โรคลิ้นเปื่อยเป็นโรคที่มีอาการปวด และมักปรากฏบริเวณลิ้น มีขนาดแตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลารับประทานอาหาร
สาเหตุ
โปรโมชั่นทำฟัน ใกล้ ดี คุ้ม
ซื้อวันนี้ดี ใช้วันหลังได้ ก่อนโปรโมชั่นหมด! คลินิกเราคัดมาแล้วว่าได้มาตรฐาน บริการดี ทั่วกรุงเทพ

โรคลิ้นเปื่อยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. อาการเจ็บปวด
การบาดเจ็บอันเกิดจากการกัดโดนลิ้นโดยไม่ตั้งใจ,กินอาหารร้อน,การแปรงฟันที่ไม่ถูกต้อง,เคี้ยวอาหารแข็ง และการจับยึดอุปกรณ์ทันตกรรมที่ไม่ดี เช่น เหล็กดัดฟันสามารถทำให้เกิดโรคลิ้นเปื่อยได้ ฟันเก หรือฟันคุด ก็อาจขูดลิ้นจนเป็นสาเหตุของแผลและอาการเปื่อย
2. ความเครียด
ความเครียดจะปล่อยสารเคมีเข้าสู่ร่างกายซึ่งส่งผลไปยังทั้งร่างกาย และทำให้เกิดอาการเปื่อยบริเวณลิ้นได้
3. อาหาร
เราจัดส่งยาถึงบ้านคุณ!
ส่งด่วนภายใน 1 วันในกรุงเทพ หรือส่งธรรมดาด้วย EMS ใน 2-3 วันทั่วประเทศ

การรับประทานอาหารเช่น ผักและผลไม้ จำพวกส้ม มะนาวมะเขือเทศ อาจทำให้เกิดการเปื่อยบริเวณลิ้น ช็อกโกแลต ถั่ว และอัลมอนด์ ก็อาจช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ้นเปื่อย การขาดวิตามินบี 6 อาจเป็นสาเหตุของอาการปากเปื่อยที่ส่งผลไปยังลิ้นด้วยเช่นกัน
4. การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่สามารถทำให้ลิ้นเกิดการระคายเคือง การเลิกสูบบุหรี่ก็อาจส่งผลเช่นเดียวกัน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นครั้งแรกแล้วเลิกก็อาจทำให้เกิดโรคลิ้นเปื่อยได้ด้วย
5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสามารถเป็นสาเหตุของอาการเปื่อย เช่นผู้หญิงในช่วงของการมีประจำเดือน
6. การเจ็บป่วยทางการแพทย์
การติดเชื้อโรคงูสวัด อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณลิ้น อาการเจ็บปวดบริเวณลิ้นถือเป็นลักษณะประจำของโรคของมือ,เท้า และปาก เช่นกัน บางครั้งตุ่มเล็กๆที่เริ่มก่อตัวบริเวณลิ้นอาจบ่งชี้ว่าผู้ป่วยเริ่มเป็นวัณโรค โรคบางชนิดเช่น โรคเบเซ็ท,โรคโครห์น,โรคช่องท้อง,โรคเพมฟิกัสวัลกาลิส,ก็เป็นสาเหตุของอาการปากเปื่อย ซึ่งรวมถึงลิ้นด้วย บางคนอาจจะเจ็บปวดจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเปื่อยได้เช่นกัน
7. ผลกระทบจากการใช้ยา
ในบางครั้งการใช้ยาเช่นยาแก้ปวด หรือยาที่ใช้ในการรักษาโรคอาจทำให้เกิดอาการลิ้นเปื่อยได้
8. มะเร็งในช่องปาก
โรคลิ้นเปื่อยอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งช่องปากได้ มะเร็งช่องปากส่วนใหญ่เริ่มต้นจากบริเวณลิ้น ในช่วงแรกอาจจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใดแต่ในช่วงที่โรคพัฒนาแล้ว จะเจ็บปวดจนไม่สามารถทนได้ ควรจะพบแพทย์เมื่อเกิดอาการลิ้นเปื่อยเป็นระยะเวลานาน
การรักษา
บ่อยครั้งที่โรคเปื่อยอาจจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ บางครั้งอาจจำเป็นที่จะได้รับการรักษา โรคลิ้นเปื่อยอาจรักษาได้ด้วยการพัฒนาการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก การใช้เจลหรือสเปรย์พ่น ก็อาจช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ การใช้น้ำยาบ้วนปากจะช่วยร่นระยะเวลาการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ การใช้วิตามินเสริมก็มีส่วนช่วยในการรักษาการขาดสารอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
ควรหาวิธีการรักษาโดยทันทีหากมีอาการเปื่อยพร้อมกับการเป็นไข้และอาการบวมของลิ้น ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง เมื่อโรคลิ้นเปื่อยเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานควรเข้าทดสอบว่าเป็นโรคมะเร็งช่องปากหรือไม่