กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คีโตไดเอท (Keto Diet) คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง?

การรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอท คืออะไร สามารถลดน้ำหนักและไขมันได้จริงหรือไม่ ใครบ้างที่สามารถรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอทได้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คีโตไดเอท (Keto Diet) คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คีโตไดเอทคือ การรับประทานอาหารที่มีไขมันคุณภาพดีสูง โปรตีน แต่จะรับประทานคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในปริมาณต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • คีโตไดเอทจะทำให้เกิดภาวะคีโตซิสขึ้นคือ ร่างกายจะไปดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทนพลังงานจากน้ำตาลกลูโคส ทำให้ตับผลิตสารคีโตนขึ้นมานำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกายด้วย
  • อาหารที่สามารถรับประทานในคีโตไดเอทได้ ได้แก่ ไขมันดีจากพืชและสัตว์ ผักใบเขียว นม และพืชตระกูลถั่ว 
  • ผลที่ได้จากการทำคีโตไดเอทคือ น้ำหนักและไขมันส่วนเกินลดลงเพราะไขมันที่สะสมไว้ถูกนำไปเผาผลาญ แต่อาจมีข้อเสียเรื่องระบบขับถ่ายและการขาดสารอาหารในระยะยาว 
  • คีโตไดเอทเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ และไม่ต้องทำงานที่ใช้พลังงานมาก (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ความต้องการมีรูปร่างที่สวยงาม ดูดี ไม่อ้วน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ปรารถนามาโดยตลอด นั่นจึงทำให้มีการคิดหาวิธีลดน้ำหนักใหม่ๆ อยู่เสมอ หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมคือ "การรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอท" หรือ "คีโต"

รู้จักคีโตไดเอท

ในระยะแรกของการรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอท หรือคีโตเจนิคไดเอท เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1920 โดยเกิดจากการจำลองภาวะอดอาหาร มีจุดประสงค์เพื่อรักษาโรคลมชักในเด็กอย่างรุนแรง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรับประทานอาหารแบบคีโตจะทำให้เกิด "ภาวะคีโตซิส" หรือ ภาวะที่ร่างกายไม่มีพลังงานจากน้ำตาลกลูโคส จนต้องไปดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน นั่นทำให้ตับผลิตสารคีโตนขึ้นมา ซึ่งก็จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกายด้วยเช่นกัน

ภาพรวมของการรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอทคือ การรับประทานอาหารที่มีไขมันคุณภาพดีสูง ตามด้วยโปรตีน โดยจะต้องตัดคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณต่ำสุด บางคนอาจจะจำกัดคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลไว้เพียง 15-20 กรัมต่อวัน 

อาหารที่คีโตไดเอทสามารถรับประทานได้ 

  • ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด
  • ไขมันจากสัตว์ เช่น เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูปที่ไม่ผสมแป้ง ไข่ อาหารทะเล
  • ผักใบเขียว สามารถรับประทานผักใบเขียวได้ทุกชนิด แต่ควรหลีกเลี่ยงพืชหัวที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตเยอะ เช่น เผือก มัน 
  • นม ต้องเป็นนมพร่องมันเนยที่มีไขมันต่ำ หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม ครีมชีส ชีส (มาการีนไม่สามารถรับประทานได้)
  • พืชตระกูลถั่ว ควรรับประทานเฉพาะถั่วเมล็ดเดี่ยว เช่น วอลนัท แมคคาเดเมีย อัลมอนด์

อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงระหว่างที่ทำคีโตไดเอท 

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้บางชนิด ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่มผสมน้ำตาลต่างๆ รวมถึงอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมของแป้ง เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น 

ผลที่ได้รับจากคีโตไดเอท

การลดน้ำหนักแบบคีโตไดเอท เป็นการลดคาร์โบไฮเดรตเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกินโดยนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ผลลัพธ์ที่ได้จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่อาจส่งผลกระทบระยะยาว

ข้อดี: ทำให้น้ำหนักและไขมันส่วนเกินลดลง เพราะไขมันที่สะสมไว้ถูกนำไปเผาผลาญ ขณะเดียวกันร่างกายก็รับพลังงานเข้ามาน้อยลงด้วย สามารถรักษาระดับมวลกล้ามเนื้อไว้ได้ หรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในระดับที่น้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อเสีย: พฤติกรรมการรับประทานแบบคีโตไดเอทอาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลและมีปัญหาในภายหลัง เพราะเราไม่สามารถรับประทานแบบนี้ได้ตลอดชีวิต เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้ 

  • ระยะแรก ระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายอาจผิดปกติเพราะร่างกายได้รับกากใยอาหารน้อยเกินไป 
  • ระยะยาว อาจเป็นโรคขาดสารอาหารได้ รวมถึงอาจทำให้อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่ครบหมู่ตามหลักโภชนาการ

คีโตไดเอทเหมาะและไม่เหมาะกับใคร

การลดน้ำหนักด้วยวิธีการคีโตไดเอทเหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ  และไม่ต้องทำงานที่ใช้พลังงานมาก เนื่องจากในระยะแรกอาจทำให้เกิดการอ่อนเพลีย รวมถึงเกิดภาวะบางอย่างขึ้นจากการปรับตัวของร่างกาย

ใครที่ไม่สามารถทำคีโตไดเอทได้ 

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือบุคคลในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับตับและไตมาก่อน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะอาจจะต้องปรับเรื่องยาเบาหวานที่กำลังรับประทานอยู่
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด กรดไหลย้อน ลำไส้บีบตัวไม่ดี
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ
  • ผู้ที่ต้องทำงานหนักและออกแรงเป็นประจำ

แม้คีโตไดเอทจะมีประโยชน์แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้นหากต้องการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย ไม่มีข้อกังวลใดๆ แนะนำให้เริ่มจากปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ไม่รับประทานจุบจิบ อย่าอดมื้อเช้า หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน รับประทานผักและผลไม้สดให้มาก 

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เข้านอนไม่ดึกมาก พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Baker, Ketogenic Diet คืออะไร ทานแบบไหนให้ผอม? (https://www.dancingwithabaker.com/ketogenic-diet-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/)
Bailey E, Pfeifer H, Thiele A, The use of diet in the treatment of epilepsy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15652725), February 2005
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร, Ketogenic Diet “คีโตเจนิค” กินไขมันเพื่อลดไขมัน!! (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b9%82%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%84/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน
โยเกิร์ตชนิดไหนดีที่สุดสำหรับโรคเบาหวาน

โยเกิร์ตแบบกรีก : โภชนาการและประโยชน์ในโรคเบาหวาน

อ่านเพิ่ม
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผลไม้ 5 ชนิดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

แนะนำผลไม้ 5 ชนิดที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถรับประทานปริมาณมาก นำไปประยุกต์ทำอาหารได้หลากหลาย

อ่านเพิ่ม