Baso , Blast, Promyelocyte , Myelo และ Metamyelo คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

Baso , Blast, Promyelocyte , Myelo และ Metamyelo คืออะไร?

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ Basophil, BlastPromyelocyte , Myelocyte และ Metamyelocyte ว่าคืออะไร มีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไรในร่างกาย รวมทั้งบอกข้อมูลเกี่ยวกับค่าปกติและค่าที่ผิดปกติจะแสดงผลอย่างไรต่อร่างกาย อ่านได้ที่นี่

Baso

วัตถุประสงค์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพื่อทราบจำนวนเบโซฟิล (basophil เขียนย่อๆ ว่า Baso) ว่ามีจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC)

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. เบโซฟิล มีต้นกำเนิดและเจริญเติบโตมาจากไขกระดูกเมื่อมันโตเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 ไมครอน ทั้งนี้นับเป็นหน่วยย่อยที่มีจำนวนน้อยที่สุดของเซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) ในภาวะปกติจะมีจำนวนเบโซฟิลในเลือดเพียงประมาณ 0-100 เซลล์ต่อ ลบ.มม.
  2. เบโซฟิล มีหน้าที่ป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้กล่าวคือมันจากควบคุมร่างกายที่จะหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) อันเป็นปฏิกิริยาซึ่งเกิดจากการรับสารก่อภูมิแพ้เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ ละอองเกสรจากผึ้งมีให้หลั่งออกมามากเกินไปนอกจากนั้น เบโซฟิล ยังช่วยควบคุมสารเฮพาริน (heparin ซึ่งทำให้เลือดใส) มิให้มีมากจนเกินไป

ค่าปกติของ Basophil

Baso =

% WBC

0.5 – 1.0

หน่วยนับสมบูรณ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Absolute count (per mm3)

25 - 100

ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อย มีศัพท์เรียกว่า basopenia ซึ่งอาจแสดงผลว่า
    • อาจเกิดโรคไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)
    • ร่างกายสตรีอาจกำลังตกไข่ (ovulation)
    • อาจกำลังตั้งครรภ์
    • ร่างกายอาจกำลังอยู่ในสภาวะเครียดอย่างหนัก
  2. ในทางมากมีศัพท์เรียกว่า basophilia ซึ่งอาจแสดงผลว่า
    • อาจเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากไขกระดูกชนิดเรื้อรัง (chronic myelocytic leukemia)
    • อาจเกิดโรคมะเร็งปุ่มน้ำเหลือง (Hodgkin's lymphoma)
    • อาจเกิดการอักเสบจากแผลในลำไส้ (ulcerative colitis)

Blast

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบจำนวนแบลสต์ (Blast) คือเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนทั้งหลายว่าหลุดเข้ามาอยู่ในกระแสเลือดนับได้เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาว (WBC) ทั้งนี้ที่อยู่ปกติของมันคือในไขกระดูก

คำอธิบายยังสรุป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. กรุณาดูที่รูป 5 (หน้า 114 ถึง 115) จะเห็นจากแผนภูมิซึ่งปรากฏคำว่า "Blast" อาจเป็นเซลล์หลายชนิดล้วนแต่มีต้นกำเนิดมาจาก stem cell ทั้งสิ้นและจำเป็นต้องรอเวลาให้อยู่ในไขกระดูก (bone marrow) ก่อนซึ่งเป็นการแสดงว่า blast เหล่านั้นยังเป็นตัวอ่อนหรือ "เซลล์ทารก" พร้อมที่จะโตเป็นเซลล์ผู้ใหญ่เพื่อจะออกไปทำงานตามหน้าที่ของมันในกระแสเลือดต่อไปภายหลัง
  2. Blast จำเป็นต้องรอเวลาอยู่ในไขกระดูกเพราะยังเป็นเซลล์ตัวอ่อน Blast ทั้งหลายเหล่านี้มี 5 ชนิดคือ
    • Erythroblasts เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ถึงเวลาทำงานในกระแสเลือดจะได้ชื่อใหม่ว่า "เซลล์เม็ดเลือดแดง" (Erythrocytes)
    • Myeloblasts เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ถึงเวลาทำงานในกระแสเลือดจะแบ่งตัวเองกลายเป็นเซลล์สำคัญถึง 3 ชนิดคือ 1) Basophils 2) Eosinophils และ 3) Neutrophils
    • Monoblasts เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ถึงเวลาทำงานในกระแสเลือดจะได้ชื่อใหม่ว่า Monocytes
    • Lymphoblasts เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ถึงเวลาทำงานในกระแสเลือดจะได้ชื่อใหม่ว่า Lymphocytes
    • Megakaryoblasts เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ถึงเวลาทำงานในกระแสเลือดมันก็จะวิวัฒนาการตัวเองไปตามลำดับจนกลายเป็นเกล็ดเลือด (Platelets) ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า Thrombocyte ทั้งนี้เราจะได้ทำความรู้จักกันในภายหลัง
  3. จึงเป็นอันสรุปได้ว่า ทุกๆ Blast ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดควรต้องถือเหมือนกันหมดว่า ยังเป็นเยาวชนหรือเป็น"นักเรียนอนุบาล" อยู่ยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะออกไปต่อสู้กับ "โลกภายนอก" ในหลอดเลือดใดๆ ได้ ฉะนั้นในสภาวะปกติ blast จึงไม่ควรที่จะถูกตรวจพบได้ในหลอดเลือดเลยหากตรวจพบ blast หรือนักเรียนอนุบาลในหลอดเลือดเมื่อใด ก็ต้องสันนิษฐานได้ทันทีว่าคงหนีกระเจิงออกมาจากโรงเรียนอนุบาล (ไขกระดูก) ซึ่งอาจมีสาเหตุเพราะโรงเรียนอนุบาลถูกผู้ก่อความไม่สงบเผาทำลายคล้ายสถานการณ์3 จังหวัดใช้แดนภาคใต้ของไทยยังไงยังงั้น!

แปลว่าต้องมีเหตุสำคัญเกิดขึ้นที่ไขกระดูกจึงตรวจพบ Blast ในหลอดเลือดได้

ค่าปกติของ Blast

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

Blast 0 %

ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อยถือว่าไม่ผิดปกติ
  2. ในทางมากอาจแสดงผลว่า
    • อาจเกิดสภาวะไขกระดูกทำงานล้มเหลว (bone marrow failure syndrome) โดยผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็น Blast cells ชนิด Myeloblasts มากเกินไปจนทำให้หยุดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดอื่นที่เคยผลิตได้แก่ เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด หรือผลิตได้จำนวนน้อยจึงทำให้ ตัวเจ้าของร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลียมีอาการซีดเซียวเกิดอาการปวดกระดูกหาก Blast cells ล้นเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดกระดูก และอาจถึงขั้นอัมพาต
    • ทั้งนี้ข้อตกลงร่วมทางการแพทย์ระหว่างฝรั่งเศสอเมริกันและอังกฤษ (French-American-British หรือ FAB) ได้กำหนดค่าผลเลือดเป็นตัวเลขว่าหากในเลือดตรวจพบว่ามีค่า blast เกินกว่า 30% จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดร้ายแรง (acute leukemia) ถึงแม้กว่านั้นในสมัยต่อมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังได้กำหนดให้ลดตัวเลขต่ำกว่านั้นลงไปอีกกล่าวคือหากเลือดมีค่า blast เพียงระดับ 20% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากเหตุไขกระดูกชนิดร้ายแรง (acute myelocytic leukemia, AML)แล้ว

Promyelo

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบจำนวน Promyelocyte (โปรไมโลไซต์) อันเป็นวิวัฒนาการของเซลล์เม็ดเลือดที่เติบโตขึ้นมาจาก blast แต่ Promyelocyte เริ่มมีลักษณะของเซลล์ครบถ้วนแต่ถึงกระนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับการ "ฟูมฟัก" ให้อยู่แต่ในไขกระดูกเท่านั้นฉะนั้นการหลุดล่อนนี้ออกมาอยู่ในกระแสเลือดจึงถือว่ามีความผิดปกติ โปรดดูรูปที่ 5 หน้า 114-115 จะเห็นคำว่า "pro..." ไม่ว่า ของเซลล์ชนิดใดไม่ควรมีปรากฏตัวในกระแสเลือด

การตรวจในหัวข้อนี้จึงประสงค์จะทราบว่า

  1. มี Promyelocyte หลุดออกมาอยู่ในกระแสเลือดบ้างหรือไม่?
  2. ถ้าหากมีก็ให้แสดงค่าตัวเลขเป็นเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาว (WBC)

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. Promyelocyte แม้จะมีรูปพรรณสัณฐานถือว่าเป็นเซลล์โดยครบถ้วนแล้วก็ตามแต่มันก็ยังคงมีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่า Blast เพียงเล็กน้อยเท่านั้นกล่าวคือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-12 ไมครอน หรือใหญ่กว่าเล็กน้อยแต่ยังมีนิวเคลียสและผิวเซลล์ยังไม่สมบูรณ์
  2. Promyelocyte จึงเปรียบเสมือนนักเรียนชั้นประถมศึกษายังไม่มีความสามารถและยังไม่เหมาะสมจะไปทำงานใดๆในกระแสเลือดได้

ค่าปกติของ Promyelocyte

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

Promyelo 0 %

ค่าผิดปกติ

  1. ในทางน้อย -
  2. ในทางมาก (ค่าใดๆ ที่มากกว่า 0%) อาจแสดงผลว่าอาจเกิดโรคหรือสภาวะผิดปกติที่ไขกระดูกจึงทำให้ Promyelocyte ต้องหลุดออกมาสู่กระแสเลือด

Myelo

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบจำนวนMyelocyte (ไมโลไซต์) คือ เซลล์เยาวชน ที่เติบโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง จาก Promyelocyte ว่ามีหลุดเข้าไปในกระแสเลือดเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาว

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. Myelocyte เริ่มมีขนาดเล็กลงนิวเคลียสมีลักษณะกลมหรือรูปไข่เริ่มแสดงคุณลักษณะให้เห็นค่อนข้างชัดว่าในอนาคตข้างหน้าจะเป็นเซลล์อะไร เช่น นิวโตรฟิล อีโอซิโนฟิล หรือเบโซฟิล ฯลฯ
  2. ถึงอย่างไรก็ตาม Myelocyte ก็ยังถือเสมือนว่าเป็นเซลล์เยาวชนในระดับชั้นนักเรียนมัธยมจึงไม่ควรที่จะรีบร้อนหรือหลบหนีหลุดเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด กรุณาดูที่รูปที่ 5 หน้า 114-115 จะเห็นได้ว่ามันจำเป็นจะต้องได้รับการฟูมฟักให้อยู่ในไขกระดูกไปก่อนดังนั้นการตรวจพบ Myelocyte ในน้ำเลือดไม่ว่าจะเป็นของเซลล์ชนิดใดก็ต้องถือว่าตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ผิดปกติ

ค่าปกติของMyelocyte

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

Myelo 0 %

ค่าปกติทางน้อย -

ค่าปกติทางมาก (หมายถึงค่าใดๆที่เกินกว่า 0%) อาจแสดงผลว่าเกิดโรคเกี่ยวกับไขกระดูกหรือโรคเกี่ยวกับเลือด

Metamyelo

วัตถุประสงค์

เพื่อทราบจำนวน Metamyelocyte (เมตาไมโลไซต์) ว่าจะมีหลุดลอยเข้าไปในกระแสเลือดบ้างหรือไม่

คำอธิบายอย่างสรุป

  1. Meta เป็นคำอุปสรรค (คำเสริมข้างหน้า, prefix) ที่มาจากพระภาษากรีกซึ่งมีลักษณะการใช้แค่ขายกับคำในภาษาละตินคือคำว่า post ที่คนทั่วไปค่อนข้างเข้าใจกว้างขวางกว่าซึ่งบอกความหมายว่าภายหลังจากนั้น (after) หรือผ่านจากจุดนั้นไป (beyond) ดังนั้น Metamyelocyte จึงหมายถึงเซลล์ที่ผ่านพ้นวัยเด็กแต่ก็ยังนับว่าเป็นวัยรุ่นที่ต้องอยู่ในภาวะเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับอุดมศึกษาให้สมบูรณ์แปลว่า ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะออกไปโลดแล่นทำงานในกระแสเลือดได้
  2. นิวเคลียสของ Metamyelocyte ของเซลล์ชนิดใดก็ตามจะเริ่มยุบตัวเล็กลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และแสดงให้เห็นเป็นรูปเว้าตรงส่วนกลางมีลักษณะเป็นลอนเด่นชัดขึ้น
  3. กรุณาดูที่รูป 5 (หน้า 114 ถึง 115) เพื่อจะได้เห็นว่า Metamyelocyte มีที่มาและที่ไปอย่างไร

ค่าปกติของ Metamyelocyte

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
  2. ค่าปกติทั่วไป

Metamyelo 0 %

ค่าปกติทางน้อย -

ค่าปกติทางมาก (หมายถึงค่าใดๆ ที่เกินกว่า 0%) อาจแสดงผลว่าเกิดโรคเกี่ยวกับไขกระดูกหรือโรคเกี่ยวกับเลือด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ouhsc.edu, Baso,Blast,Promyelocyte Myelo&Metamyelo (https://www.ouhsc.edu/histology/Text%20Sections/Hematopoiesis.html)
sciencedirect.com, Baso,Blast,Promyelocyte Myelo&Metamyelo (https://www.sciencedirect.com/topics/biochemistry-genetics-and-molecular-biology/myelopoiesis)
kku.ac.th, Baso,Blast,Promyelocyte Myelo&Metamyelo (https://home.kku.ac.th/acamed/kanchana/bsi.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)