กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 18 – 39 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

ผู้หญิงที่มีอายุ 18-39 ปีขึ้นไป ควรเริ่มเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง
เผยแพร่ครั้งแรก 11 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 18 – 39 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพประจำปีในผู้หญิงช่วงอายุ 18-39 ปี คล้ายกับการตรวจสุขภาพทั่วไป แต่จะเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมไปด้วย
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรเริ่มตรวจเมื่อมีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จะตรวจในผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุยังน้อย โดยอาจตรวจด้วยแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์
  • นอกจากการตรวจสุขภาพแล้ว แพทย์จะดูว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้น หรือจำเป็นต้องรับวัคซีนหรือไม่ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันเอชพีวี (HPV)
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพเป็นการตรวจคัดกรองโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่แสดงอาการออกมา หรือตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค โดยการตรวจสุขภาพในผู้หญิงช่วงอายุ 18-39 ปี ถือเป็นวัยที่ควรเริ่มเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก

เป้าหมายของการตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจร่างกายในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี โดยมีเป้าหมายหลักๆ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ตรวจคัดกรองโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่แสดงอาการ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งเต้านมในระยะแรก หรือมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก
  • ตรวจปัจจัยเสี่ยง หรือพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคในอนาคต เช่น มีความเครียด ชอบรับประทานของหวาน ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ตรวจดูการรับวัคซีนป้องกันโรคในแต่ละช่วงวัย

ตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 18–39 ปี มีอะไรบ้าง?

รายการตรวจสุขภาพในผู้หญิงอายุ 18-39 ปี คล้ายกับการตรวจสุขภาพทั่วไป ประกอบด้วย การซักประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างการตรวจเลือด หรือตรวจปัสสาวะ 

อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพผู้หญิงในวัยนี้จะเพิ่มการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงเข้ามาด้วย เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปากมดลูก 

การซักประวัติสุขภาพ

การซักประวัติสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แพทย์ค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยประเด็นที่แพทย์จะสอบถาม เช่น

  • สุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตทั่วไป
  • ประวัติสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจ และคนในครอบครัว
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย การนอนหลับ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • อาชีพที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

หลังจากซักประวัติสุขภาพร่างกายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจร่างกายในด้านต่างๆ ตามรายการพื้นฐานที่ควรตรวจ หรือตามที่แพทย์ประเมินแล้วว่า อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรค จึงจำเป็นต้องตรวจเพื่อวินิจฉัยให้ชัดเจน

การตรวจความดันโลหิต

คนทั่วไปควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี แต่หากมีโรคประจำตัว หรือค่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ อาจจำเป็นตรวจบ่อยกว่านั้น เช่น

  • หากเลขความดันโลหิตตัวบน (Systolic number) อยู่ระหว่าง 120-139 หรือเลขตัวล่าง (Diastolic number) อยู่ระหว่าง 80-89 mmHg หรือมากกว่านั้น ควรตรวจวัดความดันโลหิตทุกปี
  • หากเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  • หากเลขตัวบนสูงกว่า 140 mmHg หรือเลขตัวล่างสูงกว่า 90 mmHg ควรไปพบแพทย์ทันที
  • หากความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mm Hg แพทย์อาจตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อหาภาวะเบาหวานด้วย

การตรวจระดับคอเลสเตอรอล

การตรวจระดับคอเลสเตอรอล ควรเริ่มตรวจในช่วงอายุระหว่าง 20-45 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจไปอีก 5 ปี
  • หากมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นภายในช่วง 5 ปีหลังตรวจ ควรกลับมาตรวจคอเลสเตอรอล
  • ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาโรคไต หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลบ่อยกว่าข้างต้น

การตรวจเบาหวานสำหรับผู้หญิงอายุ 18–39 ปี

การตรวจเบาหวานเป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยในผู้หญิงอายุ 18-39 ปีที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจะคล้ายกับผู้มีความเสี่ยงทั่วไป ดังนี้

  • เด็กอายุ 10-18 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวาน เช่น น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือมารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีภาวะอ้วนมาก หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะอ้วนลงพุง หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร่วมด้วย
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mmHg
  • มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน โดยการคลำหาก้อนเนื้อที่เต้านม หรือดูลักษณะรูปร่างของเต้านม อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมไม่ได้ช่วยให้ตรวจค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้

ปกติแล้ว จะไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม หรือตรวจอัลตราซาวด์ในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากผู้เข้ารับการตรวจมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี

การตรวจภายใน และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี ควรเริ่มเข้ารับการตรวจภายใน และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

โดยวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่นิยมคือ การตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) การตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA

การตรวจผิวหนัง

แพทย์จะตรวจดูผิวหนังของคุณเพื่อดูว่ามีสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน มีญาติใกล้เคียงเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจสุขภาพช่องปาก

ควรไปพบทันตแพทย์ปีละ 1-2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาดช่องปากและฟัน

การตรวจตา

ในผู้ที่มีปัญหาด้านสายตา ควรตรวจสายตาทุก 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์

อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรเข้าตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

การตรวจคัดกรองอื่นๆ

รายการตรวจสุขภาพในแต่ละโรงพยาบาลอาจมีการตรวจคัดกรองอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น

  • ในผู้ที่เคยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือเป็นติ่งเนื้อเมือกมาก่อน หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ควรเข้ารับการตรวจกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่ควรตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกบ่อยๆ
  • ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งในเลือด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

การฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกัน

การฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันในผู้หญิงอายุ 18-39 ปี แพทย์จะดูว่า จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้น หรือจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมไหม เช่น

  • ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
  • ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
  • หากยังไม่เคยได้รับวัคซีน HPV หรือฉีดวัคซีนไม่ครบกำหนด ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
  • ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน ควรต้องเข้ารับวัคซีนอีสุกอีใส 2 โดส
  • แพทย์จะประเมินว่า คุณควรได้รับวัคซีนโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) อย่างน้อย 1 โดสหรือไม่
  • แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หากมีความเสี่ยงภาวะอื่นๆ เช่น โรคปอดบวม

การตรวจสุขภาพเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ ไม่ให้ลุกลาม หรือรุนแรงกว่าเดิมได้ รวมทั้งยังช่วยให้ตระหนักถึงการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้น้อยลง

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี*

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
รพ. ยันฮี
(อายุ 20 ปีขึ้นไป)
รพ. จุฬารัตน์ 9
(อายุ 15-30 ปี)
รพ. เพชรเวช
(อายุน้อยกว่า 30 ปี)
รพ. ธนบุรี 1
(อายุน้อยกว่า 30 ปี)
รพ. สุขุมวิท
(อายุ 21 ปีขึ้นไป)
รพ. พญาไท 2
(อายุ 25 ปีขึ้นไป)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์
ตรวจมวลกระดูก
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจหมู่เลือด (ABO)
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid)
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL)
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT)
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ
(Alk Phosphatase)
ตรวจปัสสาวะทั่วไป (Urine Analysis)
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
(Chest x-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA
ตรวจหัวใจและหลอดเลือด
ราคา 2,300 2,500 2,500 2,850 3,200 6,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 30-40 ปี*

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
มิตรไมตรีคลินิก
(Standard อายุ 35ปีขึ้นไป)
มิตรไมตรีคลินิก
(Executive อายุ 35ปีขึ้นไป)
รพ. นครธน
(Silver A อายุ 30-40 ปี)
รพ. นครธน
(Silver B อายุ 30-40 ปี)
รพ. ธนบุรี 1
(Advance Program อายุ 30-40 ปี)
รพ. จุฬารัตน์ 9
(อายุ 30-40 ปี)
รพ. ยันฮี
(อายุ 30-40 ปี)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์
ตรวจมวลกระดูก
ตรวจวัดระดับแคลเซียม
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจหมู่เลือด (ABO)
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
ตรวจการทำงานของไต (BUN)
ตรวจการทำงานของไต (eGFR)
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid)
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL)
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL)
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT)
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT)
ตรวจการทำงานของตับ
(Alk Phosphatase)
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
(Chest x-ray)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP)
ตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PV, Pap Smear)
ตรวจความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก (HPV Self-Collection Test)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs)
ราคา 1,299 1,550 4,200 4,200 4,400 4,500 5,100

*ราคาและรายการตรวจสุขภาพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนซื้อแพ็กเกจ

เช็ครายการตรวจสุขภาพแล้ว ต้องทำอะไรต่อ?

คลิก เพื่อดูโปรแกรมตรวจสุขภาพและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Health Tests Every Woman Needs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/womens-health-tests)
Important Medical Tests For Young Adults. WebMD. (https://www.webmd.com/women/guide/milestone-medical-tests-20-30)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม