ประโยชน์ของคะน้า ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพและข้อควรระวัง

ผักสีเขียวเข้ม กรุบกรอบ ที่กินได้ทั้งต้น และได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประโยชน์ของคะน้า ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพและข้อควรระวัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คะน้า เป็นพืชวงศ์ผักกาด นิยมปลูกในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และไทย คนส่วนใหญ่นิยมใช้ลำต้นและใบมาประกอบอาหาร
  • คะน้าเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาสูง ในคะน้า 100 กรัม ให้พลังงาน 31 แคลอรี อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี และซี รวมถึงสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเศียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส เบต้า-แครอทีน
  • ประโยชน์ของคะน้าสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ โลหิตจาง กระดูกพรุน ไมเกรน และยังมีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อีกทั้งยังมีกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย
  • แม้การกินผักคะน้าจะช่วยเรื่องการขับถ่ายและได้ประโยชน์สุขภาพ แต่ผักคะน้าก็ไม่ควรกินแบบดิบ เพราะจะมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติได้ 
  • ดูแพ็กเกจ Detox ล้างลำไส้ได้ที่นี่

คะน้า เป็นผักใบเขียวอีกชนิดที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะกินแบบสดๆ ในเมนูยำคะน้ากุ้งสด เป็นเครื่องจิ้ม เครื่องเคียงในน้ำพริก หมูมะนาว หรือจะกินแบบสุกๆ ในเมนูสารพัดผัดผักยอดฮิต เช่น คะน้าหมูกรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าน้ำมันหอย 

แม้แต่อาหารจานด่วน เช่น ราดหน้า  ผัดซีอิ๊ว  ข้าวผัดต่างๆ  ก็นิยมใช้คะน้าเป็นวัตถุดิบด้วยเช่นกัน  นอกจากจะเป็นผักที่หาซื้อได้ง่ายแล้วยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายที่รู้แล้วจะต้องอยากหามากิน  

รู้จักคะน้า

คะน้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea L. จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด  คะน้าเป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย นิยมปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และไทย  

ลักษณะทั่วไปลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบใหญ่สีเขียวนวล สูง 20-30 เซนติเมตร  ใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน  ผิวใบมีลักษณะเป็นคลื่น ผิวมัน สีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ ยอดมีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ  

นอกจากนี้ใบะน้ายังมีหลายลักษณะแตกต่างไปตามสายพันธุ์  สายพันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม และพันธุ์ยอด หรือก้าน  

การใช้ประโยชน์ของคะน้ามักจะนำส่วนของลำต้น ก้านใบ และใบมาประกอบอาหาร สามารถกินได้ตั้งแต่ต้นยังมีขนาดเล็กจนกระทั่งออกดอก 

สารสีเขียวในผักคะน้ามีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยให้เซลล์ทำงานดีขึ้น ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย กำจัดสารพิษตกค้าง และช่วยลดอาการภูมิแพ้ต่างๆ นอกจากสารสีเขียวแล้ว ผักคะน้ายังมีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย  

คุณค่าทางโภชนาการ

คะน้าดิบปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี และประกอบด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

ประโยชน์ของคะน้า

คะน้าเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารมากมายโดยเฉพาะส่วนยอดของคะน้าสดที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและเกลือแร่  คะน้ายังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกหลายอย่าง 

1. ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

คะน้าอุดมไปด้วยวิตามินเอซึ่งมีคุณสมบัติต้านการเกิดเซลล์มะเร็งและยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย  ลดโอกาสเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และช่วยลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยโดยรวมได้  การกินคะน้าเป็นประจำจะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านม

2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง

คะน้าช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง เนื่องจากเป็นผักที่มีธาตุเหล็กและฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างการสร้างเม็ดเลือดแดงจึงมีส่วนสำคัญในการบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังเป็นสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของการสร้างกล้ามเนื้อและบำรุงเนื้อเยื่อต่างๆ

3. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก

คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา การกินคะน้าจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20% เมื่อเทียบกับคนไม่ได้กิน

4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

คะน้ามีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงให้กระดูกและฟันแข็งแรง จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนหรือเสื่อมในผู้สูงอายุ และยังมีสารอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยเสริมการทำงานขฮงแคลเซียมให้ทำงานเป็นปกติขึ้น พบว่า การกินคะน้า 1 ถ้วย = ดื่มนม 1 แก้ว  ดังนั้นถ้าไม่ดื่มนมก็มากินคะน้ากันเถอะ

5. ช่วยบำรุงผิวพรรณ

คะน้ามีวิตามินซีช่วยบำรุงผิวพรรณและมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เนื้อเยื่อมีความชุ่มชื้นมากขึ้น

6. ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์

คะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ  ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ และทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

7. ลดอาการไมเกรน

ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของการเกิดอาการไมเกรนลงได้

8. ปรับสมดุลของฮอร์โมน

ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือนได้

ไอเดียการกินการใช้คะน้าเพื่อสุขภาพ

1.สามารถทำอาหารเป็นเมนูได้หลากหลายเมนู เช่น

  • ผัดคะน้าหมูกรอบ
  • ผัดผักคะน้า
  • ยำก้านคะน้า
  • ต้มจับฉ่าย
  • คะน้าไก่กรอบ
  • คะน้าปลาเค็ม
  • คะน้าเห็ดหอม
  • คะน้าปลากระป๋อง
  • ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น

2. ทำน้ำคะน้าเพื่อสุขภาพ

วิธีทำ ล้างใบคะน้าให้สะอาด นำใบคะน้ามาหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดพอเหมาะแล้วใส่ในเครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุกลงไปครึ่งหนึ่งแล้วปั่นจนละเอียด นำผ้าขาวบางมากรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำเชื่อม เกลือ และมะนาวลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติตามใจชอบ 

ข้อควรระวัง

คะน้าเป็นพืชที่มีประโยชน์สูง สามารถประกอบอาหารได้หลายประเภท แต่อย่างไรก็ตาม คะน้าเองก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน 

  1.  ไม่ควรรับประทานคะน้าแบบดิบ เพราะคะน้ามี สารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งอยู่ในกลุ่มสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนไปใช้สร้างฮอร์โมนธัยรอกซินได้น้อยกว่าปกติ หรือทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำยิ่งขึ้น 

    การได้รับคะน้าในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย  ควรนำปรุงคะน้าให้สุกก่อนรับประทานเพื่อลดปริมาณสารกอยโตรเจนลง 

  2. การปลูกคะน้า นิยมมีการใช้สารเคมี หรือยาฆ่าแมลง และโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  ยิ่งถ้าเป็นต้นอ่อน ยิ่งมีโอกาสปนเปื้อนได้มาก ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับในไตได้ 

    ดังนั้นก่อนนำคะน้ามาประกอบอาหารให้เด็ดผักออกเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของคะน้านานประมาณ 2 นาที หรือจะใช้สารละลายอื่นๆ ช่วยล้างก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น 

ดูแพ็กเกจ Detox ล้างลำไส้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android     


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Composition and antioxidant activity of kale (ฺBrassica L.varacephala) raw and cooked. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22744944)
Antioxidant and anticancer activities of Brassica rapa : a review (https://medcraveonline.com/MOJBM/MOJBM-03-00094)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, CRUCIFERAE (BRASSICACEAE) Brassicaalboglabra (http://www.medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc=1064&kw=%BC%D1%A1%A4%D0%B9%E9%D2*)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม