เครื่องคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด

คำนวณระดับแอลกอฮอล์ในเลือดหลังจากดื่มสุรา พร้อมความผิดปกติที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันอันตรายจากการดื่มสุราเกินขนาด
เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เครื่องคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต จึงมีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกัน โดยส่วนมากมักมีปริมาณเฉลี่ยดังนี้

  • ไวน์คูลเลอร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 4-6%
  • เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 4-7%
  • ไวน์แดงหรือไวน์ขาว มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 10-15%
  • เหล้าวิสกี้ มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40-50%

ปริมาณแอลกอฮอล์อาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสูตรและกระบวนการผลิตของเครื่องดื่มแต่ละชื่อการค้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดแต่ละระดับส่งผลอย่างไร?

ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่มากขึ้น จะส่งผลเสียต่อความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อร่างกายและจิตใจที่มากขึ้นด้วย ฉะนั้นหลังจากคำนวณระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของคุณแล้ว สามารถดูระยะต่อไปหากดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นได้ ดังต่อไปนี้

  • น้อยกว่า 19mg% แอลกอฮอล์ในเลือดยังไม่สูงพอที่จะตรวจวัดถึงความเปลี่ยนแปลงในสมองหรือร่างกายได้
  • ระหว่าง 20-49mg% อารมณ์เปลี่ยนแปลง บางคนอาจสนุกสนาน ร่าเริง แต่การตัดสินใจจะเริ่มแย่ลง
  • ระหว่าง 50-79mg% เริ่มออกท่าออกทางมากกว่าที่เคย เริ่มเห็นภาพเบลอ แอลกอฮอล์ตั้งแต่ระดับนี้ขึ้นไป ห้ามขับรถ เพราะระดับแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด ความสามารถในการขับขี่ลดลงเฉลี่ย 8%
  • ระหว่าง 80-99mg% การตอบสนอง จะแย่ลง รวมถึงการจับภาพวัตถุและการหลบหลีกก็เช่นกัน ความสามารถในการขับขี่ลดลงเฉลี่ย 12%
  • ระหว่าง 100-149mg% เดินไม่ตรงทาง พูดจาอ้อแอ้ ตอบสนองเชื่องช้า การคิดและตัดสินใจก็เช่นกัน ความสามารถในการขับขี่ลดลงเฉลี่ย 15%
  • ระหว่าง 150-100mg% แอลกอฮอล์ในเลือดสูงมาก การควบคุมกล้ามเนื้อและการทรงตัวไม่ดี อาจเดินสะดุดข้าวของหรือหกล้ม บางรายเริ่มอาเจียน ความสามารถในการขับขี่ลดลงเฉลี่ย 33%
  • ระหว่าง 200-299mg% สับสน มึนงง การทรงตัวแย่มากจนต้องอาศัยคนช่วย ตัวรับความรู้สึกทำงานได้ไม่ดี อาจไม่รู้ตัวเมื่อบาดเจ็บ มีโอกาสเข้าสู่ภาวะ "ภาพตัด" เมื่อสร่างเมาแล้วจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย
  • ระหว่าง 300-399mg% อาจหมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ไม่ได้ อัตราการเต้นของหัวใจคุณอาจเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง หายใจผิดปกติ บางรายอั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มากกว่า 400mg% อาจทำให้สลบ เข้าขั้นโคม่า และถึงตายด้วยสาเหตุหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดทำงานอย่างกะทันหันได้

หลังจากดื่มแอลกอฮอล์จะเข้าสู่กระแสเลือดเมื่อไร?

หลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว แอลกอฮอล์จะเข้าสู่กระแสเลือดถึง 95% โดยดูดซึมจากกระเพาะและลำไส้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตรวจพบได้ภายใน 5 นาทีหลังจากดื่ม ระดับของแอลกอฮอล์จะสูงที่สุดหลังจากดื่มไปแล้วประมาณ 30-45 นาที แต่หากรับประทานอาหารก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้การดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้าลงได้


บทความที่เกี่ยวข้อง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, รู้ลึกเรื่องของแอลกอฮอล์, (https://www.thaihealth.or.th/Content/21470-รู้ลึกเรื่องของแอลกอฮอล์%20.html), 19 เมษายน 2553.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, แอลกอฮอล์กับความสัมพันธ์ในเลือด, (https://www.thaihealth.or.th/Content/21332-แอลกอฮอล์กับความสัมพันธ์ในเลือด.html), 15 กรกฎาคม 2553.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร, (https://www.thaihealth.or.th/Content/22097-ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร.html), 7 กุมภาพันธ์ 2551.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป