจเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นกับคุณแทน ซึ่งอาจจะจ่ายให้ในขนาดยาที่ต่ำที่สุดเพื่อควบคุมอาการเท่านั้น เช่น: proton pump inhibitors (PPI) H2-receptor antagonists

แพทย์อาจทำการทดสอบหาภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย  Helicobacter pylori (H pylori) และดำเนินการรักษาตามความจำเป็นอีกด้วย

Proton pump inhibitors (PPI)

PPI จะไปจำกัดกระบวนการผลิตกรดในกระเพาะอาหารลง โดยยานี้เป็นยาเม็ดและมักต้องให้แพทย์จัดจ่ายให้ หากคุณต้องการใช้ยาตัวนี้ในการรักษาระยะยาวควรปรึกษาแพทย์ก่อน

PPI อาจไปกระตุ้นผลของยาบางประเภทขึ้น หากคุณได้รับ PPI มาและต้องใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ แพทย์จะทำการเฝ้าระวังอาการของคุณตลอด ตัวอย่างยาที่อาจมีผลกับ PPI มีดังนี้: warfarin: ยาที่หยุดการเกิดลิ่มเลือด phenytoin: ยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก (epilepsy)

หากแพทย์ส่งคุณรับการตรวจส่องกล้อง (endoscopy) คุณจำต้องหยุดยา PPI เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันก่อนเข้ารับการทดสอบเนื่องจาก PPI จะไปปิดบังปัญหาบางอย่างภายในที่ควรจะตรวจพบระหว่างการสอดกล้อง

PPI อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ แต่ก็มักมีความรุนแรงไม่มากและสามารถแก้ไขได้ ดังนี้: ปวดศีรษะ ท้องร่วง ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน เกิดลมในระบบย่อยอาหาร ปวดท้อง วิงเวียน ผื่นบนผิวหนัง

H2-receptor antagonists

H2-receptor antagonists คือกลุ่มยาที่แพทย์แนะนำแทนยาลดกรด อัลจิเนต และ PPI ที่ไม่ได้ผล โดยยากลุ่ม H2-receptor antagonists ที่นิยมใช้กันมีดังนี้: cimetidine  famotidine  nizatidine  ranitidine 

ยาเหล่านี้จะออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปลดระดับความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลง โดยแพทย์อาจจ่ายยา H2-receptor antagonists หนึ่งตัวจากสี่ชนิดข้างต้น กระนั้นคุณก็สามารถหาซื้อ famotidine กับranitidine ได้ตามร้านขายยาทั่วไป

H2-receptor antagonists เป็นได้ทั้งยาน้ำและยาเม็ด

เช่นเดียวกับ PPI คุณต้องหยุดใช้ H2-receptor antagonists ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้องอย่างน้อย 14 วันเนื่องจากยากลุ่มนี้จะไปซ่อนปัญหาภายในที่ควรจะถูกตรวจพบระหว่างการส่องกล้อง

การติดเชื้อ Helicobacter pylori (H pylori)

หากอาการอาหารไม่ย่อยของคุณเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H pylori คุณต้องเข้ารับการรักษากำจัดแบคทีเรียชนิดนี้จากกระเพาะของคุณซึ่งจะช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อยลงได้

H pylori มักรักษาได้ด้วยการใช้ยาสามประเภทที่ต่างกัน โดยแพทย์จะดำเนินการใช้ยารักษาที่ประกอบด้วย: ยาปฏิชีวนะสองประเภท PPI

คุณจำต้องได้รับยาเหล่านี้สองครั้งต่อวันเป็นเวลาต่อเนื่องเจ็ดวัน โดยคุณต้องใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จ

กรณีมากกว่า 85% จะสามารถดำเนินการรักษาด้วยยาสามประเภทกำจัดการติดเชื้อ H pylori ได้สำเร็จ แต่หากไม่สามารถขจัดเชื้อโรคได้หมดภายในครั้งแรก คุณอาจต้องดำเนินการต่อไปอีกหนึ่งคอร์สหรือมากกว่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนจากอาหารไม่ย่อย

กรณีผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยส่วนมากจะมีอาการไม่รุนแรงและเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่หากเป็นอาการรุนแรงก็อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้

การตีบแคบของหลอดอาหาร

อาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดจากกรดไหลย้อนที่เป็นภาวะไหลกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารของน้ำย่อยและสร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหารมากขึ้นตามกาลเวลาอาจทำให้หลอดอาหารเกิดแผลเป็นขึ้นมา แผลนี้จะทำให้หลอดอาหารแคบและตีบตัวลง (oesophageal stricture)

หากคุณมีอาการจากภาวะหลอดอาหารตีบแคบ คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้: กลืนลำบาก อาหารติดในลำคอ เจ็บหน้าอก

ภาวะนี้มักต้องรักษาด้วยการผ่าตัดขยายหลอดอาหาร

Pyloric stenosis

เช่นเดียวกับภาวะหลอดอาหารตีบแคบ ภาวะ Pyloric stenosis ก็เกิดจากความระคายเคืองระยะยาวที่เกิดกับชั้นเยื่อบุของระบบทางเดินอาหารจากกรดในกระเพาะ

Pyloric stenosis เกิดขึ้นเมื่อช่องทางระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก (เรียกพื้นที่นี้ว่า pylorus) เกิดแผลและตีบแคบลงจนทำให้เกิดการอาเจียนและทำให้อาหารไม่ย่อยอย่างที่ควรเป็น

กรณีส่วนมาก Pyloric stenosis จะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ไข pylorus ให้กลับสู่ขนาดปรกติ

ภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร

การเกิดอาการจากโรคกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease - GORD) บ่อยครั้งอาจทำให้เซลล์ผนังเยื่อบุของหลอดอาหารส่วนล่างเปลี่ยนแปลงไป ภาวะผิดปรกติเช่นนี้เรียกว่าภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร หรือ Barrett’ s oesophagus

คาดกันว่าผู้ป่วย GORD 1 จาก 10 คนจะกลายเป็น Barrett’ s oesophagus ขึ้นมา โดยส่วนมากแล้วจะเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 50-70 ปี และมีอายุเฉลี่ยที่พบคือ 62 ปี

Barrett’ s oesophagus มักไม่ทำให้เกิดอาการที่ชัดเจนและแตกต่างจาก GORD แต่สิ่งที่น่ากลัวเกี่ยวกับภาวะนี้คือเป็นภาวะก่อนก่อตัวเป็นมะเร็ง (pre-cancerous) หมายความว่าความเปลี่ยนแปลงที่เซลล์นี้ไม่ใช่เนื้อร้าย แต่ก็มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้ในอนาคต ซึ่งหากคุณโชคไม่ดี Barrett’ s oesophagus จะทำให้คุณกลายเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicinenet.com, Indigestion (https://www.medicinenet.com/dyspepsia/article.htm)
healthline.com, Indigestion (https://www.healthline.com/health/indigestion), December 11, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารไม่ย่อยที่มาพร้อมอาการต่างๆ เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?
อาหารไม่ย่อยที่มาพร้อมอาการต่างๆ เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?

อาการอาหารไม่ย่อยที่พบได้ทั่วไป แตกต่างจากอาการอาหารไม่ย่อยที่เกิดร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างไร และอาการแบบไหนที่ถือว่าอันตราย และควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อ่านเพิ่ม