ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPIs) คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPIs) คืออะไร?

PPIs ย่อมาจาก Proton Pump Inhibitors เป็นกลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ H+/K+ ATPase (proton pump) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาในกลุ่มนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อรักษาโรคในทางเดินอาหารที่สัมพันธ์กับกรดได้แก่

  • รักษาแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcers)
  • รักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcers)
  • รักษาแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-associated ulcers)
  • รักษากรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease)
  • รักษาภาวะที่มีการหลั่งกรดมากเกิน (รวมถึง Zollinger-Ellison syndrome)
  • รักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. Pylori) โดยใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพ (Antibiotics)

ยาลดกรดในกลุ่ม PPIs มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายอย่างและเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย จึงมีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในสถานพยาบาลและการซื้อมาใช้เอง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยได้แก่

  • Omeprazole
  • Lansoprazole
  • Rabeprazole
  • Pantoprazole
  • Esomeprazole

มีผลข้างเคียงหรือไม่?

ขึ้นชื่อว่า “ยา” ทุกชนิดมีผลข้างเคียงอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับขนาดและระยะเวลาที่รับประทานเข้าไปด้วย ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังรับประทานยาลดกรดกลุ่ม PPIs เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือมีลมในทางเดินอาหารมาก ท้องผูก ท้องเสีย มีผื่นขึ้น เป็นต้น อาการไม่พึงประสงค์จะมีโอกาสเกิดได้มากขึ้นหากมีการใช้ยาเกินข้อบ่งใช้ ใช้เกินขนาด และใช้ยาเป็นระยะเวลานานเกินไป  และมีผลข้างเคียงอื่นๆ ดังต่อไปนี้ 

  • ลดการดูดซึมสารอาหาร
  • ลดการดูดซึมเหล็ก
  • ลดการดูดซึมวิตามินบี 12
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
  • เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  • เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ Clostridium difficile (C. difficile) ในทางเดินอาหาร
  • เกิดผลเสียต่อไต

ทางที่ดี หากได้รับการรักษาโดยยาลดกรด ผ่านไป 4 - 8 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรึกษาเปลี่ยนยารักษาตัวใหม่ หรือรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับอาการของคุณมากที่สุด

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยา

หลายคนรับประทานยานี้ทันทีขณะเริ่มมีอาการ ซึ่งก็คือภายหลังจากทานอาหารเสร็จ มักทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากหากคุณรับประทานยาในช่วงเริ่มต้นมื้ออาหาร หรือหลังจากรับประทานเสร็จ ร่างกายก็จะมีการหลั่งกรดส่วนมากออกมาก่อนแล้ว ดังนั้นควรรับประทานยาก่อนหน้าที่จะรับประทานอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการหลั่งกรด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มนี้หากคุณมีประวัติแพ้สารที่เป็นส่วนผสมของยา และควรถามแพทย์ว่าคุณยังคงสามารถใช้ยาในกลุ่มนี้ได้หรือไม่ ถ้าคุณมีอาการดังนี้

  • ใช้ยาในกลุ่มนี้มามากกว่า 1 ปี
  • ใช้ยาในปริมาณสูง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับตับ
  • มีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  • อายุมากกว่า 50 ปี

ทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

ยาลดกลุ่ม PPIs ทำปฏิกิริยากับยาหลายตัวเมื่อรับประทานคู่กัน หากคุณมียาต้องรับประทานอยู่ก่อนแล้ว และจำเป็นต้องรับยาลดกรดเพิ่ม ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างรายชื่อยาที่ทำปฏิกิริยาต่อยาลดกรดกลุ่ม PPIs

ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ยา omeprazole รูปแบบยาแคปซูล และรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ถูกจัดให้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งหมายถึง เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย และเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก

ส่วนยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มยาลดกรดนี้ที่ได้ถูกจัดเข้าเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ คือ ยา pantoprazole รูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ผู้ชำนาญการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ เพราะยานี้มีแนวโน้มที่ถูกใช้ไม่ตรงตามข้อบ่งชี้ หรือมีราคาแพงกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน สำหรับยา pantoprazole ในรูปแบบอื่น ไม่ถือว่าอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

สรุป ยาลดกรดกลุ่ม PPIs สามารถช่วยรักษาโรคในทางเดินอาหารที่สัมพันธ์กับกรดได้ เป็นยาที่ใช้รักษาในระยะสั้นๆ มีผลข้างเคียงที่อันตรายหากใช้เป็นระยะเวลานานเกินไป ดังนั้น ก่อนใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้จะดีที่สุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus.gov, Proton Pump Inhibitors (PPIs) (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000381.htm)
health.harvard.edu, Proton Pump Inhibitors (PPIs) (https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/proton-pump-inhibitors)
drugs.com, Proton Pump Inhibitors (PPIs) (https://www.drugs.com/drug-class/proton-pump-inhibitors.html), May 16, 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป