กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สิว (Acne)

สิวแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร เกิดจากอะไร การรักษาสิวและการป้องกันการเกิดสิวสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สิว (Acne)

ภาพรวมของสิว

ผิวหนังเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยรูเล็กๆ ที่เรียกว่ารูขุมขน (Pores) ซึ่งอาจเกิดการอุดตันจนทำให้เกิดสิวอักเสบได้จาก

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Dermatology) กล่าวว่า สิว คือโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อมีอาการรุนแรง นอกจากนี้สิวที่เกิดขึ้นบนใบหน้า จะส่งผลกระทบต่อการนับถือตนเอง ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเป็นบนใบหน้า จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจุบันมีวิธีการรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพหลายวิธี ที่ช่วยลดจำนวนสิวที่เกิดขึ้น และลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นจากสิว

อาการของสิว

สิวสามารถพบได้เกือบทุกที่ในร่างกาย แต่มักเกิดขึ้นบนใบหน้า หลัง คอ หน้าอก และไหล่

โดยทั่วไปจะสังเกตเห็นตุ่มสิวเป็นสีขาว หรือสีดำ โดยทั้งสิวหัวขาว (Whiteheads) และสิวหัวดำ (Blackheads) เรียกอีกอย่างได้ว่า สิวอุดตัน (Comedones)

  • สิวหัวดำ คือสิวที่มีรูเปิดที่ผิวหนัง เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศทำให้ลักษณะภายนอกกลายเป็นสีดำ หรือเรียกว่า สิวอุดตันหัวเปิด
  • สิวหัวขาว คือสิวที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ลักษณะภายนอกเป็นสีขาว เรียกว่า สิวอุดตันหัวปิด

แม้ว่าสิวหัวขาวและสิวหัวดำจะเป็นสาเหตุของรอยแผลเป็นที่พบได้บ่อยในโรคสิว แต่ก็ยังมีสิวประเภทอื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ สิวอักเสบ สิวชนิดนี้โอกาสทำให้เกิดแผลเป็นบนผิวหนังได้มากกว่า โดยสามารถแบ่งชนิดของสิวอักเสบได้ ดังนี้

  • สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papules) มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ขนาดเล็ก สีแดง เกิดจากการอักเสบ หรือการติดเชื้อที่บริเวณรูขุมขน
  • สิวหัวหนอง (Pustules) มีลักษณะเป็นตุ่มสิวสีแดง ขนาดเล็ก แต่ที่บริเวณหัวสิวมีหนองสีขาวนูนขึ้นมา
  • สิวอักเสบแดงเป็นก้อน (Nodules) มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง ขนาดใหญ่ เป็นไตแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง และมีอาการเจ็บ
  • สิวซีสต์ (Cysts) มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง ขนาดใหญ่ อยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บมาก และมีหนองอยู่ภายใน

สาเหตุของสิว

ในแต่ละรูของผิวหนัง จะมีรูเปิดเข้าสู่รูขุมขน (Follicle) ซึ่งเป็นที่อยู่ของขน (Hair) และต่อมไขมัน (Sebaceous gland) โดยต่อมไขมันจะทำหน้าที่หลั่งไขมัน (Oil หรือ Sebum) ซึ่งจะเดินทางผ่านขนขึ้นสู่รูเปิดบนผิวหนังของคุณ ไขมันที่สร้างขึ้นนี้ จะทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มและช่วยไม่ให้ผิวแห้ง

สิวจะเกิดขึ้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในกระบวนการสร้างไขมัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • มีการสร้างไขมันออกมามากเกินไป
  • มีการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในรูขุมขน
  • มีแบคทีเรียเจริญเติบโตขึ้นในรูขุมขน

ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดตุ่มสิวขึ้น โดยสิวจะเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียเจริญเติบโตในรูขุมขนที่อุดตัน ร่วมกับการที่น้ำมันไม่สามารถระบายออกสู่ภายนอกรูขุมขนได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นสิว

ในปัจจุบันพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดสิว มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเมื่อโตเป็นวัยรุ่น หรือมีการตั้งครรภ์
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือยาสเตียรอยด์บางชนิด
  • การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลทรายขาวหรือคาร์โบไฮเดรตปริมาณสูงเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง มันฝรั่งทอด
  • มีพ่อแม่เป็นสิวมาก่อน

ช่วงวัยรุ่นคือช่วงที่มีโอกาสเป็นสิวมากที่สุด เพราะในช่วงนี้ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมาก ที่กระตุ้นการผลิตน้ำมันในรูขุมขน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิว แต่สิวที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นจะหายไปได้เอง หรือมีอาการดีขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

การวินิจฉัยโรคสิว

หากคุณมีอาการของสิว แพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจสภาพผิวหนังของคุณ เพื่อระบุชนิดของสิวและความรุนแรงของโรค เพื่อช่วยเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

การรักษาสิว

การรักษาด้วยตนเอง

คุณสามารถใช้วิธีต่อไปนี้ในการดูแลตนเองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดสิวและเพื่อรักษาสิว

  • ทำความสะอาดผิวด้วยสบู่อ่อนทุกวัน เพื่อกำจัดน้ำมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกบนผิว
  • สระผมเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงไม่ให้แชมพูโดนใบหน้า
  • ใช้เครื่องสำอางที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (Water-Based) หรือมีฉลากระบุว่าไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Noncomedogenic หรือ Non Pore-Clogging)
  • ไม่บีบสิว หรือกดสิว ซึ่งเป็นการเพิ่มการแพร่กระจายของแบคทีเรียและน้ำมันส่วนเกิน
  • ไม่สวมหมวก ไม่สวมผ้าพันศีรษะแน่น
  • ไม่สัมผัสใบหน้าของตนเอง

การรักษาสิวด้วยการใช้ยา

หากการรักษาด้วยตนเองไม่ช่วยให้อาการของสิวดีขึ้น ก็อาจใช้ยาเพื่อช่วยในรักษา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา โดยยาหลายชนิดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยเปิดรูขุมขน และลดปริมาณน้ำมันบนผิวหนัง ได้แก่

  • Benzoyl Peroxide เป็นยาที่มีทั้งรูปแบบครีมและรูปแบบเจล ซึ่งจะช่วยให้สิวที่เป็นอยู่แห้งและป้องกันการเกิดสิวใหม่ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิวด้วย
  • Sulfur (กำมะถัน) เป็นสารตามธรรมชาติมีกลิ่นเฉพาะตัว พบในโลชั่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว และแผ่นมาสก์บางยี่ห้อ
  • Resorcinol เป็นสารที่ไม่เป็นที่นิยม ใช้สำหรับกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว
  • Salicylic Acid พบได้ในสบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสำหรับผู้ที่เป็นสิว โดยจะช่วยป้องกันการอุดตันของรูขุมขน

แม้จะรักษาด้วยยาข้างต้นแล้ว แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ในกรณีนี้คุณอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ซึ่งแพทย์จะประเมินอาการของโรค จ่ายยาเพื่อรักษาสิวและป้องกันการเกิดแผลเป็น ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ชนิดรับประทาน หรือชนิดทาบนผิวหนัง ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิวและช่วยลดอาการอักเสบ โดยทั่วไปยาปฏิชีวนะจะใช้ในเวลาสั้นๆ ดังนั้นคุณจึงไม่มีความเสี่ยงต่อการดื้อยา และไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ยาทาบนผิวหนัง เช่น Retinoic Acid หรือ Benzoyl Peroxide ที่มีความเข้มข้นสูง ฤทธิ์ของยาจะช่วยลดการผลิตน้ำมันและช่วยให้รูขุมขนเปิดออก
  • ยาคุมกำเนิด หรือ Spironolactone เพื่อควบคุมฮอร์โมนในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว โดยจะลดการผลิตน้ำมันลงในกรณีที่เป็นสิวจากฮอร์โมน
  • ยา Isotretinoin เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอ (Vitamin-A-Based Medication) ซึ่งใช้ในการรักษาสิวอักเสบแดงเป็นก้อน (Nodules) ที่มีอาการรุนแรง ยานี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ และควรใช้เฉพาะกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผลเท่านั้น

สำหรับการรักษาสิวที่มีความรุนแรง และการป้องกันการเกิดแผลเป็น แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติม โดยจะเกี่ยวข้องกับการกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว การลดการผลิตน้ำมัน และการเปิดรูขุมขนลดการอุดตัน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การใช้แสงรักษาสิว (Photodynamic Therapy) : เป็นการใช้ยาร่วมกับการฉายแสงชนิดพิเศษหรือเลเซอร์ เพื่อลดการผลิตน้ำมันและลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย อาจมีเลเซอร์อื่นๆ ที่ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของสิวหรือรอยแผลเป็นได้
  • การกรอหน้า (Dermabrasion) : เป็นกระบวนการเพื่อกำจัดผิวหนังชั้นบนสุดออก (ชั้นหนังกำพร้า) โดยการใช้แปรงลวดกรอลงบนผิวหนัง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการรักษารอยแผลเป็นจากสิว และยังมี Microdermabrasion ซึ่งเป็นการรักษาที่อ่อนโยนกว่าสำหรับช่วยเปิดรูขุมขนและช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
  • การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peel) : เป็นกระบวนการลอกผิวหนังชั้นบนสุดออก (ชั้นหนังกำพร้า) ซึ่งจะทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น การลอกผิวออกยังช่วยเปิดรูขุมขนและช่วยให้แผลเป็นจากสิวในระดับรุนแรงน้อยดีขึ้นได้

ถ้าเป็นสิวซีสต์ขนาดใหญ่ แพทย์อาจแนะนำให้คุณฉีดยา Cortisone ที่เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของสิวและช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น

แนวโน้มในอนาคตของผู้ที่เป็นสิว

โดยทั่วไปแล้วการรักษาสิวมักประสบความสำเร็จ โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นอย่างชัดเจนใน 6 - 8 สัปดาห์หลังเริ่มการรักษา หากพบการกลับมาเป็นซ้ำของสิว (ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย) อาจต้องทำการรักษาเพิ่มเติม หรือใช้เวลาในการรักษานานขึ้น

การป้องกันการเกิดสิว

แม้ว่าการป้องกันการเกิดสิวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่เมื่อคุณรักษาสิวแล้ว คุณสามารถปฏิบัติตนด้วยขั้นตอนต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดสิวใหม่ ดังนี้

  • ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ปราศจากน้ำมัน (Oil-free cleanser)
  • ใช้ครีมที่ช่วยกำจัดน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนัง ซึ่งมีขายทั่วไปตามร้านขายยา
  • หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า และการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน
  • ล้างเครื่องสำอาง และล้างหน้าให้สะอาดก่อนเข้านอน
  • อาบน้ำหลังออกกำลังกายเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลดการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาว
  • ลดความเครียด และหาวิธีจัดการความเครียดให้กับตนเอง

ที่มาของข้อมูล

Darla Burke, What Causes Acne? (https://www.healthline.com/symptom/acne), May 25, 2018.


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acne - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/acne/treatment/)
How to Get Rid of Acne (Pimples) Causes, Symptoms & Home Remedies. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/acne/article.htm)
Acne: Causes, treatment, and tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/107146)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาคุมรักษาสิว
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาคุมรักษาสิว

หาคำตอบว่ายาคุมกำเนิดสามารถช่วยรักษาสิวได้อย่างไร แล้วประสิทธิภาพการคุมกำเนิดของมันจะดีหรือไม่ ผู้ชายกินแล้วจะมีผลข้างเคียงไหม

อ่านเพิ่ม
เลเซอร์สิว ดีไหม? ราคาประมาณเท่าไหร่? เลเซอร์สิวที่ไหนดี?
เลเซอร์สิว ดีไหม? ราคาประมาณเท่าไหร่? เลเซอร์สิวที่ไหนดี?

รวมราคาเลเซอร์สิว จาก 10 คลินิก พร้อมข้อควรระวังน่ารู้ ก่อนเข้ารับบริการ

อ่านเพิ่ม