โรคเกาต์คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคเกาต์คืออะไร?

เกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีกรดยูริกสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมักจะพบที่เท้า หากคุณเป็นโรคนี้ คุณอาจจะมีอาการเท้าบวมและปวดที่ข้อภายในเท้าโดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง และอาจจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงขึ้นมาอย่างฉับพลันได้

อาการและระยะของโรค

โรคเกาต์นั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ระยะมีกรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการ (asymptomatic hyperuricemia)
  • โรคเกาต์ฉับพลัน (acute gout)
  • Interval gout
  • โรคเกาต์เรื้อรัง (chronic tophaceous gout)

แต่ละระยะจะมีอาการและการรักษาที่แตกต่างกันออกไป 

ระยะมีกรดยูริกในเลือดสูงแต่ไม่มีอาการ (asymptomatic hyperuricemia)

เป็นภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงแต่ไม่มีอาการ

โรคเกาต์ฉับพลัน (acute gout)

โรคเกาต์ฉับพลันเกิดเมื่อกรดยูริกที่สูงในเลือดนั้นทำให้เกิดผลึกภายในข้อ และทำให้เกิดอาการปวดและบวมอย่างรุนแรง ข้อของคุณอาจจะรู้สึกอุ่นได้ อาการนั้นมักเกิดขึ้นทันทีและอยู่นาน 3-10 วัน คุณอาจจะเกิดภาวะนี้ซ้ำหลายๆ ครั้งได้ในช่วงเวลาหลายเดือนหรือหลายปี

Interval gout

เป็นระยะเวลาระหว่างการเป็นเกาต์ฉับพลันในแต่ละครั้ง คุณมักจะไม่มีอาการในระยะนี้

โรคเกาต์เรื้อรัง (chronic tophaceous gout)

โรคเกาต์เรื้อรังนั้นสามารถเกิดได้หากคุณไม่ได้รับการรักษานานกว่า 10 ปี ในระยะนี้จะมีตุ่มนูนแข็งเกิดขึ้นตามข้อต่อและผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเช่นหูเป็ฯต้น และทำให้เกิดการทำลายข้ออย่างถาวร

สาเหตุ

โรคเกาต์นั้นเป็นโรคที่ซับซ้อนและมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ภาวะบางอย่างเช่นความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดและระบบการเผาผลาญในร่างกายอาจทำให้ร่างกายนั้นสร้างกรดยูริกขึ้นมามากขึ้นได้ และการดื่มแอลกอฮอล์นั้นก็สามารถทำให้มีกรดยูริกส่วนเกินเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาหารบางชนิดอาจจะทำให้เกิดโรคเกาต์ได้เวลาที่รับประทานมากเกินไป เช่น

  • หอย
  • เนื้อสีแดง
  • เครื่องใน
  • น้ำผลไม้ที่หวาน
  • เกลือ

นอกจากนั้นคุณยังเป็นโรคเกาต์ได้จากการที่ร่างกายนั้นกำจัดกรดยูริกได้ไม่เพียงพอ เวลาที่คุณขาดน้ำหรือขาดอาหาร ร่างกายจะขับกรดยูริกได้ยากขึ้น และทำให้กรดยูริกสะสมอยู่ตามข้อ

โรคบางโรคเช่นโรคไตหรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์นั้นสามารถส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการกำจัดกรดยูริกได้ ยาบางชนิดก็เช่นเดียวกัน เช่นยาขับปัสสาวะ ขากดภูมิคุ้มกัน ยาฆ่าเชื้อราเช่น cyclosporine เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคเกาต์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ประกอบด้วย

  • อายุ ผู้ชายอายุระหว่าง 40-50 ปีและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีความแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น
  • เพศ ผู้ชายมักจะมีแนวโน้มที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง
  • ประวัติครอบครัว หากมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคเกาต์ คุณอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน
  • อาหารที่รับประทาน การรับประทานอาหารที่มี purine สูงนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเกาต์ เช่นเนื้อแดง เครื่องใน และปลาบางชนิด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มมากกว่า 2 แก้วต่อวันจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ยา ยาบางชนิดเช่นยาขับปัสสาวะและ cyclosporine จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเกาต์ได้
  • โรคอื่นๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ โรคหยุดหายใจขณะหลับ และโรคเบาหวานสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ได้ทั้งสิ้น

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาการที่คุณเป็น เช่นลักษณะของอาการปวด ความถี่ในการปวด และช้อนั้นบวมหรือแดงอย่างไร

นอกจากนั้นยังอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยการเก็บตัวอย่างสารน้ำจากในข้อมาตรวจเพื่อดูว่ามีกรดยูริกหรือไม่ และอาจจะมีการตรวจเอกซเรย์ข้อดังกล่าว

การรักษา

หากคุณมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเกิดโรคเกาต์เรื้อรัง อาจจะต้องไปพบกับแพทย์เฉพาะทางเรื่องข้อ แพทย์จะวางแผนการรักษาตามระยะของโรคและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยอาจจะสั่งยาต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Colchicine เพื่อลดอาการปวดในข้อ
  • ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ibuprofen หรือ naproxen เพื่อลดการอักเสบและอาการปวดในข้อ
  • Corticosteroid เช่น prednisone เพื่อลดการอักเสบและอาการปวดในข้อ
  • ยาเพื่อลดการสร้างกดยูริกในร่างกายเช่น allopurinol
  • ยาเพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกได้ดีขึ้นเช่น probenecid

แพทย์มักจะแนะนำให้เปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อลดอาการและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์ฉับพลันครั้งถัดไปร่วมกับการใช้ยา เช่น

  • เปลี่ยนอาหารที่รับประทาน
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดน้ำหนัก
  • เลิกบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเกาต์

หากไม่ได้รับการรักษา โรคเกาต์จะทำให้เกิดตุ่มนูนขึ้นที่บริเวณใกล้กับข้อที่อักเสบได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นภาวะที่ข้อนั้นถูกทำลายอย่างถาวรและข้อบวม

การป้องกันโรคเกาต์

คุณสามารถป้องกันโรคเกาต์ได้หลายวิธี เช่น

  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม
  • จำกัดปริมาณอาหารที่มี purine สูงเช่นหอย เนื้อแกะ  เนื้อวัว เนื้อหมู และเครื่องใน
  • ทานอาหารที่มีไขมันต่ำและไม่มีผลิตภัณฑ์จากนม แต่มีผักเยอะ
  • ลดน้ำหนัก
  • เลิกบุหรี่
  • ออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากคุณมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูว่าจะลดความเสี่ยงได้อย่างไร

26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gout. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/gout/)
Gout: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/144827)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)
10 ข้อที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์เทียม (Pseudogout)

โรคเกาต์เทียมแตกต่างจากโรคเกาต์อย่างไร เกิดจากสาเหตุเดียวกันใช่หรือไม่

อ่านเพิ่ม
โรคเกาต์เกิดขึ้นได้อย่างไร อาหารอะไรที่ควรงด
โรคเกาต์เกิดขึ้นได้อย่างไร อาหารอะไรที่ควรงด

รู้จักโรคที่มาพร้อมกับความเจ็บปวดและการอักเสบตามข้อ เพียงปรับพฤติกรรมการรับประทานและการใช้ชีวิตก็ห่างไกลจากโรคนี้ได้

อ่านเพิ่ม