กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Bleeding)

เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือไม่ มีวิธีการตรวจและวิธีการรักษาอย่างไร? HonestDocs มีคำตอบให้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Bleeding)

เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือไม่ มีวิธีการตรวจและวิธีการรักษาอย่างไร? HonestDocs มีคำตอบให้

เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding (GI bleeding)) คืออาการร้ายแรงที่เกิดขึ้นภายในทางเดินอาหาร ซึ่งประกอบด้วย หลอดอาหาร (Esophagus) กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็ก (Small intestine) ลำไส้ใหญ่ (Large intestine หรือ Colon) ไส้ตรง (Rectum) หรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนัก และทวารหนัก (Anus)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารสามารถเกิดขึ้นที่บริเวณใดของทางเดินอาหารก็ได้ ถ้าเลือดออกที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือที่ลำไส้เล็กส่วนต้น จะเรียกว่า เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI bleeding)

แต่ถ้าเลือดออกที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง หรือทวารหนัก จะเรียกว่า เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง (Lower GI bleeding)

ปริมาณเลือดที่ออกในทางเดินอาหารจะมีตั้งแต่เลือดออกในปริมาณน้อยมาก คือสามารถตรวจพบได้จากอุจจาระ ไปจนถึงเลือดออกมากที่อันตรายถึงแก่ชีวิต (Life-Threatening Hemorrhage) ในกรณีที่เลือดออกน้อยมาก

อาการของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร

หากสงสัยว่าตนเองมีเลือดออกในทางเดินอาหาร สามารถสังเกตจากอุจจาระได้ ถ้าเลือดออกในกระเพาะอาหารและในทางเดินอาหารส่วนบน อาจสังเกตเห็นอุจจาระเป็นสีดำและเหนียวคล้ายน้ำมันดิน แต่ถ้ามีเลือดออกจากไส้ตรงระหว่างที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ อาจสังเกตเห็นเลือดหยดขณะเข้าห้องน้ำ หรือบนกระดาษทิชชูที่ใช้เช็ดทำความสะอาด โดยจะเห็นสีเลือดเป็นสีแดงสด

หากมีอาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนมีเลือดปน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเลือดออกที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้

สาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหาร

สาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหาร สามารถแบ่งออกได้ตามบริเวณที่เกิด ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • สาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน เกิดขึ้นได้จาก
    • แผลในระบบทางเดินอาหาร หรือแผลเปื่อยเพปติก (Peptic Ulcers) : แผลเหล่านี้คือแผลเปิดที่เกิดขึ้นในเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โดยสาเหตุของการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori เป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุด
    • ภาวะเส้นเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal Varices) : อาจมีการฉีกขาดของเส้นเลือดและทำให้เกิดเลือดออกได้
    • ผนังหลอดอาหารฉีกขาด : เป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้เช่นกัน หรือเรียกว่ากลุ่มอาการ Mallory-Weiss syndrome
  • สาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง เกิดขึ้นได้จาก
    • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis) ซึ่งสาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบมีหลายประการ เช่น การติดเชื้อ อาหารเป็นพิษ เชื้อปรสิต (Parasites) โรคโครนส์ (Crohn’s disease) หรือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
    • ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids) เกิดจากการที่เส้นเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา ซึ่งอาจเกิดการฉีดขาด แตกออก มีเลือดออก ทำให้มีอาการถ่ายเป็นเลือดได้
    • แผลปริที่ขอบทวารหนัก (Anal Fissure) เป็นโรคที่มีการฉีดขาดของกล้ามเนื้อบริเวณหูรูดทวารหนัก มักเกิดจากอาการท้องผูกหรืออุจจาระที่แข็ง

การวินิจฉัยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร

แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ และประวัติทางการแพทย์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยหาสาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งแพทย์อาจให้มีการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจดูว่ามีเลือดในอุจจาระหรือไม่

การวินิจฉัยการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน จะทำโดยส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร (Endoscopy) ผ่านเข้าไปทางคอ ลงไปตรวจในทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบภายในทางเดินอาหารและบอกตำแหน่งที่มีเลือดออกได้

การวินิจฉัยการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง จะทำโดยการส่องกล้องอีกวิธีที่เรียกว่า Enteroscopy คือการส่องกล้องทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหาร ลำไส้เล็กทั้งหมดและลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาสาเหตุของการเกิดเลือดเลือดที่ไม่สามารถตรวจเจอจากการส่องกล้องด้วยวิธี Endoscopy

นอกจากนี้ การประเมินหาสาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง อาจทำได้โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) โดยแพทย์จะสอดกล้องที่มีลักษณะเป็นท่อที่ยืดหยุ่นได้เข้าไปทางไส้ตรง ทำให้แพทย์ตรวจภายในลำไส้ใหญ่ได้

บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้มีการถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์เพื่อระบุตำแหน่งของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร โดยจะมีการฉีดสารกัมมันตรังสีตามรอย (Radioactive Tracer) เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะแสดงขึ้นขณะทำการเอกซเรย์ (X-ray) เพื่อให้แพทย์ระบุตำแหน่งของการเกิดเลือดออกได้

ถ้าแพทย์ไม่สามารถหาตำแหน่งของการเกิดเลือดออกด้วยวิธีทั่วไป ก็อาจมีการใช้กล้องแคปซูล (Pill Cam Test) ซึ่งแพทย์จะให้ผู้เข้ารับการตรวจกลืนแคปซูลที่ภายในมีกล้องขนาดเล็กบรรจุอยู่ โดยกล้องนี้จะทำการถ่ายภาพลำไส้เพื่อหาตำแหน่งของการเกิดเลือดออก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร

การรักษาการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร สามารถทำได้โดยการรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยวิธีทั่วไปที่แพทย์มักใช้ในการรักษา ได้แก่ ใช้กล้องจี้ด้วยไฟฟ้า ร่วมกับการใช้ยาเพื่อหยุดเลือดออก (โดยใช้กล้อง Endoscope ที่ใช้ในการหาสาเหตุ) หรือการผ่าตัดผูกหลอดเลือด เพื่อหยุดการเกิดเลือดออก

ในกรณีที่เกิดจากริดสีดวงทวาร ก็สามารถใช้ยาจากร้านขายยาทั่วไปมารักษาได้ แต่ถ้าใช้แล้วยังไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์  โดยแพทย์อาจใช้ความร้อนในการจี้เพื่อลดขนาดริดสีดวงทวารหนักลง และมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อรักษาการติดเชื้อ

ที่มาของข้อมูล

Carmella Wint, What Causes Gastrointestinal Bleeding? (https://www.healthline.com/symptom/gastrointestinal-bleeding), June 28, 2017.


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Upper Gastrointestinal Bleeding (UGIB): Practice Essentials, Background, Etiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/187857-overview)
Bleeding in Digestive Tract: Why It Happens & How To Treat It. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/bleeding-digestive-tract)
20 Gastrointestinal Bleeding Symptoms, Causes, Treatment, Prognosis. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/gastrointestinal_bleeding/article_em.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)