จริงหรือไม่กับความเชื่อที่ว่า แผลเพปติกเกิดจากการกินอาหารรสจัดและความเครียด
แผลเพปติก (peptic ulcer) หรือที่เรารูจักกันในชื่อ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นแผลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร คำว่า "เพปติก" (peptic) แปลว่า "กรด" ดังนั้น "แผลเพปติก" (peptic ulcer) จึงมีความหมายตรงตัวว่า "แผลที่เกิดจากกรด" นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ชื่อของแผลดังกล่าวได้ถูกตั้งขึ้นภายใต้ความเชื่อเดิมที่ว่า กรดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่วิทยาการปัจจุบันทำให้เราทราบถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของแผลชนิดนี้ ดังนั้น การใช้ชื่อว่า "แผลที่เกิดจากกรด" จึงอาจทำให้เข้าใจผิดได้
ชนิดของแผลในทางเดินอาหาร
แผลในทางเดินอาหาร ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ
- แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric Ulcers) : เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นที่ผนังภายในของกระเพาะอาหาร
- แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcers) : เกิดขึ้นที่ผนังภายในของลำไส้เล็กส่วนต้นที่ต่อออกมาจากกระเพาะอาหาร
- แผลในหลอดอาหาร (Esophageal Ulcers) : เป็นแผลชนิดที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคอและกระเพาะอาหาร
ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถมีแผลได้มากกว่า 1 ชนิดในเวลาเดียวกัน
สาเหตุของแผลในทางเดินอาหาร
ในอดีตเราเชื่อกันว่าแผลเพปติกมีสาเหตุมาจากการกินอาหารรสจัดหรือความเครียด แต่วงการแพทย์ในปัจจุบันไม่ได้เชื่อเช่นนั้น สาเหตุหลักของแผลเพปติก มีดังต่อไปนี้
- เชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไลน์ (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
- ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ เอ็นเสด (Non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) เช่น ยาแอสไพริน (aspirin), ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), นาพร็อกเชน (naproxen)
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคแผลเพปติกควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยากลุ่มนี้และเลือกใช้ยาแก้ปวดที่มีตัวยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือที่เรียกกันว่า ยาพาราเซตามอล (paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการปวดแทน เพราะไม่ใช่ยาในกลุ่ม NSAIDs และไม่มีส่วนผสมของยาแอสไพริน
อาการแสดงของภาวะแผลในทางเดินหาร
มีคนจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการของการมีแผลในกระเพาะอาหารนี้ อย่างไรก็ตาม อาการแสดงที่มักพบได้บ่อยที่สุด คือ อาการปวดท้องส่วนบน โดยอาการปวดนี้อาจจะ
- ร้าวจากสะดือขึ้นมาถึงใต้ลิ้นปี่
- อาการปวดแย่ลงเมื่อท้องว่าง
- อาการดีขึ้นชั่วคราวเมื่อได้ทานอาหารบางชนิด หรือการทานยาเคลือบกระเพาะหรือยาลดกรด
- อาการเป็นมากขึ้นตอนกลางคืน
- อาการเป็นๆ หายๆ เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์
อาการแสดงอื่นๆ ประกอบไปด้วย
- คลื่นไส้
- อาเจียนเป็นเลือดสดหรือเลือดสีแดงคล้ำ
- แน่นท้องหรือท้องอืด
- ถ่ายเป็นเลือดสด สีดำ หรือเป็นยางมะตอย
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
แผลเหล่านี้อาจทำให้เกิดเลือดออกอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วมากจนทำให้เกิดภาวะช็อกที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ทันสังเกตภาวะเลือดออกที่เกิดขึ้นจนกระทั่งเริ่มมีภาวะซีด ซึ่งเกิดจากการขาดเหล็ก นำไปสู่การขาดเม็ดเลือดแดง โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสียเลือดที่ละน้อย แต่เป็นระยะเวลานาน เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีภาวะซีด อาจมีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก และมีสีผิวซีดลงได้
การเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- ถ่ายเป็นสีดำ เหนียว หรือเป็นเลือดสด
- อาเจียนเป็นเลือด
- เวียนศีรษะ
หากคุณรู้สึกว่ามีอาการข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ทันที
การรักษาแผลในทางเดินอาหาร
แนวทางการรักษาแผลเพปติกขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล การรักษาที่นิยมใช้คือการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไลน์ (Helicobacter pylori) ร่วมกับการให้ยาลดกรดเพื่อลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและช่วยลดปวด ยาลดกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอน หรือ พีพีไอ (Proton pump inhibitors หรือ PPIs) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้แผลเพปติกฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ยาในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
- Omeprazole (Prilosec, Zegerid)
- Lansoprazole (Prevacid)
- Rabeprazole (Aciphex)
- Pantoprazole (Protonix)
- Esomeprazole (Nexium)
ยาลดกรด หรือยาในกลุ่ม H2-Blockers เป็นยาช่วยลดกรดและช่วยลดอาการปวด ประกอบด้วย
- Cimetidine (Tagamet)
- Ranitidine (Zantac)
- Famotidine (Pepcid)
- Nizatidine (Axid)
นอกจากนั้น ยาในกลุ่มนี้ยังเป็นยาในกลุ่ม Cytoprotective Agents หรือยาที่ช่วยป้องกันผนังของกระพาะและลำไส้ทำให้ช่วยลดอาการแสดงของแผลได้
ภาวะฉุกเฉินของแผลในทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากแผลเพปติค มักเป็นภาวะรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้ คือ
- การที่แผลในทางเดินอาหารทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดและทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลอดอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
- การที่แผลในทางดินอาหารทะลุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ออกมา
- การเกิดแผลเป็นจากแผลในทางเดินอาหารที่ทำให้การย่อยอาหารแย่ลง
อาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะฉุกเฉินเหล่านี้ คือ
- มีเลือดสีแดงหรือดำคล้ำปนในอุจจาระ
- อาเจียนเป็นเลือดสดหรือเป็นสีดำคล้ายกาแฟ
- อาการปวดเป็นมากขึ้น
- อ่อนแรง
- ซึมสับสน
- ท้องอืดมาก
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบแพย์ทันที
อาหารและการดูแลรักษาแผลในทางเดินอาหารเมื่ออยู่ที่บ้าน
ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และเปลี่ยนการดำเนินชีวิตเพื่อช่วยให้แผลในกระเพาะอาหานดีขึ้นได้ ดังนี้
- ระมัดระวังการกินอาหาร : ในอดีต ผู้ป่วยที่มีแผลในระบบทางเดินอาหารจะถูกสอนให้ทานอาหารจืดทีละน้อย และดื่มนมให้มากๆ เพื่อช่วยในการรักษาแผล ในปัจจุบัน การแนะนำของแพทย์จะเปลี่ยนไปจากเดิม หากคุณรู้ว่ามีอาหารบางชนิดที่ทำให้อาการปวดเป็นมากขึ้น พยายามหลีกเลี่ยงจนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น ในอดีตที่การรับประทานอาหารรสจัดนั้นเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล เราเชื่อว่าการดื่มนมจะสามารถช่วยรักษาแผลเหล่านี้ได้ ในความเป็นจริงแล้วนมอาจจะช่วยลดอาการของแผลที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาแผลเหล่านี้ให้หายไปได้ และที่น่าสนใจกว่านั้น คืออาหารรสจัดอาจมีผลในการป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารได้ มีการศึกษาหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ที่พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีส่วนประกอบของพริกหรือสาร Capsaicin น้อย เกิดแผลในทางเดินอาหารได้มากกว่ากลุ่มที่ทานอาหารมาเลย์หรืออาหารอินเดีย
- หยุดสูบบุหรี่ : หากคุณสูบบุหรี่ นั่นหมายความว่าคุณได้ทำการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในทางเดินอาหารเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีข้อมูลที่แสดงว่าแผลในทางเดินอาหารเหล่านี้จะหายช้ากว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ และยาที่ใช้ในการรักษาอาจได้ผลน้อยกว่า โดยที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนว่าทำไมการสูบบุหรี่จึงทำให้เกิดผลดังกล่าว
- ระมัดระวังการใช้ NSAIDs : การใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น aspirin, ibuprofen และอื่นๆ เพื่อช่วยลดอาการปวดและลดไข้ อาจทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารได้หากใช้บ่อยเกินไป NSAIDs ยังขัดขวางการซ่อมแซมแผลอีกด้วย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาแก้ปวดระหว่างที่รอให้แผลในทางเดินอาหารเหล่านี้หายดี นอกจากนั้น อย่าลืมอ่านฉลากยาก่อนรับประทานทุกครั้ง เนื่องจากยาบางตัว เช่น ยาแก้ไอและยาลดไข้อาจมีส่วนผสมของ NSAIDs ร่วมด้วยได้ ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้เช่นกัน Paracetamol เป็นยาที่ไม่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหาร ดังนั้นจึงอาจพิจารณาใช้เป็นยาแก้ปวดทดแทนได้
- ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : หยุดดื่มเหล้าและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเพิ่มเติมและช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมแผลให้หายได้ดีขึ้น
- รับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยผักและผลไม้ : มีการศึกษาที่ทำการทบทวนงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารที่แสดงว่าการกินอาหารที่มีเส้นใยมากจากผลไม้และผักจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลดังกล่าว นอกจากนั้น วิตามิน A ซึ่งพบได้ในผักจำนวนมากอาจมีประโยชน์ด้วยเช่นกัน
- จัดการกับความเครียดของคุณ : ส่วนมากแผลในทางเดินอาหารเกิดการการติดเชื้อ H.pylori หรือการใช้ยา NSAIDs แต่มีผู้ป่วยบางส่วนที่การเกิดแผลเหล่านี้สัมพันธ์กับความเครียด แพทย์จำนวนมากจึงได้แนะนำวิธีคลายความเครียดให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นการทำโยคะ การออกกำลังกาย หรือการนวด
หากคุณยังมีคำถามเพิ่มเติม กรุณาเขียนถามคุณหมอที่นี่
เราจะไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลของคุณ