อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) เป็นเชื้อราประเภทยีสต์ที่พบได้ตามปกติในระบบทางเดินอาหารและช่องคลอด
  • หากโพรไบโอติกแบคทีเรียถูกกำจัดโดยยาปฏิชีวนะ หรือหากระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายอ่อนแอลง ยีสต์แคนดิดาจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไร้การควบคุม และทำให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ตามมาได้ เช่น ในช่องปาก ผิวหนัง ช่องคลอด ลำไส้ 
  • ภาวะเชื้อราในลำไส้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน เยื่อบุไซนัสบวม ซึมเศร้า ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ และอยากของหวาน
  • แพทย์แผนทางเลือกบางรายใช้ "อาหาร" เพื่อจำกัดการเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของยีสต์แคนดิดา ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล หลีกเลี่ยงอาหารที่มียีสต์ไม่ว่าชนิดใดก็ตามรวมถึงอาหารผ่านการหมักบ่ม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) เป็นเชื้อราประเภทยีสต์ที่พบได้ตามปกติในระบบทางเดินอาหารและช่องคลอด ระดับของแคนดิดาจะถูกควบคุมด้วยระบบภูมิคุ้มกันและโพรไบโอติกแบคทีเรีย (จุลชีพไม่ก่อโรคที่เป็นประโยชน์) ในร่างกาย 

หากโพรไบโอติกแบคทีเรียถูกกำจัดโดยยาปฏิชีวนะ หรือหากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ยีสต์แคนดิดาจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไร้การควบคุม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การติดเชื้อเฉพาะที่ เช่น เชื้อราในช่องปาก การติดเชื้อราที่ผิวหนัง และในช่องคลอด อาจเกิดขึ้นในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนประสิทธิภาพอย่างมาก เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือเอดส์ และอาจเกิดการติดเชื้อแคนดิดาชนิดแพร่กระจายได้ 

การติดเชื้อซึ่งเป็นภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรงคือ "การติดเชื้อแคนดิดาในกระแสเลือด (systemic candidiasis)"

ภาวะเชื้อราในลำไส้

แพทย์แผนทางเลือกบางท่านเชื่อว่า การเพิ่มจำนวนอย่างไร้การควบคุมของยีสต์ Candida albicans ในลำไส้ จะทำให้เกิดภาวะเชื้อราในลำไส้ (yeast syndrome) ขึ้น 

ภาวะเชื้อราในลำไส้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน เยื่อบุไซนัสบวม ซึมเศร้า ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ และอยากของหวาน 

ยีสต์แคนดิดาที่มากเกินไปในลำไส้อาจผ่านออกมาจากผนังลำไส้ ทำให้เกิดการดูดซึมสารที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมทั้งดูดซึมยีสต์เข้าสู่ร่างกาย เชื่อกันว่า เศษชิ้นส่วนของยีสต์ที่ถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด "ภาวะภูมิไวเกิน (allergic hypersensitivity)" ต่อแคนดิดา

Yeast syndrome เป็นที่รู้จักแพร่หลายโดยนายแพทย์วิลเลียม ครูก (William Crook) จากหนังสือ The yeast connection ของเขาใน ค.ศ. 1983 และยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก แพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่เชื่อว่า กลุ่มอาการนี้ถูกวินิจฉัยมากเกินไปจากผู้ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและไม่เห็นด้วยกับความเที่ยงตรงของการวินิจฉัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดภาวะเชื้อราในลำไส้

อาหารต้านแคนดิดา

แพทย์แผนทางเลือกบางรายใช้ "อาหาร" เพื่อจำกัดการเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของยีสต์แคนดิดา ดังเช่นที่นายแพทย์วิลเลียม ครูก แนะนำให้ผู้ที่มีการเจริญของยีสต์แคนดิดามากเกินไปรับประทานอาหารตามแนวทาง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงน้ำตาล ตามแนวคิดนายแพทย์ครูก น้ำตาลจะช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของยีสต์ จึงควรจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกที่เริ่มรับประทานอาหารนี้ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับต่อวันจะถูกจำกัดให้น้อยกว่า 60 กรัมต่อวัน ขึ้นกับอายุ สุขภาพ ระดับกิจกรรม และระดับของความไวต่ออาหาร เน้นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น เนื้อแดง เนื้อไก่ ไก่งวง ผักที่มีแป้งน้อย และถั่วเปลือกแข็ง (nuts) บางชนิดแทน เมื่ออาการดีขึ้นก็จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มียีสต์ไม่ว่าชนิดใดก็ตามรวมถึงอาหารผ่านการหมักบ่ม เช่น ขนมปังที่ใช้ยีสต์ เนยแข็ง ซอสมะเขือเทศเข้มข้น เห็ด และเบียร์ โดยถึงแม้นายแพทย์ครูกจะเชื่อว่า ผู้ที่มีการเจริญของยีสต์แคนดิดามากเกินไปอาจจะแพ้เชื้อราประเภทอื่นๆ ด้วย แต่ไม่ใช่แพทย์ทุกคนที่เห็นว่า การจำกัดควบคุมดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็น

ระยะเวลาที่ต้องรับประทานอาหารต้านแคนดิดาขึ้นกับระยะเวลาที่มีอาการและความรุนแรงของอาการ ทั้งนี้ระดับสุขภาพโดยทั่วไปก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับแพทย์ทางเลือกเมื่อจะวางแผนการรักษา 

ผู้ที่ตอบสนองต่อการรับประทานอาหารชนิดนี้มักรายงานว่า ใช้เวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ก่อนจะมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้นที่สังเกตได้ สำหรับหลายๆ คน อาจใช้เวลานานหลายเดือน เมื่ออาการดีขึ้นมากพอแพทย์จะแนะนำให้ค่อยๆ เริ่มอาหารที่เคยต้องจำกัดใหม่อีกครั้ง

สมุนไพรและอาหารเสริม

อีกองค์ประกอบสำคัญในแนวทางของนายแพทย์ครูกคือ การใช้สมุนไพรและอาหารเสริม หรือในบางกรณีก็จะเป็นการจ่ายยาเพื่อลดปริมาณของยีสต์แคนดิดาในร่างกาย 

แพทย์ทางเลือกมักแนะนำให้เริ่มสมุนไพรและอาหารเสริมด้วยปริมาณน้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้น มิเช่นนั้น อาจมีอาการแย่ลงชั่วคราว เรียกว่า "ปฏิกิริยา Herxheimer" หรือ "ภาวะที่ยีสต์ตาย" เกิดขึ้น 

เชื่อว่า ปฏิกิริยานี้เกิดจากเมื่อยีสต์แคนดิดาตายจะปล่อยเศษชิ้นส่วนโปรตีนและสารพิษที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายออกมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ของยีสต์แคนดิดานั้นพบได้บ่อย หรืออาหาร สมุนไพร อาหารเสริม จะสามารถช่วยลดภาวะนี้ได้ 

การศึกษาของเรามุ่งไปที่การใช้ยาปฏิชีวนะต่อเชื้อรา Nystatin ในคน 116 คน ที่คาดว่า มีภาวะการเจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้ของยีสต์แคนดิดา หลังจากการรักษาด้วยยา Nystatin เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า อาการดีขึ้นเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 

บางคนในกลุ่มทดลองยังหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารที่มียีสต์ และรายงานว่า อาการดีขึ้นมากกว่าด้วย

อีกการศึกษาหนึ่ง ประกอบไปด้วยผู้หญิง 42 คน กลับไม่พบว่า การใช้ Nystatin ทำให้อาการดีขึ้น การใช้การรักษาทางการแพทย์แผนทางเลือก หากคุณมีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับร่างกายก็ตาม การไปพบแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด 

แม้ว่า ความเจ็บป่วยบางอย่างสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการแพทย์ทางเลือก แต่โปรดจำไว้เสมอว่า การแพทย์แผนทางเลือกไม่สามารถใช้แทนการรักษาตามแนวทางมาตรฐานได้ในทุกกรณี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป