กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

รู้จักกับโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary artery disease) เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดตีบ หรือตันขึ้น ซึ่งส่วนมากเกิดจากไขมัน และเนื้อเยื่อเข้าไปสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือด (Plaque) จนทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นๆ หนาตัวขึ้น และส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีขนาดแคบลง 

เมื่อหลอดเลือดมีขนาดแคบลง ผลที่ตามมาคือ เลือดที่คอยขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจก็จะผ่านไปได้น้อย หรืออาจผ่านไปไม่ได้เลย จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

ปกติแล้วผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะเริ่มมีอาการของภาวะนี้เมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดมากกว่า 50% ไปแล้ว โดยอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่

  • แน่นหน้าอก (Angina)
  • หายใจลำบาก (Shortness of breath)
  • โรคหัวใจวายหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart attack)

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมีอาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะจำเพาะ (Typical Angina) ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่

  1. อาการแน่นหน้าอกเหมือนถูกทับ จะเกิดบริเวณแนวกลางของกระดูกอก (Retrosternal Chest Pain) หรือบริเวณกลางอก และอาจร้าวไปบริเวณหัวไหล่ซ้าย แขนซ้าย หรือกรามด้านซ้ายได้
  2. อาการมักสัมพันธ์กับการออกกำลัง
  3. อาการจะทุเลาลงเมื่อพัก หรืออมยาอมใต้ลิ้น (Nitroglycerin)

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางกายและภาวะอารมณ์ ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแน่นหน้าอกที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา ผู้ป่วยก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น มักเกิดจากผนังหลอดเลือดถูกทำลาย จนทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลและสารต่างๆ ในชั้นของหลอดเลือด จนเยื่อบุผนังบริเวณนั้นๆ หนาตัวขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะความดันเลือดสูง
  • ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • การได้รับรังสีบริเวณทรวงอก 
  • พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ไม่ค่อยขยับตัว
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
  • ความเครียด

นอกจากปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น อายุและเพศก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน โดยความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยอายุเพิ่มขึ้น และเพศชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าเพศหญิง

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากพบว่าตนเองมีอาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรปรึกษากับแพทย์ เพื่อประเมินอาการ ตรวจร่างกายเพิ่มเติม หากแพทย์พิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น แพทย์แนะนำให้เข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG)เพื่อประเมินว่ากำลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram: ECHO)เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจสมรรถภายหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือสเตรสเทส (Stress test): เป็นการตรวจโดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยออกกำลังโดยวิ่งบนสายพาน หรือปั่นจักรยานร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจในช่วงที่มีการออกกำลัง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
  • การใส่สายสวนหัวใจร่วมกับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ: เพื่อประเมินหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจว่ามีการอุดกั้นหรือไม่ ถ้ามี แพทย์ก็จะสามารถประเมินได้ว่ามีความรุนแรงของการอุดกั้นมากน้อยเพียงใด
  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan (Computerised Tomography): เป็นการตรวจเพื่อประเมินโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ อีกทั้งสามารถดูการสะสมของแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging): เป็นการตรวจโดยใช้หลักการของการถ่ายภาพรังสีแม่เหล็ก เพื่อประเมินการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น หยุดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก ลดความเครียด และรวมถึงการจ่ายยา ดังนี้

  • ยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด: เพื่อลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • แอสไพริน (Aspirin): เพื่อลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ป้องกันการเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจซ้ำในอนาคต
  • ยากลุ่มเบต้า บล็อคเกอร์ (Beta Blockers): เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและลดความดันเลือด
  • ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilator): เพื่อบรรเทาอาการแน่นหน้าอก และเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่มเอซีอี (Angiotensin Converting Enzyme: ACE): เพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

นอกจากนี้ ในคนไข้บางกลุ่มอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม เช่น

  • การใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจ (intracoronary stent): แพทย์จะใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดจนถึงตำแหน่งของหลอดเลือดที่มีการอุดกั้น จากนั้นแพทย์จะใส่ขดลวดที่เป็นโลหะขนาดเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีการตีบแคบของหลอดเลือด เพื่อทำการขยายพื้นที่ให้เลือดสามารถไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพิ่มขึ้น
  • การใส่บอลลูน (Balloon Angioplasty): แพทย์จะใส่สายสวนที่คล้ายกับการใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจ และใส่บอลลูนที่ยังไม่ได้ใส่ลมเข้าไปถึงบริเวณที่หลอดเลือดมีการตีบแคบ จากนั้นแพทย์จะใส่ลมเข้าไปในบอลลูน เพื่อให้บอลลูนดังกล่าวขยายตัวออก และทำให้หลอดเลือดที่ตีบอยู่มีการขยายขนาดจากการพองตัวของบอลลูนบนผนังหลอดเลือด หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำหัตถการ แพทย์จะนำสายสวนออกมาพร้อมตัวบอลลูน 
  • การผ่าตัดเบี่ยงการเดินของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) : วิธีรักษาแบบนี้มักถูกเรียกสั้นๆ ว่า "การทำบายพาส" ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมทรวงอกและหัวใจเท่านั้น โดยแพทย์จะใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ในสภาพดี เช่น แขน ขา แล้วนำมาสร้างเป็นทางเดินเลือดใหม่ ให้เลือดสามารถไหลผ่านทางเบี่ยงดังกล่าวไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ในที่สุด นอกจากนี้ การทำบายพาสยังจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเปิดทรวงอกร่วมด้วย

การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heart Disease Facts; CDC (http://www.cdc.gov/heartdisease/facts.htm)
Cleaveland Clinic, Coronary Artery Disease (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16898-coronary-artery-disease), 14 May 2019
National Health Service, Coronary heart disease (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-heart-disease/), 7 April 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)