ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure; CRF)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เป็นภาวะที่ไตลดการทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ และไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ เนื่องจากไตถูกทำลายอย่างถาวร อาจใช้เวลานานหลายปี ระยะสุดท้ายของไตวายเรื้อรังเรียกว่า End-stage renal disease (ESRD)

สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติที่ไต เช่น มีอาการอักเสบที่ไต จากโรคต่างๆ เช่น SLE, Scleroderma, Polyarteritis nodosa เบาหวาน Hypertension นิ่วในไต และอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากมีการอุดตันในหลอดปัสสาวะ (Urethral Obstruction)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พยาธิสรีรภาพ เมื่อหน่วยไต (Nephron) ถูกทำลายจะทำให้ความสามารถในการขจัดของเสียออกจากเลือดลดลง หรืออัตราการกรองของหน่วยกรองปัสสาวะ (Glomerular filtration rate; GFR) ลดลง ปกติ GFR = 125 มิลลิลิตร/นาที ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะมี GFR เป็นร้อยละ 35-50 ของปกติ หากผู้ป่วยมี GFR < 10-20 มิลลิลิตร/นาที หรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ซึ่งหมายถึงหน่วยไตสูญเสียการทำหน้าที่ไปมากกว่าร้อยละ 85 หรือเรียกว่า ไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีการคั่งของของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนทำให้ Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูงขึ้น เรียกว่า ภาวะยูรีเมีย (Uremia) ไตวายเรื้อรัง แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

1) ระยะไตทำงานลดลง (Reduced renal reserve หรือ Renal impairment) GFR = 35-50% ของปกติ แต่ BUN และ Cr ในเลือดปกติ ผู้ป่วยไม่มีอาการของไตวาย

2) ระยะไตเสียหน้าที่ (Renal insufficiency) GFR = 20-35% ของปกติ BUN และ Cr ในเลือดเริ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยยังไม่มีอาการของไตวายหรือไม่มีอาการของยูรีเมีย แต่มีภาวะ Azotemia ซึ่งมีอาการซีดเล็กน้อย ปัสสาวะออกมากและปัสสาวะเวลากลางคืนบ่อยขึ้น และจะมีอาการเพิ่มขึ้นหากมีการติดเชื้อ

3) ระยะไตวาย (Renal failure) GFR = 20-25% ของปกติ BUN และ Cr ในเลือดสูงขึ้น มีภาวะซีดรุนแรง มีโป-แตสเซียมในเลือดสูง มีอาการของยูรีเมีย ติดเชื้อง่าย และมีความดันเลือดสูง

4) ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-stage renal disease) GFR < 20% ของปกติ ไตไม่สามารถขับของเสีย น้ำ และอิเล็กโทรไลต์ได้ ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด ระบบกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และระบบฮอร์โมน สูญเสียหน้าที่ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในระยะนี้หากไม่ได้รับการรักษาเพื่อทดแทนหน้าที่ของไต

อาการ เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม บวมที่เท้า มือ และบริเวณก้นกบ ซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีรอยจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ง่าย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ลมหายใจมีกลิ่นแอมโมเนีย มีอาการไอ เจ็บหน้าอกเวลาไอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย เซื่องซึม สับสน ไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว กระดูกหักง่าย ปวดข้อ คันตามผิวหนัง ผิวหนังคล้ำ แห้ง แตก ในหญิงอาจมีประจำเดือนขาดหายไป ผู้ชายจะมีลูกอัณฑะเล็กลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การวินิจฉัยโรค ตรวจพบมีอาการบวม ตรวจหาระดับครีอะตินินพบว่าสูง คำนวณค่าครีอะตินินเคลียรานซ์ (CCr) น้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที (แสดวงว่ามีการสูญเสียการทำหน้าที่ของไตหรือไตถูกทำลายอย่างรุนแรง) ตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลต์ ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) Uric acid, Blood urea nitrogen (BUN) สูง Sodium สูง Potassium สูง Calcium ต่ำ Phosphorus สูง Magnesium สูง CCr ต่ำ Uric Acid สูง การถ่ายภาพรังสีพบว่าไตมีขนาดเล็กลง เจาะเนื้อไตเพื่อดูพยาธิสภาพ

การรักษา จำกัดอาหารโปรตีน อาหารที่มีโปแตสเซียม จำกัดน้ำดื่ม การได้รับอาหารที่มีโปแตสเซียมที่มีคุณค่าสูง ยาลดความดันเลือด จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เช่น Digoxin หรือทำ Hemodialysis, Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), Peritoneal dialysis หรืออาจต้องทำ Renal transplantation

การพยาบาล ชั่งน้ำหนักทุกวัน ประเมินอาการบวม การหายใจ ดูแลเรื่องการจำกัดน้ำดื่ม อาหารเค็ม ดูแลให้ได้ยาขับปัสสาวะ ลดอาการคัน ผิวหนังแห้ง และผิวหนังบวม การทำ Dialysis ในชนิดต่างๆ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในช่องท้อง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต
บทความต่อไป
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ