กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

ถั่งเช่า (Cordyceps)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

ถั่งเช่า (Cordyceps) คือ ยาสมุนไพร  ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหนอนของผีเสื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus armoricanus Oberthiir และเห็ดชนิดหนึ่งที่อยู่บนตัวหนอนของผีเสื้อมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. 

ในฤดูหนาวหนอนชนิดนี้จะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินของภูเขาหิมะ  เมื่อน้ำแข็งละลายลมจะพัดพาสปอร์ของเห็ด Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. ไปตกที่พื้นดิน ในช่วงนั้นตัวหนอนจะตื่นจากการจำศีลแล้วจะกินสปอร์ของเห็ดที่ว่านี้เข้าไป  เมื่อถึงฤดูร้อนสปอร์ของเห็ดก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใยโดยอาศัยการดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนนั้น  ด้วยความที่เห็ดต้องการแสงอาทิตย์มันจึงงอกขึ้นสู่พื้นดิน  เห็ดมีลักษณะภายนอกคล้ายไม้กระบอก ส่วนตัวหนอนเองก็จะค่อยๆ ตายไป ฉะนั้น “ถั่งเช่า” ที่ใช้ทำเป็นยาก็คือตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถั่งเช่าตามธรรมชาติเป็นของหายากและมีราคาแพงจึงมีการนำถั่งเช่ามาใช้ในอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งกระบวนการผลิตถั่งเช่ามักผลิตกันในห้องปฏิบัติการ ผู้คนนิยมรับประทานถั่งเช่าเพื่อรักษาภาวะผิดปกติของไตและกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ อีกทั้งยังใช้ในกระบวนการปลูกถ่ายไต และภาวะอื่นๆ มาก แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานมารับรองสรรพคุณเหล่านี้

สรรพคุณของถั่งเช่า

ถั่งเช่าช่วยเพิ่มภูมิต้านทานด้วยการเข้ากระตุ้นเซลล์และสารเคมีต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ และกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ

วิธีใช้และประสิทธิภาพของถั่งเช่า

ภาวะที่ถั่งเช่าอาจไม่สามารถรักษาได้

  • ศักยภาพของนักกีฬา การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ถั่งเช่า หรือยาบำรุงที่มีส่วนประกอบของถั่งเช่าไม่สามารถเพิ่มความทนทานของนักกีฬาปั่นจักรยานชายได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่า ใช้ถั่งเช่ารักษาได้หรือไม่

  • ความเสียหายที่ไตที่เกิดจากการใช้ยาอะมิกาซิน (Amikracinงานวิจัยพบว่า การใช้ถั่งเช่าร่วมกับยาอะมิกาซินอาจลดความเสียหายของไตที่เกิดจากการใช้ยาประเภทนี้ในผู้สูงอายุได้ มีรายงานว่า การให้ผู้ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่องจากการใช้ยาเจนตามัยซิน (Gentamicin) รับประทานถั่งเช่า 4.5 กรัมต่อวัน มีผลทำให้ระบบการทำงานของไตดีขึ้นเป็นปกติถึง 89 % เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมหลังจากรับประทานถั่งเช่าภายใน 6 วัน

  • หอบหืด (Asthmaงานวิจัยกล่าวว่า ถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น Interlukin-1beta (IL-1beta) Interlukin-6 (IL-6)  Interleukin-8 (IL-8)  Interleukin-10 (IL-10) และ Tumor Necrosis Factor-alpha (TNF-alpha) ได้ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น การรับประทานถั่งเช่าเพียงอย่างเดียวสามารถลดอาการหอบหืดของผู้ใหญ่ลงได้  อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นอื่นๆ กล่าวว่า การรับประทานถั่งเช่าร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ นาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยลดความจำเป็นของการใช้ยารักษา หรือบรรเทาอาการหอบหืดในเด็กลงแต่อย่างใด

  • เคมีบำบัด (Chemotherapyมีหลักฐานที่กล่าวว่า การรับประทานถั่งเช่าระหว่าง หรือหลังจากการทำเคมีบำบัดอาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและความทนทานต่อการรักษาของผู้ป่วยได้

  • โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease (CKD)) เมื่อให้ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังรับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3-5 กรัมต่อวัน พบว่า การทำงานของไตมีประสิทธิภาพดีขึ้น และพบว่าหลังจากให้ผู้ป่วยรับประทานถั่งเช่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากภาวะไตวาย ได้แก่ ลดความดันโลหิต ลดระดับโปรตีนในปัสสาวะ ลดการเกิดภาวะโลหิตจาง และช่วยเพิ่มเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase (SOD)) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้
  • ความเสียหายที่ไตที่เกิดจากสารทึบรึงสี (สารที่ทำให้เกิดภาวะไตอักเสบ (Nephropathy)) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานถั่งเช่าในขณะที่เข้ารับการทดสอบด้วยสารทึบรังสี (Contrast Dye) จะลดโอกาสเกิดความเสียหายที่ไตที่เกิดจากการใช้สารประเภทนี้ได้ แต่บางงานวิจัยก็บอกว่าไม่พบประโยชน์ในเรื่องนี้

  • ความเสียหายที่ไตที่เกิดจากการใช้ยาไซโคลสปอรีน (Cyclosporine) งานวิจัยพบว่า การใช้ถั่งเช่าร่วมกับยาไซโคลสปอรีนอาจลดความเสียหายของไตที่เกิดจากการใช้ยาไซโคลสปอรีน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไตได้

  • โรคตับอักเสบ B (Hepatitis Bมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การรับประทานถั่งเช่าอาจช่วยเพิ่มการทำงานของตับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B ได้

  • ความต้องการทางเพศ งานวิจัยพบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์บำรุงจากถั่งเช่าสามารถช่วยทำให้ความต้องการทางเพศสูงขึ้นถึง 66 % ช่วยเพิ่มจำนวนของสเปิร์มในอสุจิได้ 33 % และมีผลในการลดปริมาณของสเปิร์มที่ผิดปกติลง 29 %

  • ปลูกถ่ายไต งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานถั่งเช่าร่วมกับยาไซโคลสปอรีนปริมาณน้อย สามารถเพิ่มระยะเวลาการรอดชีวิตหลังปลูกถ่ายไตได้ 1 ปี ป้องกันการปฏิเสธไตใหม่ และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อคล้ายกับการรับประทานยาไซโคลสปอรีนโดสตามปกติ  อีกทั้งยังอาจสามารถเพิ่มการรอดของไตใหม่ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการปฏิเสธไต ซึ่งคล้ายกับการรับประทาน อะซาไทโอพรีน (Azathioprine) และป้องกันการปฏิเสธอวัยวะอีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานถั่งเช่ายังสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะโครนิกอัลโลกราฟต์เนโฟรพาที (Chronic Allograft Nephropathy) ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของไตในระยะยาว ที่อาจส่งผลต่อเนื่องไปยังการล้มของไตใหม่ได้

  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีการทดลองให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3 กรัมต่อวัน พบว่า สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ถึง 95 % ในขณะที่กลุ่มที่รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง 54 %

  • บำรุงโลหิต สารที่อยู่ในถั่งเช่าช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบโลหิต ทำให้ร่างกายสร้างไขกระดูกมากขึ้น ซึ่งทำให้ร่างกายสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นในปริมาณที่เพียงพอ

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของการใช้ถั่งเช่า

ถั่งเช่าถูกจัดว่า อาจจะปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมาก เมื่อต้องรับประทานในระยะสั้น

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษในการใช้ถั่งเช่า

  • หญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร  ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ถั่งเช่าในกลุ่มหญิงมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่งเช่าเพื่อความปลอดภัย
  • ผู้เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Multiple Sclerosis (MS) โรคพุ่มพวง (Lupus (Systemic Lupus Erythematosus, SLE)) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA) ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่งเช่า เพราะอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากขึ้น และจะทำให้มีบอาการจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมากขึ้น
  • ผู้มีภาวะผิดปกติของการเลือดออก ถั่งเช่ามีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกไม่หยุด ในผู้ที่มีปัญหานี้ได้
  • ผู้กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ถั่งเช่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกไม่หยุดระหว่างผ่าตัดได้  ดังนั้นควรงดรับประทานถั่งเช่าก่อนเข้ารับการผ่าตัด 2 สัปดาห์

การใช้ถั่งเช่าร่วมกับยาชนิดอื่นอย่างปลอดภัย

  • Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) กับถั่งเช่า

การใช้ Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar)  เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  ส่วนถั่งเช่าจะเพิ่มการทำงานของระบบดังกล่าวขึ้น  ดังนั้นการรับประทานถั่งเช่าร่วมกับ Cyclophosphamide (Cytoxan, Neosar) จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) กับถั่งเช่า

ถั่งเช่าอาจเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งจะเข้าไปลดประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มกันได้ โดยตัวอย่างยากดภูมิคุ้มกันมีดังนี้ Azathioprine (Imuran)   Basiliximab (Simulect)  Cyclosporine (Neoral, Sandimmune)  Daclizumab (Zenapax)   Muromonab-CD3  (OKT3, Orthoclone OKT3)   Mycophenolate (CellCept)  Tacrolimus (FK506, Prograf) Sirolimus (Rapamune)  Prednisone (Deltasone, Orasone)  Corticosteroids (Glucocorticoids)

การใช้ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ถั่งเช่าอาจลดประสิทธิภาพของยาเพรดนิโซโลนลงได้

ปริมาณที่ใช้

ขนาดบริโภคถั่งเช่าของผู้ใหญ่ (อายุมากกว่า 18 ปี) ในแต่ละวัน ประมาณ 3-9 กรัม ใช้วิธีชงกับน้ำร้อน หรือประกอบอาหาร เนื่องจากขนาดบริโภคที่มากเกินไปอาจจะก่อเกิดผลเสียได้  ทั้งนี้ขนาดยาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น อายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่นๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของถั่งเช่า 

ดังนั้นควรพึงตระหนักว่า แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง ดังนั้นพยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร  แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ยาสมุนไพรชนิดนี้จะดีที่สุด


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Das, Shonkor & Masuda, Mina & Sakurai, Akihiko & Sakakibara, Mikio. (2010). Medicinal uses of the mushroom Cordyceps militaris: Current state and prospects. Fitoterapia. 81. 961-8. 10.1016/j.fitote.2010.07.010. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/45281383_Medicinal_uses_of_the_mushroom_Cordyceps_militaris_Current_state_and_prospects)
Shrestha, Bhushan & Zhang, Weimin & Zhang, Yong-Jie & Liu, Xingzhong. (2012). The medicinal fungus Cordyceps militaris: Research and development. Mycological Progress. 11. 10.1007/s11557-012-0825-y. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/225183735_The_medicinal_fungus_Cordyceps_militaris_Research_and_development)
Kuo, Hsiao-Che & Huang, I-Ching & Chen, Tzong-Yueh. (2015). Cordyceps s.l. species used as medicinal mushrooms are closely related with higher ability to produce cordycepin. International Journal of Medicinal Mushrooms. 17. 1077-1085. 10.1615/IntJMedMushrooms.v17.i11.80. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/277009377_Cordyceps_sl_species_used_as_medicinal_mushrooms_are_closely_related_with_higher_ability_to_produce_cordycepin)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)