กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Hearing Loss (สูญเสียการได้ยิน หรือหูหนวก)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ภาวะสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) หมายถึง การได้ยินลดลง คนส่วนใหญ่มักเรียกอาการนี้ว่า หูตึง แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นหูไม่ได้ยินเสียงใดๆ หรือที่เรียกว่า หูหนวก

ค่าการได้ยินของหูเมื่อตรวจความถี่ที่ 500 1,000 2,000 เฮิรตซ์ คนปกติจะได้ค่าความไวต่ำสุดที่สามารถรับเสียงได้เกินกว่า 27-93 เดซิเบล หากคนใดมีค่าการได้ยินเกิน 93 เดซิเบลถือว่ามีอาการหูหนวก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุที่ทำให้หูหนวก

หูหนวกสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

ภาวะการนำเสียงผิดปกติ

เนื่องจากมีพยาธิสภาพของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง ทำให้กลไกการส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นในผิดปกติ อาจเกิดจากภาวะขี้หูอุดตัน (Impacted cerumen) มีสิ่งแปลกปลอมอุดตัน ช่องหูอักเสบ หรือมีอาการบวมภายในหูจนทำให้ช่องหูตีบตัน แก้วหูทะลุ เป็นโรคหูน้ำหนวก หรือมีหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

ประสาทการรับฟังเสียงผิดปกติ

เนื่องจากมีพยาธิสภาพอยู่ในหูชั้นใน หรือในประสาทรับเสียง (Acoustic nerve) โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การได้รับยาบางชนิด การได้ยินเสียงดังมากๆ เป็นโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ (Meniere’s disease) หรือประสาทหูเสื่อมจากการมีอายุมากขึ้น

การนำเสียงประสาทรับฟังเสียงผิดปกติ

เนื่องจากมีพยาธิสภาพทั้งในหูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน สาเหตุที่พบได้คือ หูน้ำหนวกเรื้อรังที่ลุกลามเข้าสู่หูชั้นใน หรือมีหินปูนเกาะกระดูกหู

ความผิดปกติในสมอง

โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองแตก มีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความผิดปกติด้านจิตใจต่างๆ

เป็นโรคทางจิตเภทที่ทำให้การรับรู้ผิดเพี้ยน เช่น ประสาทหลอน

กลไกการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินเกิดจากกลไลการได้ยินที่ผิดปกติ โดยปกติกลไกการได้ยินจะมีกระบวนการ ดังนี้

  • ใบหู ทำหน้าที่ดักและรับให้เสียงผ่านหูเข้าไป
  • รูหู เป็นท่อช่วยให้เสียงก้องและดังขึ้น เสียงที่ผ่านรูหูจะไปกระทบกับแก้วหู
  • แก้วหู จะมีการขยับเขยื้อน ทำให้เสียงผ่านไปยังกระดูกค้อนในหูชั้นกลาง
  • กระดูกค้อนสั่นสะเทือนจนไปสั่นกระดูกทั่ง และกระดูกโกลนตามลำดับ
  • หากเสียงดังเกินไปจะมีกล้ามเนื้อสเตปิเดียส (Stapedius) และเทนเซอร์ทิมพาไน (Tensor tympani) ช่วยรั้งกระดูกไว้ไม่ให้เคลื่อนไหวแรงเกินไป
  • การสั่นสะเทือนของกระดูกโกลนจะทำให้ผนังของหน้าต่างรูปไข่สั่น และทำให้ของเหลวที่เรียกว่า เพอริลิมฟ์ (Perilymphatic fluid) ในหูชั้นในสั่นไปยังเยื่อบุไรส์เนอร์ (Reissner’s membrane) หรือเยื่อบุเวสติบูลาร์ (Vestibular membrane)
  • ส่งผลให้ของเหลวที่ชื่อเอ็นโดลิมฟ์ (Endolymphatic fluid) ในท่อคอเคลียสั่นสะเทือน และส่งต่อไปยังเซลล์ขน
  • เซลล์ขนจะรับเสียง และส่งไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (Auditory nerve) เข้าสู่สมอง
  • สมองจะแปลเสียงที่ได้รับว่าเป็นเสียงอะไร

เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีอาการหูหนวก

ผู้ป่วยหูหนวกจะมีอาการหูอื้อ ฟังไม่ชัด จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียง รวมทั้งอาจได้ยินเสียงดังในหู หรือมีอาการเวียนศีรษะ

อาการที่อาจบ่งบอกได้ว่ามีการนำเสียงผิดปกติ ได้แก่

  • ได้ยินไม่ชัดเจน
  • ปวดหู เจ็บ คันในหู
  • มีน้ำ หรือหนอง ไหลออกจากหู
  • ฟังเสียงดังๆ ได้ชัดเจนดี แม้อยู่ในที่จอแจ
  • มีเสียงดังในหู โดยจะเป็นเสียงต่ำๆ หึ่งๆ อู้ๆ
  • ผู้ป่วยจะพูดเสียงปกติและเสียงพูดชัด

อาการที่ชี้ว่าประสาทรับฟังเสียงเกิดความผิดปกติ ได้แก่

  • ได้ยินไม่ชัดแม้เสียงนั้นจะดังมาก แต่จะได้ยินเสียงในที่เงียบชัดกว่าในที่จอแจ หรือที่ที่มีเสียงรบกวน
  • มีเสียงดังในหูเป็นเสียงสูงๆ เช่น เสียงวิ้งๆ หรือจี๊ดๆ หากเสียงสูงมากจะมีอาการปวดหู
  • ผู้ป่วยมักจะพูดเสียงดังและพูดไม่ชัด

การวินิจฉัยอาการหูหนวก

  • ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินอาจมาพบแพทย์ด้วยประวัติปวดหู หูอื้อ มีไข้ มีน้ำหรือหนองไหลออกมาจากหู มีอาการเวียนศีรษะ หรือมีเสียงในหู เมื่อแพทย์ตรวจก็จะพบน้ำหรือหนองในช่องหู บางรายมีอาการช่องหูบวมแดง หรือแก้วหูทะลุร่วมด้วย
  • การตรวจเพิ่มเติมที่แพทย์อาจใช้ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และครีเอตินิน (Creatinine) ในเลือด ตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล (Venereal Disease Research Laboratory Test: VDRL) ตรวจการทำงานของไทรอยด์ ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
  • นอกจากนั้นแพทย์อาจตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometer) เพื่อดูการทำงานของแก้วหูและหูชั้นกลาง ตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่รับรู้ต่อเนื่องเพื่อหาตำแหน่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน และตรวจด้วยการถ่ายภาพรังสีหูชั้นในเพื่อดูว่ามีเนื้องอกในหูชั้นในหรือไม่

การรักษาอาการหูหนวก

การรักษาอาการหูหนวกขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ได้แก่

  • กรณีเกิดจากการนำเสียงผิดปกติ รักษาได้โดยใช้ยาหยอดหู หรือใช้ยารับประทาน หากมีสิ่งอุดตันแพทย์ก็จะนำออกมา หรือบางกรณีอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  • กรณีเกิดจากประสาทรับฟังเสียงผิดปกติ รักษาได้โดยใช้ยาขยายหลอดเลือด และให้สเตียรอยด์ (Steroids) เพื่อลดการอักเสบ ให้วิตามินบี 1 6 และ 12 ยาแก้เวียนศีรษะ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • กรณีเกิดจากประสาทหูเสื่อมในวัยชรา หรือประสาทหูเสื่อมจากกรรมพันธุ์ สามารถรักษาเพื่อให้กลับมาได้ยินโดยใช้เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) หรือผ่าตัดฝังหูชั้นในเทียม (Cochlear implant) แต่มีค่าใช้จ่ายสูง

การดูแลผู้ป่วยหูหนวก

  • ผู้ดูแลควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไม่ทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และพยายามเอาใจใส่และรับฟังผู้ป่วยด้วย
  • หมั่นประเมินอาการผิดปกติที่ผู้ป่วยบอก เช่น มีเสียงดังในหู เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันการณ์
  • พยายามเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร โดยก่อนพูดควรรอให้ผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะฟัง พูดกับผู้ป่วยช้าๆ และชัดเจน ใช้มือหรือท่าทางช่วยประกอบการพูด และอยู่ในระยะห่างพอที่จะมองเห็นปากผู้ป่วย
  • ควรให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์คือ ไม่แคะหู ปั่นหู หรือนำสิ่งของใดๆ เข้าหู ขณะที่ช่องหูอักเสบหรือแก้วหูทะลุอยู่ 

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nia.nih, Hearing Loss: A Common Problem for Older Adults (https://www.nia.nih.gov/health/hearing-loss-common-problem-older-adults), November 20, 2018
University of Illinois-Chicago, College of Medicine, Hearing Loss (https://www.healthline.com/health/hearing-loss#1), February 26, 2016
nhs.uk, Hearing loss (https://www.nhs.uk/conditions/hearing-loss/), 1 August 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
รู้สึกเวียนหัวค่ะ เวลาจะล้มตัวลงนอนเกิดจากสาเหตุอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการประสาทหูเสื่อมมีทางรักษามั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการน้ำในหูไม่เท่ากันรักษาหายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการบ้านหมุนบ่อยๆควรดูแลตัวเองยังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
วิธีรักษาอาการบ้านหมุน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากทราบอาการของคนที่น้ำในหูไม่เท่ากัน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)