กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

หัวใจเต้นแรง แบบนี้อันตรายหรือไม่?

อย่าวางใจ หากคุณมีอาการหัวใจเต้นเร็วและแรงเพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า "สุขภาพของคุณกำลังมีปัญหา" ก็เป็นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หัวใจเต้นแรง แบบนี้อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อัตราการเต้นหัวใจของผู้ใหญ่เมื่ออยู่นิ่งจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที แต่หากเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที จะถือว่า หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ
  • อาการที่พบบ่อยได้แก่ หายใจตื้น หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย หน้ามืด หมดสติ อาจหัวใจวายได้หากหัวใจเต้นเร็วเกินไป
  • สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ความเครียด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ความผิดปกติของหัวใจและบางระบบ ขาดน้ำและแร่ธาตุ ออกกำลัง หรือออกแรงอย่างหนัก
  • หากเกิดอาการบ่อยครั้งมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตได้ 10-15% ต่อปี ยิ่งถ้าเป็นโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะหัวใจอ่อนๆ หัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจวาย อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
  • ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยคุณไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

ว่ากันว่า คนมีความรัก หรือตื่นเต้น กังวล มักจะหัวใจเต้นแรง แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะอาการหัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของหัวใจ หรือปัญหาสุขภาพบางอย่างก็ได้ บางรายหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลาม หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นอันตรายตามมาได้

อัตราการเต้นของหัวใจปกติ

ปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักของบุคคลทั่วไปที่ไม่มีภาวะโรคหัวใจจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง / นาที แต่หากหัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที จะถือว่า หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการที่มักเกิดพร้อมกับหัวใจเต้นแรง

อาการหัวใจเต้นเร็วอาจเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ 

ดังนั้นอาการที่มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ได้แก่

หากตัวเราเอง หรือคนใกล้ตัว มีอาการหัวใจเต้นแรงร่วมกับอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโดยด่วน 

อย่างไรก็ตาม อาการหัวใจเต้นแรงอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยก็ได้

สาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นแรง

อาการหัวใจเต้นเร็วมักเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรืออาจเกิดจากทั้งสองสาเหตุร่วมกันก็ได้ 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมีทั้งที่ไม่อันตรายและอันตราย ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีภาวะเครียด ตื่นเต้น ตกใจ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตื่นเต้น กดดัน วิตกกังวล จะทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติได้ ภาวะนี้ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมบางชนิด คาเฟอีนส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ กระตุ้นให้หัวใจเต้นแรงขึ้น มีจังหวะการเต้นผิดแปลกไปและส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น เวียนศีรษะ และนอนไม่หลับ 
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืด ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาลดน้ำมูกบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • มีภาวะโลหิตจาง เมื่อเม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ หรือมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อย จะทำให้การขนส่งออกซิเจนไม่ดีเท่าปกติ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนมีอาการหัวใจเต้นแรงและเร็วได้ รวมถึงจะพบอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และซีด
  • มีภาวะร่างกายขาดน้ำและแร่ธาตุ เข่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญในการควบคุมอัตราการเต้นหัวใจ ดังนั้นหากมีปริมาณไม่เพียงพอจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • มีความดันโลหิตผิดปกติ ผู้ที่มีความดันสูง หรือต่ำ จะทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้บางครั้งมีอาการหัวใจเต้นแรง หรือเต้นรัวเร็วได้ ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนด้วย
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง และการสูบบุหรี่ สารเสพติดในสุราและบุหรี่มีผลต่อระบบประสาท และอาจส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรามากเกินไป
  • ออกกำลังกาย หรือออกแรงอย่างหนัก การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าใครออกกำลังกายอย่างหนักจนรู้สึกว่า หัวใจเต้นรุนแรง หรือหายใจแทบไม่ทัน ก็ควรปรับการออกกำลังกายให้เบาลง
  • มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมาก (Hyperthyroidism) มักพบอาการหัวใจเต้นแรงและเร็วได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนไทรอยด์
  • มีความผิดปกติของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุที่เกิดขึ้นกับหัวใจโดยตรงมักทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นแรงและเร็วได้บ่อยๆ อาจมีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย และเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น คนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนของอาการหัวใจเต้นแรง

หากเกิดอาการหอบเหนื่อย ใจสั่น และอ่อนเพลียเพียงชั่วคราว มักไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายใดๆ ตามมา แต่หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นบ่อยๆ หรืออาการรุนแรงมากก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น

  • มีอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ
  • เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจนอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตได้สูงถึง 10-15% ต่อปี ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะหัวใจอ่อนๆ หัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจวาย อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ 

การรักษาหัวใจเต้นแรง

หลังจากแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยแล้ว หากพบว่า อาการหัวใจเต้นแรงเกิดจากโรคก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ หรือมีส่วนทำให้หัวใจเต้นเร็ว เช่น การรักษาภาวะผิดปกติของไทรอยด์ การควบคุมความดันโลหิต หรือการรักษาภาวะขาดน้ำและแร่ธาตุ

แต่หากเกิดอาการหัวใจเต้นแรงผิดปกติบ่อยๆ และเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจต้องรักษาโดยลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง ด้วยวิธีดังนี้

  1. การรักษาด้วยยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด การใช้ยาถึงแม้ไม่ได้รักษาให้หายขาดแต่ก็ช่วยลดความรุนแรงลงได้ หากผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน (aspirin) วาร์ฟาริน (warfarin)
  2. การรักษาด้วยการช็อกหัวใจแบบเจาะจง (Cardioversion) เป็นการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติทำให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ มักใช้ในภาวะฉุกเฉินที่สัญญาณชีพไม่คงที่
  3. การกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) หรือ ทำ Vagal Maneuver โดยการให้ผู้ป่วยไอ นั่งยองๆ หรือนำถุงน้ำแข็งมาวางไว้บนใบหน้า วิธีนี้จะไปกระตุ้นประสาทเวกัส (vagus) ซึ่งสามารถชะลออัตราการเต้นของหัวใจได้
  4. การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) จะทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติได้ วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของหัวใจ 
  5. การผ่าตัดหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีใดๆ และเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรักษาโรคหัวใจอื่นๆ อยู่แล้ว เนื่องจากวิธีนี้เป็นการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อกรีดทำลายเนื้อเยื่อจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้า หรือเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้า

การป้องกันหัวใจเต้นแรงและเร็ว

  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้หัวใจแข็งแรง และสามารถสูบฉีดเลือดได้เป็นปกติ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ
  • จำกัดปริมาณการดื่มคาเฟอีนไม่ให้มากเกินไป
  • งด หรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่ 
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งเสพติดให้โทษและสารกระตุ้นทุกชนิด
  • การใช้ยาประเภทต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเครียด ความกดดันต่างๆ 
  • รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 

แม้จะมั่นใจว่า ตนเองมีสุขภาพดี แต่ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจ และอย่านิ่งนอนใจคิดว่า "เดี๋ยวก็หาย" เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพที่สำคัญ

หากมีอาการหัวใจเต้นเร็วอย่างรุนแรง หรือมีอาการหัวใจเต้นเร็วและแรงบ่อยครั้ง ยิ่งต้องให้ความใส่ใจและควรไปรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางจะดีที่สุด

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและสมรรถภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medicalnewstoday.com, Heart beat (https://www.medicalnewstoday.com/articles/235710.php), 2 February 2020.
James Beckerman, MD, FACC, Tachycardia: Causes, Types, and Symptoms (https://www.webmd.com/heart-disease/atrial-fibrillation/what-are-the-types-of-tachycardia#1), 2 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)