กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

CT Scan เทคโนโลยีเพื่อถ่ายภาพภายในร่างกาย

รูัจัก CT Scan ซึ่งใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยได้หลายโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
CT Scan เทคโนโลยีเพื่อถ่ายภาพภายในร่างกาย

การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการใช้หลักการเอกซเรย์และคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายออกมาอย่างละเอียด เป็นกระบวนการที่มักทำกันตามโรงพยาบาลโดยมีช่างดำเนินงานผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่าช่างถ่ายภาพรังสี และมักดำเนินการขณะที่คุณเข้าโรงพยาบาลหรือเข้าตรวจคร่าวๆ

เมื่อไหร่ต้องใช้ซีทีสแกน?

ซีทีสแกนสามารถแสดงภาพโครงสร้างภายในร่างกายได้อย่างละเอียด ซึ่งรวมไปถึงกระดูก อวัยวะ และหลอดเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์อื่นๆ ของซีทีสแกน

  • การวินิจฉัย: รวมไปถึงตรวจความเสียหายที่กระดูก การบาดเจ็บของอวัยวะภายใน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือด และมะเร็ง
  • เพื่อเป็นข้อมูลหาแนวทางการรักษาเยียวยา: ยกตัวอย่างเช่น ซีทีสแกนสามารถชี้ชัดตำแหน่ง รูปร่าง และขนาดของเนื้องอกก่อนทำการฉายรังสีได้ หรือทำให้แพทย์สามารถทำการตัดชิ้นเนื้อไปวินิจฉัย หรือเพื่อการดูดหนองออก
  • เพื่อสอดส่องอาการ: รวมไปถึงการตรวจขนาดเนื้องอกระหว่างดำเนินการรักษามะเร็ง

โดยการตรวจปรกตินั้นจะไม่ใช้ซีทีสแกนกันหากคุณไม่แสดงอาการใดๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะภายใน เนื่องจากหลักการถ่ายภาพเช่นนี้มีความเสี่ยงหลังการใช้งานอยู่ ซึ่งเป็นข้อกังขาที่เกี่ยวกับการใช้กรรมวิธีนี้มาจนถึงทุกวันนี้

การเตรียมการสำหรับถ่ายภาพ

  • ในจดหมายแจ้งกำหนดการนัดหมายจะบอกคุณทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องเตรียมก่อนการถ่าย
  • คุณอาจถูกขอให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนหน้าหลายชั่วโมงเพื่อให้ภาพที่ออกมาชัดเจนที่สุด
  • หากคุณมีอาการแพ้ มีปัญหาโรคไต หรือกำลังใช้ยาสำหรับเบาหวานอยู่ต้องทำการแจ้งโรงพยาบาลก่อนเนื่องจากสภาวะเหล่านี้ต้องการแผนการดำเนินการตรวจแบบพิเศษ
  • ให้รีบแจ้งทางโรงพยาบาลทันทีในกรณีที่คุณตั้งครรภ์ เนื่องจากซีทีสแกนนั้นไม่เหมาะสมกับทารกในครรภ์ เนื่องจากการสแกนรูปแบบนี้มีการใช้รังสีที่เป็นความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ ทำให้การใช้ซีทีสแกนกับคนท้องนั้นควรต้องเป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
  • เตรียมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้เคลื่อนไหวสะดวกและมีความสะดวกสบายที่สุด เพราะคุณต้องนอนด้วยเสื้อผ้าชุดนั้นเป็นเวลานาน และอย่าสวมใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่มีชิ้นส่วนเป็นเหล็ก  (อย่างเช่น ซิปรูด) เพราะคุณจะถูกขอให้เปลี่ยนเสื้อก่อนดำเนินการ

ก่อนการสแกนด้วยรังสี

  • ก่อนการฉายรังสี คุณจะได้รับสารย้อมชนิดพิเศษเข้าร่างกาย เพื่อทำให้คุณภาพของฟิล์มออกมาดี ซึ่งสารดังกล่าวจะมีทั้งรูปแบบการดื่ม )ฉีดเข้ารูทวาร หรือฉีดเข้าเส้นเลือด
  • หากรู้สึกกังวล หรือมีภาวะกลัวที่แคบ ให้แจ้งช่างฉายรังสีเพื่อขอรับยาระงับประสาทเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น และเพื่อให้พวกเขาจัดแจงวิธีต่างๆ เพื่อให้คุณสบายใจยิ่งขึ้นตามความจำเป็น
  • ก่อนเริ่มการสแกน คุณจะต้องเปลี่ยนเสื้อเพื่อใส่เสื้อคลุมยาวแทน โดยหากคุณมีเครื่องประดับ หรือเหล็กติดอยู่ คุณจะถูกขอให้ถอดสิ่งสิ่งนั้นออกก่อนเพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานของเครื่องจักร

เกิดอะไรขึ้นระหว่างสแกนรังสี?

  • ระหว่างการฉายรังสี คุณต้องนอนหงายราบไปกับเตียงที่ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่เครื่องซีทีสแกน
  • เครื่องสแกนจะประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่รูปร่างเหมือนวงแหวน ซึ่งจะหมุนไปเรื่อยๆ ขณะที่คุณกำลังนอนอยู่ช่องตรงกลางของเครื่อง เครื่องซีทีสแกนไม่เหมือนกับเครื่องจักรสำหรับ MRI หรือการถ่ายภาพแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ซึ่งตัวเครื่องที่หมุนรอบตัวคุณมีขนาดใหญ่กว่ามาก ทำให้ไม่เกิดภาวะกลัวที่แคบหนักกว่า MRI
  • ช่างถ่ายภาพรังสีจะเป็นผู้ดำเนินงานเครื่องจักรจากห้องถัดไป ซึ่งขณะเครื่องจักรทำงานอยู่ คุณและช่างจะสามารถสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์คอม
  • และขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่ คุณต้องนอนราบนิ่งๆ โดยที่หายใจให้เป็นปรกติที่สุด เพื่อให้ภาพที่ได้ชัดเจน ซึ่งมีบางช่วงที่คุณอาจถูกขอให้หายใจเข้า หายใจออก หรือกลั้นหายใจ
  • โดยปรกติแล้วการถ่ายภาพแต่ละครั้งใช้เวลา 10–20 นาที

เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น?

  • คุณจะไม่รู้สึกถึงผลกระทบใดๆ จากการสแกน และสามารถกลับบ้านได้ทันที โดยที่สามารถรับประทานหรือดื่มน้ำได้ตามปกติ
  • ถ้ามีการให้สารแก่คุณก่อนทำการถ่ายภาพ คุณอาจถูกขอให้รออยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าตัวคุณไม่แสดงปฏิกิริยาทางลบใดๆ กับสารนั้นๆ ซึ่งในกรณีปรกติ สารทึบรังสีที่ดื่มเข้าไปจะไม่ส่งผลใดๆ กับร่างกาย และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะเอง
  • ผลลัพธ์การถ่ายภาพรังสีของคุณจะยังไม่ได้ในทันที เพราะต้องให้คอมพิวเตอร์ดำเนินผลข้อมูลต่างๆ ก่อน ซึ่งยังจะถูกวิเคราะห์โดยนักรังสีวิทยาอีกที (ผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าทีแปลภาพของร่างกาย)
  • หลังจากการวิเคราะห์ภาพถ่าย นักรังสีวิทยาจะเขียนรายงานส่งไปยังแพทย์ของคุณ เพื่อให้แพทย์เรียกคุณเข้าฟังผลสแกน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มักใช้เวลาไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์

ซีทีสแกนมีความปลอดภัยขนาดไหน?

  • เทคนิคซีทีสแกนนั้นรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตามการสแกนเช่นนี้ก็มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่คุณอาจมีปฏิกิริยาแพ้จากการใช้สารย้อมสี และคุณอาจมีโอกาสถูกรังสีเอกซเรย์ได้
  • ปริมาณรังสีที่ร่างกายคุณได้รับระหว่างการสแกนนั้นแตกต่างกันไปตามปริมาตรร่างกายที่ถูกสแกน แต่เครื่องซีทีสแกนก็ได้ออกแบบมาให้ส่งผลต่อร่างกายไม่มากเท่าไรนัก
  •  ซึ่งปริมาณรังสีจากการสแกนรังสีหนึ่งครั้งจะเทียบเท่ากับปริมาณรังสีตามธรรมชาติที่มนุษย์สัมผัสโดนในช่วงไม่กี่เดือนไปจนถึงไม่กี่ปี
  • แม้ว่ารังสีจากการสแกนจะมีผลเพิ่มโอกาสก่อมะเร็งในร่างกายได้ แต่ความเสี่ยงดังกล่าวก็ถือว่ามีน้อยมากๆ (น้อยกว่า 1 ใน 2,000 คน)

กระนั้นประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้เทคนิคซีทีสแกนในแต่ละครั้งจะถูกชั่งน้ำหนักไว้ก่อนที่จะแนะนำให้คนไข้ ทำการสแกน ซึ่งหากคุณยังคงกังวลในการใช้กรรมวิธีนี้วินิจฉัยร่างกายคุณ คุณก็สามารถปรึกษากับแพทย์ หรือช่างถ่ายภาพรังสีได้เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มี

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ทำ CT Scan ช่องท้อง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heather Ross, ct-scan (https://www.healthline.com/health/ct-scan), February 25, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)