หากคุณเป็นผู้หญิง คุณอาจคุ้นเคยกับอาการก่อนมีประจำเดือน แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบแพทย์เกี่ยวกับอาการเหล่านี้?
รอบประจำเดือนของผู้หญิงส่วนใหญ่อยู่ที่ระหว่าง 21-35 วัน และมีประจำเดือนครั้งละ 3-7 วัน แต่ก็มีผู้หญิงหลายคนที่มี่รอบของประจำเดือน ระยะเวลา และอาการของแต่ละรอบที่แตกต่างกันไป โดยมีผู้หญิงที่มีประจำเดือนปกติมากถึง 85% ที่มีอาการผิดปกติอย่างๆ น้อย 1 อย่างก่อนมีประจำเดือน
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome and Premenstrual Dysphoric Disorder – PMDD)
อาการก่อนมีประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ รอบเดือน โดยอาจมีอาการได้ตั้งแต่อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นหงุดหงิดง่ายและซึมเศร้า จนถึงอาการที่ส่งผลทางกายเช่นปวดบีบท้องและคัดตึงเต้านม มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีอาการทางอารมณ์และทางกายที่รุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม PMDD (Premenstrual dysphoric disorder)
นายแพทย์ Steven Sondheimer ศาสตราจารย์ด้านสูตินรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในเมืองฟิลาเดลเฟีย ได้กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าทำไมผู้หญิงถึงมีอาการก่อนมีประจำเดือนและทำไมบางคนถึงมีอาการรุนแรงมากกว่าคนอื่น มีข้อมูลล่าสุดบางส่วนที่แสดงว่าอาจมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนและผลของฮอร์โมนต่อตัวรับในสมองที่อาจแตกต่างกันระหว่างบุคคล ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบครัวนี้อาจเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงมีอาการก่อนมีประจำเดือน และบางคนมีอาการรุนแรงมากกว่าคนอื่น
การขาดประจำเดือนและการปวดประจำเดือน
การขาดประจำเดือน (Amenorrhea) เป็นภาวะที่มีการขาดประจำเดือนไปอย่างน้อย 1 ครั้งจากรอบเดือนปกติ โดยสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
- ตั้งครรถ์
- ออกกำลังกายมากเกินไป
- น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
- รับประทานอาหารไม่เพียงพอ
- เครียด
- มีอาการเจ็บป่วยบางอย่าง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ความผิดปกติของฮอร์โมน
หากมีการขาดประจำเดือนมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปจะถือว่าผิดปกติ (ยกเว้นว่าตั้งครรภื) ดังนั้นหากคุณมีการขาดประจำเดือนไปมากกว่า 3 เดือนควรปรึกษาแพทย์ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrheal) เป็นอาการปวดที่สามารถทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ อาการปวดนี้อาจเกิดจากภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (เยื่อบุมดลูกเจริญนอกมดลูก) หรือมีเนื้องอกมดลูกชนิดไม่ร้ายแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา ยาแก้ปวด หรือการผ่าตัดเพื่อช่วยลดอาการ
สาเหตุที่ทำให้มีประจำเดือนผิดปกติ
ประจำเดือนที่ออกมากหรือถี่กว่าปกติ หรือการมีเลือดออกระหว่างรอบเดือน ถือเป็นอาการของความผิดปกติที่คุณควรไปพบแพทย์ สาเหตุที่ทำให้เกิดประจำเดือนผิดปกติอาจประกอบด้วย
- ตั้งครรภ์
- แท้ง
- ท้องนอกมดลูก
- ปัญหาจากการใช้ห่วงคุมกำเนิดหรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆ
- การติดเชื้อ
- มีเนื้องอกมดลูกชนิดไม่ร้ายแรง
- มีติ่งเนื้อในมดลูก
- เป็นมะเร็ง
- ปัญหาอื่นๆ ทางสุขภาพ เช่นความผิดปกติของฮอร์โมน
หากคุณมีเลือดออกในปริมาณที่มากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 1 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

ประจำเดือนมีการเปลี่ยนไปตามวัย
รอบประจำเดือนของผู้หญิงสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต ปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย
- การตั้งครรภ์
- การรับประทานยาฮอร์โมนหรือยาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรอบเดือน
- โรคเรื้อรังบางชนิด
- มีการเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทาน
- มีการเปลี่ยนแปลงในการออกกำลังกาย
- ความเครียด
- อายุมากขึ้น
เมื่อคุณเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุประมาณ 50 ปี คุณจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน เช่น
- ประจำเดือนค่อยๆ ออกน้อยลง หรืออาจจะออกมากกว่าปกติ
- มีการขาดประจำเดือน
- รอบเดือนสั้นลง
- มีอาการก่อนมีประจำเดือนที่เปลี่ยนไป หรือมีอาการก่อนมีประจำเดือนร่วมกับอาการของวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบหรือปัญหาด้านการนอน
รอบเดือนถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงสุขภาพของคุณ ดังนั้นควรใส่ใจ และควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับช่วงเวลา เลือดออกที่ผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือน
- การรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน
- อ่านบทความเกี่ยวกับอาการก่อนมีประจำเดือนทั้งหมด
- อ่านถามและตอบเกี่ยวกับอาการก่อนมีประจำเดือนทั้งหมด