กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates)

ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์คืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates)

บิสฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates) เป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยจะสั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุน ภาวะ Paget’s disease และมะเร็งกระดูกบางชนิด โดยยากลุ่มนี้จะทำงานด้วยการขัดขวางกระบวนการที่ร่างกายสลายเนื้อกระดูก ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • Actonel หรือ Altevia (Risedronate)
  • Fosamax (Alendronate)
  • Boniva (Ibandronate)
  • Reclast หรือ Zometa (Zoledronic acid)

คำเตือนและข้อควรระวังในการใช้ยาบิสฟอสโฟเนตส์

ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้หากมีอาการแพ้ยา มีความผิดปกติในหลอดอาหาร เช่น การฉีกขาด มีแผลทะลุ หลอดอาหารตีบ เป็นโรคไตขั้นรุนแรง และระดับแคลเซียมในกระแสเลือดต่ำ

หากไม่สามารถนั่งตัวตรงได้อย่างน้อย 30 นาที ก็ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากหลังรับประทานยาบิสฟอสโฟเนตส์แล้ว จะต้องนั่งตัวตรงอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร หากใช้ยา Boniva จะต้องนั่งตัวตรงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ยาทุกตัวในกลุ่มนี้ต้องรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ยกเว้นยา Boniva ต้องรับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง 

ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตส์ ควรรับประทานพร้อมน้ำเปล่าเท่านั้น ไม่ควรรับประทานร่วมกับน้ำผลไม้ กาแฟ โซดา หรือเครื่องดื่มแต่งรสอื่นๆ และควรรับประทานยาบิสฟอสโฟเนตส์เพียงตัวเดียว และควรรออย่างน้อย 30 นาที ก่อนรับประทานยาหรืออาหารเสริมชนิดอื่น

ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาบิสฟอสโฟเนตส์ทุกครั้ง หากกำลังใช้ยาดังต่อไปนี้

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของการใช้ยาบิสฟอสโฟเนตส์

ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อย คือ การระคายเคืองกระเพาะอาหารและอาการแสบร้อนกลางหน้าอก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานยาให้ถูกวิธี

ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่พบ ประกอบไปด้วย

  • ปวดกระดูกหรือปวดข้อทั่วร่างกาย
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว
  • คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย หรืออาการไม่สบายท้องอื่นๆ
  • ปวดศีรษะหรือมึนศีรษะ
  • เป็นหวัด ติดเชื้อที่ไซนัสหรือในคอ
  • ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  • อ่อนเพลียหรือมีปัญหาในการนอนหลับ

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป