ติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร?

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis หรือ Septicemia) คือการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย โดยผู้ป่วยมักเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน จากนั้นแบคทีเรียจึงแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือด และก่อให้เกิดความผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น มีการอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก และมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น

อาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

อาการเริ่มแรกที่จะปรากฏอย่างรวดเร็วหลังการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากไม่รีบไปพบแพทย์ อาการจะรุนแรงขึ้น โดยจะเริ่มมีจุดเลือดออกแดงๆ หรือรอยฟกช้ำขึ้นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกมึนงง สับสน และค่อยๆ รู้สึกตัวน้อยลง จนถึงขั้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นต้นเหตุ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียก่อโรคเข้าสู่ร่างกายและแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ได้แก่

  • มีการติดเชื้อที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา แบคทีเรียอาจเพิ่มจำนวนและลุกลามไปทั่วร่างกายผ่านทางกระแสเลือดได้ ตัวอย่างโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้บ่อย ได้แก่
  • มีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดซึ่งทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
  • ติดเชื้อจากการรักษาในโรงพยาบาล กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลบางครั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นการติดเชื้อได้ เช่น การผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในโรงพยาบาล ซึ่งมักเป็นเชื้อดื้อยาที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยยาปฏิชีวนะธรรมดา และอาจลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
  • ติดเชื้อจากการใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะ การใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือการสอดท่อทางหลอดเลือดดำ ซึ่งหากอุปกรณ์ดังกล่าวมีการปนเปื้อนเชื้อโรค ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้
  • ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลขนาดใหญ่ เช่น มีแผลเปิดจากอุบัติเหตุ หรือเป็นแผลทั่วตัวจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ซึ่งดูแลทำความสะอาดแผลลำบาก ทำให้อาจเกิดการติดเชื้อผ่านผิวหนังได้
  • เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากเด็กและผู้สูงอายุจะมีร่างกายอ่อนแอ และหากยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดได้สูงกว่าช่วงวัยอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อในกระแสเลือด

ภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่

  • ลิ่มเลือดแข็งตัวทั่วร่างกาย หรือ Disseminated Intravascular Coagulation (DIC) โดยลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นจะไปอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง และเกิดเนื้อเยื่อตายเฉียบพลันได้
  • การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายผิดปกติ ซึ่งเป็นผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้อวัยวะสำคัญในร่างกายล้มเหลว เช่นไต ปอด หัวใจ และสมอง เป็นต้น
  • การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS) เนื่องจากปอดได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ 

การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

  • การให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวนะจึงเป็นการรักษาหลัก โดยแพทย์มักให้ยาด้วยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ชนิดของยาที่ใช้จะต่างกันไปตามชนิดของเชื้อก่อโรค และลักษณะการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งระยะเวลาการให้ยาจะอยู่ที่ 1–2 สัปดาห์
  • การให้ยาเพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดจะมีอาการชีพจรเต้นเร็วและความดันโลหิตต่ำ แพทย์จึงต้องให้ยาเพิ่มความดันซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงด้วย
  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือการให้น้ำเกลือ เป็นการป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ เพื่อไม่ให้หัวใจและไตล้มเหลว รวมถึงเป็นการรักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติด้วย
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ จะใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติและมีปัญหาในการหายใจ โดยแพทย์จะใส่หน้ากากช่วยหายใจเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น
  • การผ่าตัด อาจต้องทำในกรณีที่เกิดแผลติดเชื้อภายในร่างกาย และเกิดการลุกลามจนทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น เช่น การมีฝีในปอด หรือมีไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

เบื้องต้นคุณควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรคต่างๆ โดยการรักษาสุขอนามัยให้ดี และไม่สัมผัสกับแหล่งที่มีเชื้อก่อโรค รวมทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานให้ดีขึ้น โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหากสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ก่อนที่เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด 


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sepsis: Risk factors, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/305782)
Sepsis (Blood Infection): Symptoms, Causes & Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/sepsis-septicemia-blood-infection#1)
Symptoms of sepsis - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/sepsis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป