ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ความหมาย เป็นข้ออักเสบที่มีความรุนแรงมากกว่าโรคข้ออักเสบชนิดอื่นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของข้อ มักเกิดในช่วงอายุ 25 – 50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย = 3 : 1 ข้อที่พบบ่อย คือ ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อนิ้วเท้า

สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่นอน แต่มีสมมติฐานว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันหรือกลไกทางระบบอิมมูน อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือจากพันธุกรรม เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งเกิดกับข้อที่มีเยื่อบุ นอกจากนี้อาจเกิดจากภาวะเครียด สารพิษ สารเคมี สิง้แวดล้อมเป็นพิษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ แอนติเจนจะก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีการรวมตัวกันของแอนติบอดีในร่างกาย และเกิดเป็นอินมูนคอมเพล็กช์ เม็ดเลือดขาวจะถูกกระตุ้นให้มารวมกันและจับคอม-เพล็กช์นี้ เม็ดเลือดขาวจะปล่อยเอนไซม์ไลโซโซมออกมาทำลายเนื้อเยื่อซินโนเวียลและกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อขึ้น ต่อจากนั้นเม็ดเลือดขาวจะเข้ามาขจัดสิ่งที่ถูกทำลายซึ่งอยู่ภายในข้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง มีการหนาตัวของเยื่อซินโน-เวียลเกิดเป็นก้อน เรียก แพนนัส (Pannus) แผ่ปกคลุมกระดูกอ่อนผิวข้อและทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อเป็นรอยแหว่ง เกิดเยื่อพังผืดมากมายในข้อทำให้ข้อเคลื่อนไหวน้อยลงเกิดข้อติดแข็งแบบพังผืด และหากมีหินปูนมาจับจะกลายเป็นข้อติดแข็งแบบกระดูกในระยะเรื้อรังที่เยื่อหุ้มข้อ เอ็นถูกทำลายจนเปื่อยและฉีกขาด กล้ามเนื้อรอบข้อลีบอ่อนแรง ทำให้ข้อผิดรูปและไม่มีความมั่นคง เกิดข้อเคลื่อนบางส่วนหรือข้อหลุดได้

อาการ ปวดตึงตามกล้ามเนื้อโดยเฉพาะตอนเช้า มีอาการอ่อนเพลีย โลหิตจาง อาจมีไข้ต่ำๆ ต่อมามีข้อบวม อาจพบข้อนิ้วมือผิดรูป (Rheumatoid nodules) อาจเกิดหลอดเลือดที่ตาอักเสบ หลอดเลือดอุดตันง่าย ทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณปลายนิ้ว และเป็นแผล มีอาการชา ตาขาวอักเสบ (Keratoconjunctivitis) มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ม้ามโต มี Felter’s syndrome (ซึ่งเป็นอาการร่วมของโรคข้อรูมาตอยด์ มีม้ามโต เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ) มีเลือดจางและเกล็ดเลือดต่ำ มี Still’s disease (เป็นโรครูมาตอยด์ในเด็กหรือในผู้ใหญ่ ซึ่งเริ่มจากมีไข้ไม่ทรายสาเหตุ มีไข้สูงเป็นช่วงๆ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้น เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต และปวดท้อง) ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง

ภายในข้อ และเกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อจนทำให้ข้อผิดรูป และเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ ปวดและฝืดตึงข้อโดยเฉพาะในช่วงตื่นนอนตอนเช้าและมีอาการปวดนานเกิน 1 ชั่วโมง มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อที่อักเสบจะมีลักษณะผิดรูป เหยียดหรืองอไม้ได้เต็มที่ มีก้อนใต้ผิวหนัง ซึ่งพบบริเวณปุ่มกระดูก เช่น ข้อศอก เป็นต้น ตาแห้ง กระจกตาอักเสบ (Keratitis) เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleuritis) มีภาวะเลือดจางมีกลุ่มอาการม้ามโต WBC ต่ำ มีแผลเรื้อรังหรือมีจุดสีเข้มที่ขา (Felty’s syndrome) กล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) เส้นประสาทถูกบีบรัดจากเยื่อหุ้มข้อหรือเอ็นที่บวมโตจากการอักเสบทำให้มีอาการชาและเกิดขึ้นที่ปลายมือปลายเท้า และปากแห้ง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

การวินิจฉัยโรค มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรครูมาตอยด์ หรือมีประวัติปวดข้อ มีการเคลื่อนไหวข้อผิดปกติ มีไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีการเคลื่อนไหวข้อลำบาก ในระยะแรกอาจตรวจไม่พบอาการชัดเจน ต่อมาเมื่อเป็นมากอาจพบข้อนิ้วมือเท้าบวมเหมือนรูปกระสวย ตรวจโดยวิธี Latex agglutination พบ Rheumatoid factor ตรวจหา IgM พบ Rheumatoid factor ได้ผลบวก ตรวจเลือดจะพบค่า Erythrocyte sedimentation rate (ESR) สูง Hemoglobin (Hb) ต่ำ น้ำหล่อเลี้ยงข้อ (Synovial fluid) ขุ่น มีเม็ดเลือดขาว (WBC) ชนิด Neutrophil ต่ำ และเอกซเรย์ข้อจะพบมีการสึกกร่อนของกระดูกและความผิดปกติของข้อ อาจเจาะน้ำไขข้อไปตรวจ ตรวจ Magnetic resonance image (MRI), Angiogram, Bone scan, และ Computed tomography scan (CT scan)

การรักษา ให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Aspirin, Celecoxib เป็นต้น ในรายที่เป็นรุนแรงควรรักษาให้โรคสงบด้วย Gold salts, Chloroquine, D-Penicillamine อาจใช้ยากดอิมมูน (Immunosuppressive drugs) เช่น Cyclophosphamide, Azathioprine, 6-mercaptopurine เป็นต้น อาจทำ Plasmapheresis ทำกายภาพบำบัด ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อและลดการตึงของข้อโดยใช้น้ำร้อนประคบ แช่หรืออาบน้ำอุ่นหรือพาราฟิน ตอนเช้านาน 15 นาที ออกกำลังกายโดยขยับข้อต่างๆ อย่างช้าๆ ทุกวัน ควบคุมน้ำหนัก พักเมื่อมีอาการอ่อนเพลีย อาจต้องทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเพื่อแก้ไขความพิการของข้อ และช่วยให้ข้อทำหน้าที่ได้ดีขึ้น เช่น การผ่าตัดในกลุ่มอาการ Synovial carpal tunnel ที่เป็นมากและกดประสาททำให้เจ็บปวด การเลาะเยื่อบุข้อที่หนาตัวออก (Synovectomy) เพื่อลดอาการปวดข้อและไม่ให้ลุกลามต่อไป เป็นต้น

การพยาบาล ควบคุมอาการปวดข้อทั้งในระยะรุนแรงและระยะปกติเพื่อให้เกิดความสุขสบายและไม่เกิดความพิการของข้อมากขึ้น ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนในท่าที่เหมาะสม คือ หลีกเลี่ยงการหนุนหมอนและการใช้หมอนรองใต้เข่าเพราะจะทำให้ข้องอผิดปกติเกิดความพิการมากขึ้น และมีกิจกรรมที่เหมาะสมจากการไม่ได้ใช้ข้อและมีการพักข้อ เช่น การหมุนข้อ (Range of motion; ROM) เพื่อไม้ให้เกิดความพิการของข้อ ข้อไม่ติดแข็ง โดยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยทำ Isometric exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อโดยนั่งในท่าที่สบายใช้ที่รองขาจะช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวเต็มที่ อาจใช้การเดินช้าๆ การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน การเต้นรำ ส่งเสริมการทำหน้าที่และสามารถเข้ากับสังคมได้ ดูแลให้รับประทานยารักษาโรครูมาตอยด์และป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียงของยา หาวิธีคลายเครียดให้ผู้ป่วย

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
14. ข้ออักเสบรูมาตอยด์  (Rheumatoid arthritis)
14. ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
บทความต่อไป
โรควัณโรคกระดูกสันหลัง (Spinal tuberculosis)
โรควัณโรคกระดูกสันหลัง (Spinal tuberculosis)
ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)