กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุ 40–64 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด สละเวลาอ่านสักนิดเพื่อตัวคุณเอง
เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุ 40–64 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจคัดกรองโรคและค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้ในอนาคต เป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • การตรวจสุขภาพ มักประกอบด้วย การซักประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจสุขภาพผู้ชาย ในช่วงอายุ 40-64 ปี จะเน้นไปที่การตรวจระดับคอเลสเตอรอล การตรวจเบาหวาน การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และโรคกระดูกพรุน
  • แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) หรือวัคซีนงูสวัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

โดยปกติการตรวจเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ มักเป็นผู้หญิงที่สนใจมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเพศหญิงเป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อน และเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ 

แต่ในปัจจุบันผู้ชายมีความสนใจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย วันนี้เลยมีบทความสำหรับคุณผู้ชายวัย 40-64 ปี ที่อยากคัดกรองโรคตั้งแต่เนิ่นๆมาฝากกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มาดูกันว่า ในช่วงวัย 40-64 นั้น ผู้ชายควรตรวจอะไรกันบ้าง

เป้าหมายของการตรวจสุขภาพ

คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ แม้ว่าจะมีสุขภาพดีก็ตาม เป้าหมายของการตรวจในแต่ละครั้งเพื่อ

  • คัดกรองโรคในระยะเริ่มต้น
  • ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในอนาคต
  • ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะที่ดี
  • รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ผู้ชายอายุ 40–64 ปี ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?

แบ่งเป็นการตรวจพื้นฐานและการตรวจจำเพาะ มีรายละเอียดดังนี้ 

การตรวจพื้นฐาน

  • การซักประวัติและ การตรวจร่างกายโดยแพทย์
  • การตรวจประเมินสุขภาพจิตทั่วไป การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
  • การตรวจดัชนีมวลกาย
  • การตรวจวัดสัญญาณชีพทั่วไป
  • ตรวจการได้ยินทั่วไป (Finger Rub Test)
  • ตรวจตาทั่วไป
  • การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
  • การตรวจเม็ดเลือด (CBC)
  • การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน (FBS)
  • การตรวจคัดกรองโรคไขมันในเลือดสูง
  • การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

การตรวจจำเพาะ

  • การตรวจสมรรถภาพและความแข็งแรงของร่างกาย (Fitness Test)
  • การตรวจฟัน
  • การตรวจสายตา
  • การตรวจหาโรคจากสิ่งแวดล้อม เช่น โลหะหนัก เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม การตรวจสมรรถภาพปอด
  • การตรวจหาโรคการทำงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพการมองเห็น การตรวจหาโรคจากความร้อน/ความเย็น/แรงสั่นสะเทือน สารเคมีที่ตกค้างในร่างกาย โรคปอดจากการทำงาน 
  • โรคติดเชื้อในวัยเจริญพันธุ์
  • มะเร็งทวารหนัก (สำหรับกลุ่มเฉพาะ)
  • ตรวจหาภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน

การตรวจความดันโลหิต

  • ควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากว่า มีเลขความดันโลหิตตัวบน (Systolic number) อยู่ระหว่าง 120-139 หรือเลขความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic number) อยู่ระหว่าง 80-89 mmHg หรือมากกว่านั้น ก็ควรตรวจทุกปี
  • หากเลขความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า 140 หรือเลขตัวล่างสูงกว่า 90 ให้ปรึกษาแพทย์ หรือรีบไปพบแพทย์ทันที
  • หากเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจความดันโลหิตบ่อยครั้งกว่าข้างต้น หรืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

การตรวจระดับคอเลสเตอรอลกับการป้องกันโรคหัวใจ

  • ผู้ชายในวัย 40-64 ปี ควรได้รับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลทุกๆ 5 ปี 
  • ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว และเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคไตร่วมด้วย อาจต้องตรวจบ่อยครั้งขึ้น
  • หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น เป็นโรคเบาหวาน ให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปี
  • ผู้ชายบางคนอาจมีคอเลสเตอรอลสูงจนต้องใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันภาวะหัวใจวาย ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาดังกล่าว เนื่องจากยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกได้

การตรวจเบาหวาน

  • หากมีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเบาหวานทุกๆ 3 ปี
  • หากคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ควรสอบถามแพทย์ว่า ควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่ช่วงอายุน้อยหรือไม่
  • หากมีความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mmHg หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร่วมด้วย แพทย์อาจให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อดูว่า มีภาวะเบาหวานหรือไม่

การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี และคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือติ่งเนื้อเมือก หรือตัวคุณเองมีปัจจัยเสี่ยงอย่างเคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือมีติ่งเนื้อเมือกมาก่อน ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกคน โดยการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระทุกๆ ปี
  • การตรวจส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกๆ 10 ปี

ทั้งนี้คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น

การตรวจโรคกระดูกพรุน

หากคุณมีอายุ 50-70 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ คุณควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับการตรวจต่างๆ

  • ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน 
  • น้ำหนักน้อย 
  • สูบบุหรี่ 
  • ดื่มแอลกอฮอล์หนัก 
  • เคยกระดูกหักหลังจากอายุ 50 ปี 
  • คนในครอบครัวมีประวัติโรคกระดูกพรุน

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้
  • คุณสามารถเข้ารับการตรวจเลือด PSA เพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากได้ทุกปี
  • ผู้ชายที่ไม่มีอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองเป็นประจำ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

คณะป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า หากมีอายุระหว่าง 55-80 ปี มีประวัติสูบบุหรี่ 30 แพ็คต่อปี และกำลังสูบบุหรี่อยู่ หรือเลิกบุหรี่ไปแล้วภายในช่วง 15 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดเป็นประจำทุกปีด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเข้มรังสีต่ำ (LDCT)  

การตรวจฟัน

ควรเข้าพบทันตแพทย์ 1-2 ครั้งต่อปี เพื่อตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดช่องปาก เช่น ขูดหินปูน โดยทันตแพทย์อาจประเมินและแจ้งให้คุณมาพบบ่อยกว่านั้นตามกรณี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจตา

ผู้ที่มีอายุ  40-54 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี และตรวจทุก 1-3 ปี เมื่อมีอายุ 55-64 ปี แต่แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจบ่อยกว่านั้นหากคุณมีปัญหาสายตา หรือมีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน 

หากเป็นเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

ผู้ชายอายุ 40-64 ปี ควรฉีดวัคซีนอะไรดี? 

  • หลังจากที่อายุ 19 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี หลังจากได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดแล้ว อาจพิจารณาฉีดเพียงวัคซีนป้องกันบาดทะยักได้
  • ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
  • หากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน ควรเข้ารับวัคซีนอีสุกอีใส
  • วัคซีนโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • วัคซีนงูสวัด
  • หากมีโรคประจำตัวบางชนิด แพทย์อาจแนะนำให้ท่านฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

แพทย์อาจแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หากคุณมีภาวะสุขภาพ หรือความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เป็นโรคเบาหวาน 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ละเลยการตรวจสุขภาพมาตลอด ถึงเวลาที่ควรเริ่มหันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะในช่วงวัยนี้ความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

หากตรวจพบแต่แรกเริ่ม หรือรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้างตั้งแต่วันนี้ ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะหาทางป้องกันและดูแลสุขภาพให้ดีกว่าเดิม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุ 40-50 ปี*

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
มิตรไมตรีคลินิก
(Standard
อายุ 45 ปีขึ้นไป)
มิตรไมตรีคลินิก
(Comprehensive
อายุ 45 ปีขึ้นไป)
รพ. ยันฮี
(อายุ 41-50 ปี)
รพ. เพชรเวช
(Gold
อายุ 41-50 ปี)
รพ. เปาโล
(Value For Life
Gold Plus
อายุ 40 ปีขึ้นไป)
รพ. จุฬารัตน์ 9
(อายุ 41-50 ปี)
รพ. ธนบุรี 1
(อายุ 40 ปีขึ้นไป)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน
ตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์
ตรวจมวลกระดูก
ตรวจวัดระดับแคลเซียม
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจหมู่เลือด (ABO)
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจการทำงานของไต (eGFR)
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid)
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL)
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT)
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ
(Alk Phosphatase)
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
ตรวจอุจจาระ
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
(Chest x-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP)
ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยเครื่องวิ่งสายพาน (EST)
ตรวจมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram+U/S Breast)
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo)
ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs)
ราคา 1,999 2,590 7,100 7,200 7,500 8,500 8,990

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป*

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
รพ. เพชรเวช
(Plutinum
อายุ 50 ปีขึ้นไป)
รพ. ยันฮี
(อายุ 50 ปีขึ้นไป)
รพ. เปาโล
(Value For Life
Value For Life Platinum
อายุ 50 ปีขึ้นไป)
รพ. จุฬารัตน์ 9
(อายุ 50 ปีขึ้นไป)
รพ. เปาโล
(Value For Life
Value For Life Platinum
อายุ 60 ปีขึ้นไป)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน
ตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์
คัดกรองการได้ยิน Audiogram
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์
ตรวจมวลกระดูก
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจหมู่เลือด (ABO)
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด Hb A-1C
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid)
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL)
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT)
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ
(Alk Phosphatase)
ตรวจการทำงานของตับ
(Total Protein)
ตรวจการทำงานของตับ
(Albumin)
ตรวจการทำงานของตับ
(Bilirubin)
ตรวจการทำงานของตับ
(Direct Bilirubin)
ตรวจการทำงานของตับ
(Globulin)
ตรวจการทำงานของตับ
(GGT)
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
ตรวจอุจจาระ
(Stool Occult Blood )
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
(Chest x-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA 19-9)
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
ตรวจการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด (ABI)
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP)
ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยเครื่องวิ่งสายพาน (EST)
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo)
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo)
ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs)
ราคา 9,200 10,600 11,500 12,000 15,500

*ราคาและรายการตรวจสุขภาพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนซื้อแพ็กเกจ

เช็ครายการตรวจสุขภาพแล้ว ต้องทำอะไรต่อ?

ดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ ที่นี่

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prostate cancer prevention and early detection (http://www.cancer.org/acs/groups/cid/documents/webcontent/003182-pdf.pdf), 20 May 2020.
MedicineNet, Men's Health: 10 Diseases That Kill Men (https://www.medicinenet.com/mens_health/article.htm), 19 May 2020.
Kleerekoper, M., Patient information: Bone density testing (Beyond the basics) (http://www.uptodate.com/contents/bone-density-testing-beyond-the-basics), 20 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป