ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

ภาวะปลอกหุ้มเอ็นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมืออักเสบหรือโรคนิ้วล็อก (Trigger finger; Stenosing flexor tenosynovitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมืออักเสบ ทำให้ไม่สามารถงอหรือเหยียดมือได้อย่างปกติ อาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว

สาเหตุ 

มีสาเหตุจากการใช้นิ้วมือหรือมือนั้นมาก อาจเป็นในท่ากำมือ งอนิ้วมือหรือเหยียดออก เช่น การหิ้วของหนักๆ การกำบีบไขควง หรือกรรไกร การซักผ้าบิดผ้าเป็นประจำ เป็นต้น ทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นหุ้มข้อ (Tenosynovitis) ของ Flexor sheath มักพบในผู้ที่เป็นแม่บ้าน แม่ค้า คนทำสวน ช่างก่อสร้าง หมอนวดแผนโบราณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ

ภาวะเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมือหรือใช้กำมืออักเสบซึ่งเกิดจากการใช้งานมาก ทำให้มีอาการปวด ปลอกหุ้มบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือ (Metacarpophalangeal joint) บวมหนา เกิดการติดขัดในการเคลื่อนของเอ็นที่ต้องลอดผ่านปลอกหุ้มเอ็น ทำให้เหยียดนิ้วออกไม่สะดวก หรือเหยียดออกเองไม่ได้ ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยง้างให้เหยียดออก หรือหากเหยียดได้จะเด้งออกมาเหมือนสปริง พบมากที่นิ้วนางและนิ้วกลาง

อาการ 

เริ่มแรกจะมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้นิ้วเคลื่อนไหวผิดปกติ มีอาการฝืดสะดุด หรือเด้งเข้าออกเวลางอหรือเหยียดนิ้วออก และเกิดการอักเสบของเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วมือตามมา ทำให้มีอาการนิ้วล็อก คือเมื่องอนิ้วหรือกำนิ้วแล้วไม่สามารถเหยียดออกได้เองต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยจับและเหยียดออก มีอาการเจ็บปวดเวลาดึงออก หรือบางครั้งเหยียดออกแต่งอนิ้วไม่ได้ หากเป็นนานๆ นิ้วมือนั้นอาจมีลักษณะโค้ง งอ บวม เอียง เกยกัน หรือแข็งทื่องอหรือเหยียดไม่ได้ ทำให้มือนั้นใช้งานไม่ได้หรือพิการในที่สุด มักพบนิ้วล็อกที่นิ้วนางหรือนิ้วกลางมากกว่านิ้วชี้และนิ้วก้อย ในบางรายจะมีอาการบวมและกดเจ็บบริเวณฝ่ามือด้วย

การวินิจฉัยโรค   

มีประวัติการใช้นิ้วมือและมือข้างนั้นมาก เวลางอหรือเหยียดนิ้วมือจะเจ็บและมีการติดของข้อนิ้วมือ ตรวจร่างกายพบว่าข้อนิ้วมือมีการติดในท่างอ มักพบเป็นที่นิ้วกลางและนิ้วมือ

การรักษา 

ในระยะแรกที่มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้ว ให้พักการทำงานของมือหรือใช้งานให้น้อยลง รับประทานยาบรรเทาปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตยรอยด์(NSAIDs) เช่น Diclofenac, Ibuprofen เป็นต้น แช่มือด้วยน้ำอุ่น ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้น คือจะเหยียดหรืองอนิ้วแล้วมีอาการสะดุด ให้รับประทานยาบรรเทาปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ทำกายภาพบำบัด เช่น แช่น้ำอุ่น แช่พาราฟิน เป็นต้น และทำอัลตราซาวนด์ ต่อมาเมื่อมีอาการนิ้ว  ล็อกต้องแกะง้างจึงจะออกต้องใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือร่วมกับการฉีดยา สเตียรอยด์เข้าเฉพาะที่ เช่น ฉีด Triamcinolone เข้าที่ปลอกหุ้มเอ็น จะช่วยให้อาการดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังฉีดยา แต่ถ้ามีอาการมากขึ้นจนนิ้วติดยึดเกิดอาการนิ้วล็อกแกะไม่ออก นิ้วพิการ การฉีดยาจะไม่ได้ผล อาจดีขึ้นเพียงระยะสั้นๆ แล้วกลับมาเป็นอีก หากฉีดยาหลายครั้งอาจทำให้เอ็นเปื่อยยุ่ยได้ จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เอาเข็มขัดรัดเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้แยกออก เพื่อทำให้เอ็นงอข้อมือหรือนิ้วมือ(Flexortendon) เคลื่อนไปมาได้ดีขึ้น และช่วยให้งอเหยียดนิ้วได้สะดวก

การพยาบาล 

บรรเทาอาการปวดด้วยการแนะนำการใช้เทคนิคการผ่อนคลาย รับประทานยาแก้ปวดตามแผนการรักษา แนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยหลังผ่าตัดให้วางแขนบนหมอนสูงขณะนอนพักเพื่อลดบวมและลดอาการปวดแขน ดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาด ระวังอย่าให้ถูกน้ำ

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
เส้นเอ็นอักเสบ  (Tennis elbow; Tendinitis)
เส้นเอ็นอักเสบ (Tennis elbow; Tendinitis)
บทความต่อไป
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก