ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

เส้นเอ็นอักเสบ (Tennis elbow; Tendinitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นที่ทำหน้าที่กระดกข้อมือขึ้น ในกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก ตรงตำแหน่งของ Lateral epicondyle

สาเหตุ เกิดจากการเล่นกีฬา เช่น เทนนิส จากการกวาดบ้าน ซักผ้า ถือของหนัก ช่างที่ใช้ค้อนเคาะทุบโลหะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ การเล่นกีฬาหรือการทำงานในลักษณะที่ทำซ้ำๆ ทำให้เอ็นบาดเจ็บทีละเล็กทีละน้อย โดยเฉพาะเอ็นของกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านนอกของข้อศอก และทำให้เอ็นอักเสบในที่สุด มีอาการปวดบริเวณด้านนอกของข้อศอกที่อยู่ตรงกับแนวนิ้วหัวแม่มือในท่าคว่ำมือ มักมีอาการอักเสบเฉพาะแขนข้างที่ใช้งานหนัก อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงกระดกข้อมือขึ้น

อาการ มีอาการเจ็บปวดเล็กๆน้อยๆ บริเวณข้อศอกด้านนอก อาการจะเป็นมากขึ้นในท่าใดท่าหนึ่งในขณะยกของหรือบิดแขน บางครั้งมีอาการปวดร้าวไปบริเวณแขนหรือต้นแขนได้

การวินิจฉัยโรค จากการซักประวัติพบว่ามีการเล่นกีฬาหรือการทำงานในลักษณะที่ทำซ้ำๆ และตรวจร่างกายพบมีจุดกดเจ็บบริเวณด้านนอกของข้อศอก เมื่อจัดให้ของศอกของผู้ป่วยเหยียดตรง แขนอยู่ในท่าหงายฝ่ามือแล้วผู้ตรวจหมุนข้อมือให้ฝ่ามืออยู่ในท่าคว่ำลงและกระดกข้อมือขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการมากบริเวณข้อศอกด้านนอกและจัดให้ผู้ป่วยเหยียดข้อศอกตรง แขนอยู่ในท่าหงายฝ่ามือ และผู้ตรวจจับหลังมือผู้ป่วยให้กระดกข้อมือขึ้นต้านกับแรงของผู้ตรวจ จะทำให้มรอาการเจ็บปวดมากที่บริเวณข้อศอก

การรักษา รักษาด้วยวิธีประคับประคอง เช่น พักการใช้งานของแขนข้างที่อักเสบ ใช้ความเย็นประคบบรรเทาปวด ให้ยาแก้ปวด ให้ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์(NSAIDs) ใช้อุปกรณ์เสริมบริเวณข้อศอกซึ่งมีลักษณะเป็นแถบกว้างประมาณ 1 ถึง 1.5 นิ้วฟุตใส่ตรงตำแหน่งที่ใต้ข้อพับประมาณ 4-5 เซนติเมตร หรือ 2 FB (two-fingerbreadth) ข้างที่อักเสบและจะต้องไม่พ้นจนแน่นเกินไป เพื่อป้องกันแขนและมือบวม โดยใส่ช่วงกลางวันและถอดออกเวลากลางคืน ออกกำลังกล้ามเนื้อแขนและข้อมือให้แข็งแรง ฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่เข้าบริเวณที่อักเสบ

เพื่อลดการอักเสบ จะช่วยให้หายปวดภายใน 4-6 สัปดาห์ หรือรักษาด้วยการผ่าตัดจะทำเมื่อรักษาด้วยวิธีประคับประคองนาน 6-9 เดือนแล้วไม่ได้ผล กระทำโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ ตัดเนื้อเยื่อที่อักเสบหรือฉีกขาดออก แล้วเย็บซ่อมให้แข็งแรง ใส่เฝือกในท่างอข้อศอกนาน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นเริ่มให้เคลื่อนไหวข้อศอกได้เต็มที่ โดยให้พักการใช้งานหนักอย่างน้อย 3 เดือน

การพยาบาล ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยให้ส่วนที่อักเสบได้พักใช้ความเย็นประคบ ให้ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา ใช้อุปกรณ์เสริม แนะนำให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิ เป็นต้น แนะนำการปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจกรรม เช่น เมื่อต้องยกของที่หนักควรหลีกเลี่ยงการยกในท่าคว่ำมือ ใช้สองมือช่วยยกของในท่าหงายมือ  ส่วนผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด พยาบาลต้องช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยในการผ่าตัด โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อข้องใจหรือสิ่งที่ต้องการทราบเพิ่มเติมด้วยความยินดีและเต็มใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การผ่าตัด การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด การดูแลแผลผ่าตัด การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่ทำผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
โรควัณโรคกระดูกสันหลัง (Spinal tuberculosis)
โรควัณโรคกระดูกสันหลัง (Spinal tuberculosis)
บทความต่อไป
ภาวะปลอกหุ้มเอ็นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมืออักเสบหรือโรคนิ้วล็อก  (Trigger finger; Stenosing flexor tenosynovitis)
ภาวะปลอกหุ้มเอ็นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมืออักเสบหรือโรคนิ้วล็อก (Trigger finger; Stenosing flexor tenosynovitis)