กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Miracid (ตัวยา Omeprazole)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาโอเมพราโซล (Omeprazole) อยู่ในกลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรด โดยชนิดรับประทานจะมีตัวยาโอเมพราโซล 20 มิลลิกรัม ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เช่น Miracid, Nocid, Ocid, Omeprazole GPO หรือ Omezole
  • ข้อบ่งใช้ยาโอเมพราโซลจะแตกต่างกันไปตามชนิด และเป้าหมายในการรักษา คุณควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
  • ในกรณีที่ลืมรับประทานยาโอเมพราโซล ให้ข้ามมื้อที่ลืม โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
  • ระวังการใช้ยาโอเมพราโซลในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส ยาต้านเชื้อเอชไอวี ยาคลายกังวลกลุ่มเบนโซไดอะซีนพีน และยาต้านการชัก
  • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะ ผื่นแดง มึนงง อ่อนเพลีย ไอ ปวดหลัง ปวดท้อง ซึมเศร้า อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย และกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมีอาการเหล่านี้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

โอเมพราโซล (Omeprazole) อยู่ในกลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (Gastric acid secretion inhibitor) โดยขนาดยาแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ยาเป็นครั้งแรก คือ โอเมพราโซลขนาด 20 มิลลิกรัม

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Desec, Duogas, Gaster, Gomec, Lomac, Losec MUPS, Mepracid, Miracid, Nocid, Ocid, Omeprazole GPO, Omeprazole March Pharma, Omezole, Omicap, Omlek, O-Sid, Prazole, Stomec, Ulpracid, Vescomecid และ Zefxon

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาโอเมพราโซลคือ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรตอน/โพแทสเซียม เอทีพีเอส (H+/K+ ATPase) ที่เป็นเอนไซม์อยู่บนพาไรทอลเซลล์ (Parietal cell) ซึ่งทำหน้าที่สร้างกรดเกลือ (Hydrochloric acid: HCI) ในกระเพาะอาหาร 

ส่งผลให้ยับยั้งการหลั่งกรด และยับยั้งปริมาตรน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร 

นอกจากนี้โอเมพราโซลยังเพิ่มระดับแกสตริน (Gastrin) เนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหารที่มีหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย กรดไฮโดรคลอริก และการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน รวมถึงควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอีกด้วย

ข้อบ่งใช้

การใช้ยาโอเมพราโซลจะขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของโรค โดยแพทย์ หรือเภสัชกรจะเป็นผู้ประเมินว่า ผู้ป่วยต้องใช้ยาขนาดเท่าไร และระยะเวลาในการใช้ยานานแค่ไหน  

หากเป็นยาในรูปแบบแคปซูลที่ปลดปล่อยยาแบบ Delayed-release ควรรับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง โดยให้กลืนทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว แบ่ง หรือบดยา ส่วนในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน สามารถให้ยาโอเมพราโซลโดยผสมกับน้ำที่เป็นกรด เช่น น้ำส้ม ได้

ข้อบ่งใช้ยาโอเมพราโซลชนิดรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD) ในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และอาจรับประทานต่อเนื่องไปอีก 4-8 สัปดาห์หากอาการยังไม่ดีขึ้น

  • รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบชนิดกลับมาเป็นซ้ำ ขนาดรับประทาน 40 มิลลิกรัมต่อวัน และตามด้วยขนาด 20 มิลลิกรัมต่อวันหลังจากรักษาอาการจนหายดีแล้ว

  • รักษากรดไหลย้อน (Acid reflux) ขนาดรับประทาน 10 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 1 ครั้งก่อนอาหารเช้า เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อเอชไพโลโร (Helicobacter Pylori: H. Pylori )

จะใช้สูตรยา Triple therapy คือ การใช้ยา 3 ตัวร่วมกันในการฆ่าเชื้อ สามารถรับประทานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

  • โอเมพราโซลขนาดยา 20 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง หรือ 40 มิลลิกรัมวันละครั้ง ร่วมกับอะมอกซีซิลิน (Amoxicillin) 500 มิลลิกรัม และเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง

  • รับประทานโอเมพราโซลร่วมกับคลาริโธรไมซิน (Clarithromycin) 250 มิลลิกรัม และเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 400 มิลลิกรัม หรือทินิดาโซล (Tinidazole) 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

  • รับประทานโอเมพราโซลร่วมกับอะมอกซีซิลิน 1000 มิลลิกรัม และคลาริโธรไมซิน 500 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลา 7-10 วัน

ข้อบ่งใช้สำหรับอาการกลืนลำบากเนื่องจากกรด 

  • ขนาดรับประทาน 10-20 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนอาหารเช้า เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากการใช้ยากลุ่ม NSAID 

  • ขนาดรับประทาน 20 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนอาหารเช้า

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไป โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคกระดูกพรุน โรคลมชัก โรคตับ และโรคหัวใจ
  • ยาโอเมพราโซลจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหัก ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ และภาวะขาดวิตามินบี12 ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันเกิน 1 ปี
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
  • ระวังการใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
  • ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส ยาต้านเชื้อเอชไอวี ยาคลายกังวลกลุ่มเบนโซไดอะซีนพีน และยาต้านการชัก
  • จะต้องแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกร เกี่ยวกับยาอื่นๆ ที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงสมุนไพร และวิตามิน เพราะอาจทำปฏิกิริยากับยาโอเมพราโซลได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ยาโอเมพราโซลอาจก่อให้เกิดการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และผื่นขึ้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป หากอาการไม่รุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องหยุดยา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที

ส่วนอาการที่ต้องหยุดยา และรีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • บวมที่ใบหน้า เปลือกตา และริมฝีปาก
  • หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • เป็นลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก มีจ้ำตามผิวหนัง หรือเลือดออกผิดปกติ

ข้อมูลการใช้ยาในผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในผู้หญิงตั้งครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้หญิงตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยานี้

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

  • เก็บยาในภาชนะบรรจุเดิมตามที่ได้รับมา และเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
  • ควรเก็บยาในที่แห้ง อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส และเก็บให้พ้นจากแสงแดด

ยาโอเมพราโซล สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง จึงไม่ควรซื้อยา หรือเพิ่มขนาดยาด้วยตนเอง หากเกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลังจากใช้ยา ให้หยุดยา และรีบไปพบแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, โอเมพราโซล 20 มิลลิกรัม ชนิดแคปซูลรูปแบบแตกตัวในลำไส้ (http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Drug-information/PIC/Omeprazole_PIL20170315.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)