กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการของฟันผุ

จะรู้ได้อย่างไรว่าฟันผุ อ่านเลย
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการของฟันผุ

ฟันผุ คือ โรคในช่องปากอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่ทำลายสารเคลือบฟัน และเนื้อฟัน สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก แล้วฟันผุก่อให้เกิดอาการอะไรได้บ้าง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีฟันผุ และมีวิธีการรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

อาการของฟันผุ

โดยปกติแล้ว ฟันผุจะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏให้เห็นเลย แต่ถ้ารอยผุนั้นลึกเข้าใกล้โพรงประสาทฟัน หรือทะลุโพรงประสาทฟันไปแล้ว ก็จะมีอาการปวดขึ้นมาได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จะรู้ได้อย่างไรว่าฟันผุ?

ในระยะเริ่มแรก คุณจะเห็นฟันผุเป็นรอยโรคสีขาวขุ่นเมื่อทำการเช็ดฟันให้แห้ง เมื่อปล่อยรอยผุดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จะเห็นหลุมสีน้ำตาล ซึ่งมักจะพบได้ตามหลุมร่องฟันหรือซอกฟัน  แต่ถ้าหากคุณปล่อยไว้จนกระทั่งรอยผุลึกจนใกล้ถึงชั้นเนื้อฟัน (dentin) คุณอาจจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน แต่ถ้าคุณปล่อยให้รอยผุลึกจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน (Dental pulp) คุณจะเริ่มมีอาการเหล่านี้

1. ปวดฟันเรื้อรัง

อาการปวดฟัน มักจะเป็นอาการแสดงว่ากำลังเกิดฟันผุ โดยเฉพาะเมื่อฟันผุสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ซึ่งอาการปวดนั้นอาจเกิดจากฟันหรือเหงือกก็ได้ บางครั้งอาจมีอาการปวดแปล๊บอย่างฉับพลัน หรือบางครั้งอาจจะเป็นการปวดตื้อๆ ก็ได้

2. ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร

หากคุณเคี้ยวอาหารแล้วรู้สึกเจ็บ อาจจะแสดงว่าฟันนั้นแตกหรือฟันผุ หากคุณมีอาการปวดแปล๊บอย่างฉับพลันหลังจากการกัดแอปเปิ้ลหรือเคี้ยวอาหาร แสดงว่าเส้นประสาทที่อยู่ในฟันนั้นอาจจะติดเชื้อและอยู่ในระหว่างการเสื่อมสลาย 

การสัมผัสบริเวณที่ปวดนั้นอาจจะช่วยให้คุณสามารถวัดระดับความรุนแรงของอาการปวดและตัดสินใจว่าจะต้องไปพบทันตแพทย์หรือไม่ หากคุณไม่สามารถแตะได้ ควรนัดพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน

3. มีกลิ่นปากหรือได้รสชาติไม่ดีในปาก

แบคทีเรียในปาก สามารถทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติที่ไม่ดีในปากได้ นอกจากนั้นกลิ่นปากอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคเหงือกที่เกิดจากการสะสมหินปูนในปากและทำให้เกิดการระคายเคืองที่เหงือกได้ 

4. ไวต่ออุณหภูมิ

ฟันผุ มักจะทำให้ฟันไวต่อของเหลวและอาหารที่ร้อนหรือเย็น ทำให้กินอาหารได้ลำบาก เนื่องจากฟันทุกซี่นั้นมีเส้นประสาทอยู่ภายในและยังมีเส้นเลือดที่ทำให้ฟันนั้นมีการเจริญเติบโตและทำงานได้ เวลาที่รูฟันผุนั้นขนาดใหญ่ขึ้น และเข้าใกล้เส้นประสาทมากขึ้นก็จะทำให้เกิดอาการไวต่ออุณหภูมิได้มากขึ้นตามไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5. เหงือกบวม

เหงือกบวม อาจเป็นอาการของฟันผุได้ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องปวดก็ตาม หากคุณมีฟันผุในชั้นลึกๆ จะทำให้เส้นประสาทนั้นถูกทำลายหรือตายไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่เส้นประสาทและทำให้บวมได้ 

ในบางคนอาจมีอาการเหงือกบวมแต่ไม่เคยเจ็บ แต่มันก็เกิดจากการติดเชื้อเช่นเดียวกัน ซึ่งหากคุณสังเกตว่ามีเหงือกบวม ควรไปพบทันตแพทย์เพราะอาจจะเป็นสัญญาณที่แสดงว่ามีฟันผุหรือมีการติดเชื้อที่เหงือก

6. ปวดฟันเวลาที่มีการเปลี่ยนความดัน

หากคุณเคยมีอาการปวดฟันเวลาที่เครื่องบินขึ้นหรือเวลาดำน้ำลึก มันอาจจะเกิดจากฟันผุ โดยการเปลี่ยนระดับความดันอากาศนั้นจะทำให้เส้นประสาทภายในฟันที่ผุ เกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดอาการปวดได้ หากคุณมีอาการปวดดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาฟันผุก่อนที่จะผุมากขึ้น

จะเห็นได้ว่า ฟันผุไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย แต่เรากลับละเลยในบางครั้ง และหากอาการในช่องปากของคุณใกล้เคียงกับอาการฟันผุที่กล่าวมาขั้นต้น แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการ และหาแนวทางในการรักษาต่อไป 

สำหรับคนที่ไม่ได้มีฟันผุ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ก็จะช่วยคุณปกป้องและรักษาฟันของคุณจากฟันผุตั้งแต่เริ่มต้น ลดการสูญเสียฟันจากฟันผุได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เคลือบหลุมร่องฟันคืออะไร เจ็บไหม ใครต้องทำ? (https://hdmall.co.th/c/dental-sealant).
The american dental association caries classification system for clinical practice: A report of the american dental association council on scientific affairs American Dental Association Council on Scientific Affairs, Novy B.B., Zeller G.G., Hale R., Hart T.C., Truelove E.L., Ekstrand K.R., (...), Tran C. (2015) Journal of the American Dental Association, 146 (2) , pp. 79-86.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป