กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Coumadin (ตัวยา Warfarin)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Befarin, Maforan, Morfarin, Orfarin, Cogulax, Fargem, Zydarin   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

warfarin-anticoagulant' target='_blank'>วาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยากลุ่ม ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ยาสำหรับรับประทานยาเม็ด ประกอบด้วยวาร์ฟาริน ขนาด 3 มิลลิกรัม และขนาด 5 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ วาร์ฟารินยับยั้งการสังเคราะห์ของแฟกเตอร์ที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือดที่อาสัยวิตามินเค ได้แก่ แฟกเตอร์ 2 7 9 และ 10 โปรตีนที่ช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือด คือโปรตีน C และโคแฟกเตอร์ คือโปรตีน S แฟกเตอร์เหล่านี้ถูกกระตุ้นให้ทำงานโดยการเติมหมู่คาร์บอกซิลลงในกรดอะมิโน กรดกลูตามิกของโครงสร้างโปรตีน ยาวาร์ฟารินยับยั้งแบบแข้งขันที่บริเวณ C1 ซับยูนิต ของเอนไซม์วิตามินเค อีพอกไซด์ รีดักเตส (VKORC1) การลดลงของวิตามินเค เป็นการลดการสังเคราะห์แฟกเตอร์ที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด

ข้อบ่งใช้

ยาวาร์ฟารินชนิดยาเม็ดรับประทาน มีข้อบ่งใช้รักษาและป้องกันการเกิด venous thromboembolismขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เริ่มต้นที่ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง หากต้องการผลต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดในทันที ให้ใช้ขนาดยาเริ่มต้น 10 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 วัน ปรับขนาดยาตามค่า prothrombin time หรือค่า INR จากนั้นใช้ขนาดยา 3-9 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทานยาในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน ในผู้ป่วยสูงอายุอาจปรับขนาดยาเริ่มต้นและยาใช้รักษาลง

ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารแบบเดิม หรือได้รับวิตามินเค ในปริมาณเท่าเดิม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ผู้ป่วยควรระวังการเกิดบาดแผลจากกิจกรรมชีวิตประจำวันหรือจากการเล่นกีฬา

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

 หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่ภาวะเลือดออก หรือ blood dyscrasia
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดตา หรือระบบประสาทส่วนกลาง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือดสมอง
  • ไม่ใช้ยาร่วมกับยากลุ่มสลายไฟบริน เช่น streptokinase ateplase
  • ไม่ใช้ยาในสตรีมีครรภ์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออก หรือเกิดเนื้อตาย
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากการใช้ยาเฮพาริน (heparin)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยติดเชื้อ ในผู้ป่วยที่มีการสอดท่อ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง ระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยขาดวิตามินซี หรือวิตามินเค
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับระดับรุนแรง หรือผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดดีซ่าน การทำงานของตับผิดปกติ หลอดเลือดอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง แน่นท้อง ผื่นแดง ศีรษะล้าน ไข้ หนาสั่น ค่า hematocrit ลดลง ค่า hemoglobin ลดลง ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ อาการแพ้ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรงในเกือบทุกอวัยวะของร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เนื้อเยื่อตาย เกิดเนื้อตายบริเวณผิวหนัง

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category X คือไม่แนะนำให้ใช้ยาในสตรีมีครรภ์เนื่องจากตัวยาสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับสตรีให้นมบุตร ไม่แนะนำให้ให้นมบุตรระหว่างการรับประทานยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส เก็บยาให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, Warfarin, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/warfarin-oral-tablet), 12 March 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)