ทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง (lower back pain)

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
ทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง (lower back pain)

ทุกสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง (lower back pain)

ประชากรกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ บนโลกจะประสบปัญหาเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งของชีวิต โดยส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุง่ายๆทั่วไป เช่น กล้ามเนื้อตึงหรือฉีกขาด เกิดการบาดเจ็บ หรือใช้งานมากเกินไป หรืออาจจะมาจากสาเหตุเฉพาะของกระดูกสันหลังก็เป็นได้ เช่น

  • หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)
  • หมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative Disc Disease)
  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
  • โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis)
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

นอกจากนี้ อาจยังเกิดมาจากสาเหตุอื่นที่พบได้น้อยกว่าที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดบริเวณหลังล่างได้เช่นกัน เช่น โรคของข้อกระดูกเชิงกราน (sacroiliac joint dysfunction) เนื้องอกไขสันหลัง (spinal tumors) โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วตัว (fibromyalgia) รวมถึงโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (piriformis syndrome)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้าย

อาการปวดหลังส่วนล่างมักเป็นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย และอาจเกิดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยตามปกติ หรือปวดเรื้อรัง มีช่วงที่ปวดหนักขึ้นมา และค่อยๆทุเลาลงเอง

อาการปวดหลังส่วนล่างข้างซ้ายนั้น มักจะเป็นอาการปวดที่รุนแรงมาก ปวดจี๊ด และปวดเสียด หรืออาจเป็นอาการปวดตุบๆ อยู่ตลอดเวลาไม่ลดลง บางครั้ง อาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายนั้น จะอาการดีขึ้น หรือแย่ลงจากการเคลื่อนไหวและการนวดกดก็เป็นได้

สาเหตุทั่วไปของอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้าย

อาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายมักเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้:

  1. ความเสียหายต่อเนื้อเยื่ออ่อนที่รองรับกระดูกสันหลังและ/หรือ ความเสียหายต่อโครงสร้างกระดูกสันหลังบางอย่างโดยตรง เช่น กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ
  2. ปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับอวัยวะภายในในบริเวณกึ่งกลางหลัง บริเวณท้อง หรือบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น ไต อวัยวะสืบพันธุ์ และลำไส้

กรณีส่วนใหญ่ของอาการปวดหลังส่วนล่างเกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เช่น กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างฉีกขาด หรือเอ็นอักเสบและฉีกขาด ในขณะที่กล้ามเนื้อฉีกขาดนั้นถือเป็นปัญหาที่ไม่รุนแรงและสามารถหายภายใน 2-3 วัน หรือสัปดาห์ แต่อาการปวดนั้นอาจรุนแรงกว่านั้น และไม่สามารถทนได้

ตัวอย่างอื่นๆของอาการปวดหลังส่วนล่าง อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องท้อง หรือแม้กระทั่งเป็นอาการแสดงของโรคที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วตัว (fibromyalgia) หรือ โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis)

การทราบถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการปวดหลังส่วนล่าง พร้อมกับลักษณะและอาการโดยทั่วไปนั้น สามารถช่วยผู้ป่วยในการเข้าปรึกษาแพทย์ แจ้งประวัติความเจ็บป่วยได้ตรงประเด็น เพื่อให้ได้การวินิจฉัย และรับการรักษาที่ถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

หากอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายบรรเทาลงได้ดีจาก การใช้ยาแก้ปวดทั่วไปที่มีขายในท้องตลาด การปรับท่าทางและกิจกรรม และ/หรือการประคบไม่ว่าจะเป็นเย็นหรืออุ่น อาการนั้นอาจไม่ได้เป็นภาวะรุนแรง หรือไม่จำเป็นต้องได้รับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ โดยทั่วไป การเข้าพบแพทย์เป็นสิ่งที่ควรทำหากอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายนั้นเกิดจากอุบัติเหตุ หรือมีการบาดเจ็บ หรือหากอาการปวดนั้นไม่ดีขึ้น รู้สึกแย่ลง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การยืน เดิน หรือนอน, หรือมีอาการแทรกซ้อน หรือปวดรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

อาการปวดหลังล่างด้านซ้ายนั้นอาจบ่งชี้ถึงภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ตัวอย่างเช่น หากมีอาการต่อไปนี้ ร่วมกับปวดหลังล่างด้านซ้าย อาจบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ได้:

  • ปวดหลังอย่างรุนแรงและฉับพลันที่พักผ่อนแล้วก็ไม่ดีขึ้น
  • อาการปวดหลังส่วนล่าง/หรือปวดท้องที่รุนแรง
  • เวียนศีรษะ, มึนงง หรือหายใจถี่
  • เป็นไข้และหนาวสั่นเป็นพักๆ หรือตลอดเวลา
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เจ็บปวดระหว่างปัสสาวะ หรือพบเลือดในปัสสาวะ
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระได้
  • อ่อนเพลียลงอย่างมาก มีอาการชา หรือเป็นเหน็บในบริเวณลำตัวส่วนล่าง
  • น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ

อาการต่างๆเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากทีมแพทย์อย่างทันท่วงที

2. อาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายที่เกิดจากโครงสร้างกระดูกสันหลัง

กล้ามเนื้อด้านซ้ายของกระดูกสันหลังฉีกขาดเป็นสาเหตุที่พบได้มากสุดของอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้าย ความเครียดในกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกสันหลัง อาจมาจากการใช้งานมากเกินไป หรือจากการบาดเจ็บง่ายๆ เช่น ตำแหน่งนอนที่ไม่สบาย ไม่ถูกต้อง หรือยืน หรือนั่งเป็นเวลานานเกินไป

อาการของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างฉีกขาด (low back muscle strain) มักได้แก่:

  • อาการปวดเฉพาะที่หลังด้านล่างซ้าย
  • อาการปวดบ่งบอกตำแหน่งได้ชัดเจน และอาจปวดรุนแรง
  • ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น หากกล้ามเนื้อเคลื่อนที่มากขึ้น เกินขอบเขตการเคลื่อนไหวที่กำหนดไว้
  • ปวดตึงเมื่อสัมผัส
  • มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกร่วมด้วย
  • อาการปวดบรรเทาด้วยการพักผ่อน เช่น นั่งในเก้าอี้ที่ปรับเอียงนอน

อาการปวดหลังล่างด้านซ้าย อาจเกิดมาจากปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น ข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นทั้งสองข้างของกระดูกสันหลัง และมักเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างที่เส้นกึ่งกลางหลังตามแนวกระดูก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า ภาวะของกระดูกสันหลังนั้น อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างส่วนใหญ่เป็นทางด้านซ้ายมากกว่าก็ได้

ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาหากว่า อาการปวดนั้นกินเวลานานกว่า 4 ถึง 6 สัปดาห์ หรือไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาทั่วไป เช่น การหยุดพักใช้งานเป็นเวลาหนึ่งหรือสองวัน การทานยาแก้ปวด และการประคบอุ่น หรือประคบเย็น

อาการปวดหลังล่างด้านซ้ายที่เกิดจากกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลังด้านล่างด้านซ้ายอาจเกิดจากความเสียหาย หรือการบาดเจ็บต่อโครงสร้างในกระดูกสันหลัง รวมทั้งตัวกระดูกสันหลังเอง ข้อต่อกระดูกสันหลัง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โดยรอบ

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ได้แก่ :

  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated lumbar disc) - คือภาวะที่หมอนรองกระดูกสามารถเคลื่อนปลิ้นไปทับส่วนกระดูกส่วนหลังด้านซ้าย ทำให้เกิดอาการปวดตื้อที่หลังส่วนล่าง และปวดเสียด จี๊ดที่วิ่งไปตามสะโพกด้านซ้าย และขาซ้ายด้านหลัง ส่วนใหญ่อาการปวดที่ขาซ้ายจะรุนแรงกว่าอาการปวดที่หลัง อาการปวดหลังล่างด้านซ้าย อาการปวดตามสะโพกและขานี้อาจรุนแรงขึ้น หลังจากการนั่งเป็นเวลานาน โรคที่คล้ายกัน คือโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม (degenerative disc disease) จะไม่ทำให้เกิดอาการปวดเพียงด้านใดด้านหนึ่งเช่นนี้
  • โรคข้อเสื่อม หรืออาการปวดตามข้อ (Osteoarthritis) - เป็นภาวะเสื่อมและสึกหรอตามวัย ของข้อต่อหนึ่งข้าง ทั้งสองข้างที่บริเวณข้อต่อด้านหลังของกระดูกสันหลัง ส่งผลทำให้เกิดอาการตึงเครียด ไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดเมื่อย ติ่งกระดูกสันหลังด้านซ้ายของกระดูกสันหลังส่วนล่างอาจระคายเคืองกับรากเส้นประสาท และทำให้เกิดอาการปวดร้าวผ่านไปตามสะโพกซ้ายและลงที่ขาซ้ายได้
  • โรคของข้อกระดูกเชิงกราน (sacroiliac joint dysfunction) - ข้อต่อก้นกบที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังกับเชิงกรานนี้ สามารถก่อให้เกิดอาการปวดหลังและอาการปวดกระดูกเชิงกรานที่ข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างของร่างกายได้ หากมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ การเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้าย และ / หรืออาการปวดสะโพกซึ่งอาจร้าวจนไปจนถึงที่ขาหนีบได้ ส่วนการเคลื่อนไหวข้อต่อน้อยเกินไป มักทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายที่ร้าวลงไปที่บริเวณก้นหรือตามขา นอกจากนี้โรคของข้อกระดูกเชิงกรานจากข้อต่อนี้ยังมักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing Spondylitis) ได้อีกด้วย

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด จะเป็นขั้นตอนแรกของการดูแลรักษาโรคเหล่านี้ ได้แก่ การปรับท่าทางด้วยตนเอง การนวดบำบัด การทำกายภาพบำบัด และ/หรือยาแก้ปวดที่มีขายตามท้องตลาด หรือตามที่แพทย์สั่ง การรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะ และอาการของผู้ป่วย โดยการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นจะพิจารณาทำเมื่ออาการปวดหลังนั้นมีไม่ทุเลา หรือมีอาการรุนแรงจนขัดขวางความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน

สาเหตุอื่นที่พบได้น้อยของอาการปวดหลังล่างด้านซ้าย

สาเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้าย อาจรวมถึงปัญหาเฉพาะที่ใกล้กับกระดูกสันหลัง หรือปัญหาทั่วร่างกายซึ่งมีผลต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโดยรวม เช่น

  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อมสภาพ (Degenerative spondylolisthesis) - คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังชิ้นหนึ่งเคลื่อนไปด้านหน้ากว่าอีกชิ้นที่อยู่ต่ำกว่า เนื่องจากมีการเสื่อมตามวัยของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อ ภาวะนี้มักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามหลังข้างหนึ่ง
  • กลุ่มอาการโรคปวดเรื้อรัง เช่น โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วตัว (Fibromyalgia) และ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)  ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่อยล้า และปวดตึงในจุดปวดที่ไวต่อการกระตุ้น (trigger point) ทั่วทั้งร่างกาย
  • สาเหตุอื่น ๆที่เป็นไปได้ยาก เช่น เนื้องอกไขสันหลัง กระดูกแตกหัก หรือการติดเชื้อในบริเวณกระดูกสันหลังล่างซ้าย

3. อาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายจากอวัยวะภายใน

อาการปวดหลังส่วนล่างด้านซ้ายสามารถมีอาการรุนแรง ปวดจี๊ด หรือปวดเสียด หรืออาจเป็นอาการปวดตุบๆและไม่ทุเลาลงตลอดเวลาก็เป็นได้ และมันอาจจะยากที่จะแยกระหว่างอาการปวดหลัง และอาการปวดที่มาจากอวัยวะภายในออกจากกันอย่างชัดเจน อาการปวดเฉพาะที่หลังส่วนล่างด้านซ้ายนั้นอาจจะเกิดมาจากหนึ่งอวัยวะหรือหลายอวัยวะร่วมกันก็ได้ เช่น ไต และลำไส้ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นร่วมกัน

สาเหตุจากอวัยภายในที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • นิ่วในไต (Kidney stones) - อาการปวดหลังล่างด้านซ้ายจากนิ่วในไตนั้นอาจเกิดขึ้นมาได้เมื่อก้อนนิ่วนั้นเคลื่อนตัวเข้ามาในไตด้านซ้าย หรือเคลื่อนผ่านท่อปัสสาวะ (ท่อแคบๆเล็กๆที่เชื่อมระหว่างไตและกระเพาะปัสสาวะ) อาการอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปวดเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะลำบากแม้ว่ามีอาการปวดปัสสาวะอย่างมาก และกระเพาะปัสสาวะบีบตัว พบเลือดในปัสสาวะ และมีอาการคลื่นไส้ และ/หรือ อาเจียน
  • การติดเชื้อในไต (Kidney infection) - การติดเชื้อที่ไตด้านซ้ายนั้นสามารถทำให้เกิดอาการปวดตุบ หรืออาการปวดหลังล่างด้านซ้ายอย่างรุนแรง การติดเชื้อที่ไตนั้นมักจะเริ่มจากการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะก่อนแล้วจึงลามขึ้นมาที่ไต ทำให้เกิดการอักเสบเฉพาะที่ในไต และอาการปวดที่รุนแรงขึ้น อาการข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การมีไข้ คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน และมีอาการปวด หรือแสบระหว่างปัสสาวะ อาการปวดนั้นมักจะชี้ตำแหน่งรู้สึกได้ที่บริเวณข้างๆกระดูกสันหลังเหนือสะโพก และอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อขยับตัว หรือถูกกด
  • กลุ่มอาการโรคทางสูตินรีเวช (Gynecological Disorders) - ก้อนฟัยบรอยด์ (Fibriods) และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เป็นสองสภาวะที่พบได้บ่อยในเพศหญิงที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังล่างด้านซ้าย อาการปวดจาก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือภาวะที่เนื้อเยื่อของมดลูกที่เจริญเติบโตนอกมดลูกนั้นมักเกิดเป็นระยะๆ มีอาการปวดจี๊ด และรู้สึกเสียด รวมถึงอาจมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย และปวดอย่างรุนแรงเมื่อมีประจำเดือนได้ สำหรับเนื้องอกมดลูกนั้นมักเป็นก้อนเนื้อที่ไม่ร้ายแรงที่โตภายในมดลูก และสามารถทำให้เกิด อาการปวดหลังล่างด้านซ้าย ร่วมกับการมีประจำเดือนผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย และเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative Colitis) - ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลมีลักษณะเฉพาะโดยมีการอักเสบถาวรซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอยู่ในส่วนของลำไส้ใหญ่ การอักเสบนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารที่เรื้อรังทั้งหลาย เช่น ท้องร่วง อาการปวดท้อง และน้ำหนักลด อาการปวดเกร็งในช่องท้องเป็นอาการทั่วไปของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบนี้ โดยทำให้เกิดอาการปวดจี๊ดที่หลังและท้องข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างของร่างกาย
  • การตั้งครรภ์ - อาการปวดหลังส่วนล่างด้านเดียวอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโต และร่างกายของมารดากำลังปรับตัวให้รองรับทารกได้ อาการปวดอาจแตกต่างกันได้ ตั้งแต่ ปวดตุบตลอดเวลา ไปจนถึง ปวดจี๊ด ปวดเสียด การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การพักผ่อน และ การรักษาเสริมเพิ่มเติมบางอย่างสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดนี้ได้ดี
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) - ภาวะนี้เกี่ยวกับการอักเสบของตับอ่อน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องส่วนบนซึ่งสามารถร้าวไปยังด้านซ้ายของหลังส่วนล่างได้เช่นกัน ผู้ป่วยอาจอธิบายความเจ็บปวดเป็นอาการปวดตุบๆ ซึ่งอาการปวดนี้อาจจะรุนแรงขึ้นระหว่างการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง

การตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจ และวินิจฉัยสาเหตุข้างต้น และสาเหตุเพิ่มเติม เป็นไปได้ของอาการปวดหลังส่วนล่าง บางครั้ง การตรวจพิเศษอาจจำเป็นต้องทำเพิ่มเติมเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง เช่น การฉายภาพรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และ/หรือการตรวจเลือด สิ่งสำคัญ คือ คุณควรต้องไปพบแพทย์ทันทีหากพบหรือสงสัยว่ามีอาการข้างต้นที่ได้กล่าวมา


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lower back pain: Causes, treatment, and when to see a doctor. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325381)
William C. Shiel Jr., MD, FACP, FACR, Lower Back Pain (https://www.medicinenet.com/low_back_pain/article.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป