กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อาการปวดศีรษะมีกี่แบบ

เช็กอาการปวดศีรษะแต่ละประเภทเป็นอย่างไร เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดศีรษะมีกี่แบบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปวดศีรษะมี 3 ประเภท แต่ละประเภทมีสาเหตุ อาการ และความรุนแรงแตกต่างกัน
  • ประเภทที่ 1 ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ คือ อาการปวดศีรษะที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ได้แก่ อาการปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดศีรษะที่มาจากความเครียด และปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
  • ประเภทที่ 2 ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากอุบัติเหตุ เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดบริเวณศีรษะและคอ เกิดจากภายในกะโหลกศีรษะ ไม่เกี่ยวกับเส้นเลือด  การปรับสภาพร่างกาย
  • ประเภทที่ 3 ปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมอง ปวดใบหน้า และปวดศีรษะอื่นๆ เช่น การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 
  • นอกจากนี้ยังมีอาการปวดศีรษะที่ควรไปพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะแบบเรื้อรัง ปวดศีรษะแบบรุนแรงและเฉียบพลัน ปวดศีรษะบ่อยครั้ง รวมทั้งมีอาการร่วมแจนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่เกือบทุกคนต้องเคยเผชิญมาก่อน แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า อาการปวดศีรษะมีแบบไหนบ้าง และมักมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ 

International Headache Society แบ่งอาการปวดศีรษะสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน  ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภทที่ 1 อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ 

อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิคือ การปวดศีรษะที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ได้แก่

  • อาการปวดศีรษะไมเกรน ลักษณะอาการเด่น คือ มีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ปวดมากจนถึงขั้นมีอาการเวียนศีรษะ และอาเจียนร่วมด้วย แต่ในบางรายก็อาจปวดศีรษะได้ทั้งสองข้าง และจะปวดแบบมีจังหวะตุ้บๆ อยู่ข้างในติดต่อกันเป็นเวลานาน สาเหตุของไมเกรนมีมากมาย (เช่น การมีประจำเดือน) แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
  • อาการปวดศีรษะที่มาจากความเครียด อาการปวดศีรษะจากความเครียดมักจะทำให้รู้สึกปวดขมับทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้ายกับมีแรงกด หรือความดันบางอย่างจากภายในศีรษะ แต่จะไม่รู้สึกปวดแบบตุ้บๆ ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกปวดที่บริเวณต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ลักษณะอาการเด่น คือ มีอาการปวดบริเวณรอบกระบอกตา มักมีน้ำมูก น้ำตาไหลร่วมด้วย อาการมักเป็นช่วงเวลาเดิมๆ เช่น ช่วงเวลาเดิมของปี นานเป็นสัปดาห์ หรือเดือน จากนั้นจะหายไป แล้วปีถัดไปจะเป็นอีกช่วงเวลาเดิม

ประเภทที่ 2 ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ

  • อาการปวดศีรษะที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บบริเวณศีรษะและคอ
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดบริเวณศีรษะและคอ
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดภายในกะโหลกศีรษะโดยที่ไม่เกี่ยวกับเส้นเลือด เช่น ปวดศีรษะจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง ปวดศีรษะจากเนื้องอกในสมอง 
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้สารเสพติด หรือการขาดสารบางชนิด เช่น การขาดคาเฟอีน
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการติดเชื้อ
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับสภาพร่างกาย (Homeostasis) เช่น ปวดศีรษะจากการดำน้ำ ปวดศีรษะจากการเปลี่ยนแปลงของระดับความสูง เช่น การขึ้นเขา การเดินทางโดยเครื่องบิน
  • อาการปวดศีรษะ/ใบหน้าที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะใกล้เคียง ได้แก่ กระโหลกศีรษะ คอ ตา หู จมูก โพรงจมูก ปาก และ ฟัน เช่น ความผิดปกติที่ฟัน/ฟันผุ ไซนัสอักเสบ และตา เช่น ต้อหิน
  • อาการปวดศีรษะจากอาการทางจิตเวช

ประเภทที่ 3 ปวดศีรษะแบบอื่นๆ 

ปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมอง ปวดใบหน้า และปวดศีรษะอื่นๆ เช่น การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 จากการติดเชื้อไวรัสงูสวัด การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 

นอกจากนี้ยังมีอาการปวดหัวที่แบ่งตามระยะเวลาที่สมควรไปพบแพทย์ ได้แก่

อาการปวดศีรษะที่แบ่งตามระยะเวลาที่สมควรไปพบแพทย์

อาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะติดต่อกันหลายเดือน (นานกว่า 3 เดือน) ใน 1 เดือนจะปวดมากกว่า 15 วัน ร่วมกับมีอาการเป็นไข้ และจะปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่

อาการปวดศีรษะแบบรุนแรงและเฉียบพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการปวดศีรษะชนิดนี้ค่อนข้างรุนแรง เพราะจะรู้สึกปวดเหมือนกับได้รับแรงกระแทกที่ศีรษะรวมถึงมีอาการชาบริเวณใบหน้า ลิ้น และปาก และมีอาการหน้ามืดแบบเฉียบพลัน 

แม้อาการปวดศีรษะจะเป็นอาการที่ใครก็สามารถเป็นได้ แต่หากสังเกตว่า ตนเองมีอาการต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะบ่อยครั้งเกินไปและถี่จนรบกวนชีวิตประจำวัน 
  • ปวดศีรษะและมีอาการร่วม เช่น อาการแขน ขา อ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง

หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ตรวจเช็กความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขอาการเจ็บป่วยได้ทันเวลา และไม่ทำให้อาการปวดศีรษะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของคุณไปมากกว่านี้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Novella, S. (2012, March 14), Acupuncture for migraine. Science-based medicine (https://sciencebasedmedicine.org/acupuncture-for-migraine/), 17 December 2019.
National Health Service, Headaches (https://www.nhs.uk/conditions/headaches/), 17 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป