กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ระดับ cholesterol ที่แนะนำในแต่ละช่วงอายุ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

การมีหัวใจที่มีสุขภาพดีนั้นก็เหมือนกับการต่อตัวต่อ มันเป็นผลจากการสะสมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ยิ่งคุณเริ่มใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเร็วเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีสุขภาพที่ดีเวลาที่มีอายุมากเท่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของการมีระดับ cholesterol สูง

Cholesterol นั้นเป็นไขมันที่ร่างกายผลิตขึ้นและสามารถพบได้ในอาหารบางชนิด ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ cholesterol ในปริมาณหนึ่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่การมีมากเกินไปนั้นจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันหรือเส้นเลือดสมองอุดตันได้ ร่างกายนั้นไม่สามารถใช้ cholesterol ส่วนเกินนี้ได้แต่มันจะถูกสะสมในผนังของเส้นเลือดแทน ทำให้เกิดการอุดตัน การมี cholesterol สูงนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระดับ cholesterol ทั้งหมดนั้นเป็นค่ารวมของ cholesterol ที่พบในเลือดซึ่งประกอบไปด้วย low-density lipoproteins (LDL) และ high-density lipoproteins (HDL) LDL นั้นถูกเรียกว่าเป็น cholesterol ชนิดที่ไม่ดีเพราะเป็นชนิดที่ทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ในขณะที่ HDL นั้นเป็น cholesterol ชนิดที่ดีเพราะจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ยิ่งคุณมีค่า HDL สูงเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นการวัด cholesterol โดยรวมนั้นยังรวมถึงการวัด triglyceride ซึ่งเป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่สะสมตามร่างกาย การมี triglycerides สูงและ HDL ต่ำนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

ระดับ cholesterol ในผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ควรตรวจวัดระดับ cholesterol ทุกๆ 4-6 ปีเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ระดับ cholesterol นั้นจะเริ่มสูงขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น cholesterol นั้นก็มักจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ชายนั้นจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของผู้หญิงนั้นจะสูงขึ้นหลังจากที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่มีระดับ cholesterol สูงนั้นควรมีการตรวจติดตามที่ถี่กว่านี้

ต่อไปนี้เป็นค่าระดับ cholesterol ที่รับได้ ระยะเฝ้าระวัง และสูงของค่า cholesterol และ triglyceride ในผู้ใหญ่ ในหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

Total cholesterol           HDL cholesterol LDL cholesterol Triglycerides

ดี             น้อยกว่า 200         มากกว่า 40           น้อยกว่า 100         น้อยกว่า 149

ระดับเฝ้าระวัง       200-239 n/a         130-159 150-199

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สูง           สูงกว่า 240            n/a         สูงกว่า 160            สูงกว่า 200

ต่ำ           n/a         ต่ำกว่า 40              n/a         n/a

ระดับ cholesterol ในเด็ก

เด็กที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่สม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีน้ำหนักเกิน และไม่ได้มีประวัติครอบครัวที่มี cholesterol สูงนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการมี cholesterol สูงที่ต่ำกว่า

ปัจจุบันแนะนำให้เด็กทุกคนทำการตรวจวัดระดับ cholesterol เมื่ออายุระหว่าง 9-12 ปีและตรวจอีกครั้งระหว่างอายุ 17-21 ปี เด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงเช่นเป็นโรคเบาหวานหรือมีประวัติครอบครัวมี cholesterol สูงควรได้รับการตรวจในระหว่าง 2-8 ปีและตรวจอีกครั้งเมื่อมีอายุ 12-16 ปี

ตาราง cholesterol ในเด็ก

ต่อไปนี้เป็นระดับ cholesterol ที่เหมาะสมในเด็กในหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

Total cholesterol              HDL cholesterol LDL cholesterol Triglycerides

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดี             น้อยกว่า 170         มากกว่า 45           น้อยกว่า110          น้อยกว่า 75 ในเด็กที่มีอายุ 0-9 ปีและน้อยกว่า 90 ในเด็กที่มีอายุ 10-19 ปี

ระยะเฝ้าระวัง        170-199 40-45     110-129 75-99 ในเด็กที่อายุ 0-9 ปีและ 90-129 ในเด็กที่มีอายุ 10-19 ปี

สูง           มากกว่า 200         n/a         มากกว่า 130         มากกว่า 100 ในเด็กอายุ 0-9 ปีและ มากกว่า 130 ในเด็กอายุ 10-19 ปี

ต่ำ           n/a         ต่ำกว่า 40              n/a         n/a

ขั้นถัดไป

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

ข่าวดีก็คือการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตนั้นสามารถช่วยลดระดับ cholesterol ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุ

  • การออกกำลังกาย : กิจกรรมทางกายนั้นจะช่วยทำให้ลดน้ำหนักและเพิ่มระดับ HDL ควรออกกำลังกายในระดับปานกลางวันละ 30-60 นาทีต่อวัน
  • ทานเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้น : เปลี่ยนจากขนมปังขาวและเส้นพาสต้าเป็น whole grain
  • ทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ : น้ำมันมะกอก อะโวคาโดและถั่วนั้นมีไขมันที่ไม่ทำให้ระดับ LDL สูงขึ้น
  • จำกัดการรับประทาน cholesterol ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่นชีส นม และเนื้อแดงที่มีไขมันสูง
  • เลิกบุหรี่

อย่าลืมว่าแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน การมีประวัติครอบครัวหรือการมีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่นเบาหวานนั้นล้วนส่งผลต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระดับ cholesterol ที่เหมาะสม

สิ่งสำคัญก็คือการพยายามมีระดับ cholesterol ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต ความเข้าใจที่ผิดอย่างหนึ่งก็คือผู้ที่คุมระดับ cholesterol ได้ไม่ดีมาหลายปีแล้วเพิ่งตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงตัวเองทีหลังมักจะช้าเกินไปเพราะในระหว่างนั้นจะมีการสะสมของไขมันตามผนังหลอดเลือดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?
ไขมันอิ่มตัวคืออะไร?

ไขมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่การรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่ม
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง
ใช้ชีวิตอย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

รวมเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม