กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Vancomycin (แวนโคไมซิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

ข้อมูลภาพรวมของวาเลอเรียน

วาเลอเรียน (Valerian) เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของยุโรปและบางประเทศของเอเชีย แต่ก็สามารถเติบโตบนอเมริกาเหนือได้เช่นกัน ส่วนของพืชที่ใช้ทำยาคือส่วนรากของต้นวาเลอเรียน

วาเลอเรียนมักถูกใช้รักษาภาวะผิดปรกติโดยเฉพาะภาวะนอนไม่หลับ (insomnia) วาเลอเรียนยังถูกนำไปรับประทานรักษาภาวะวิตกกังวลและความเครียดทางจิตวิทยา แต่ก็ยังคงมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสรรพคุณของวาเลอเรียนที่จำกัดอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในอุตสาหกรรมนั้นได้มีการนำสารสกัดและน้ำมันจากวาเลอเรียนไปใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม

วาเลอเรียนออกฤทธิ์อย่างไร?

วาเลอเรียนออกฤทธิ์คล้ายกับยากล่อมประสาทกับสมองและระบบประสาท

การใช้และประสิทธิภาพของวาเลอเรียน

ภาวะที่อาจใช้วาเลอเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะนอนไม่หลับ (insomnia) แม้ว่ายังคงมีข้อมูลงานวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่ แต่การศึกษาส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการทานวาเลอเรียนสามารถลดระยะเวลาที่ใช้เพื่อหลับได้ประมาร 15-20 นาที อีกทั้งวาเลอเรียนยังอาจเพิ่มคุณภาพการนอนหลับขึ้นด้วย โดยการใช้สารสกัดวาเลอเรียนที่ปริมาณ 400-900 mg ก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมงนั้นจะให้ผลที่ดีที่สุด และอาจต้องมีการใช้ต่อเนื่องนานหลายวันถึงสี่สัปดาห์ก่อนที่ผู้ใช้จะเห็นผล การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าวาเลอเรียนสามารถเพิ่มการนอนได้มากขึ้นหากใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นอย่างสะระแหน่ฝรั่งหรือฮอปส์ การทานวาเลอเรียนยังอาจเพิ่มคุณภาพการนอนของผู้ที่กำลังพยายามเลิกยานอนหลับเช่นกัน กระนั้นงานวิจัยบางชิ้นก็กล่าวว่าวาเลอเรียนไม่ได้ช่วยบรรเทาภาวะนอนไม่หลับได้เร็วเท่ากับการใช้ยานอนหลับแต่อย่างใด
  • อาการหมดประจำเดือน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานรากวาเลอเรียน 675-1060 mg ทุกวันนาน 8 สัปดาห์สามารถลดความรุนแรงและความถี่ของอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้วาเลอเรียนรักษาได้หรือไม่

  • ผลข้างเคียงทางจิตเวชจากยารักษา HIV Efavirenz คือยาที่ใช้รักษาภาวะติดเชื้อ HIV ผู้ที่กำลังใช้ยาตัวนี้อาจประสบกับผลข้างเคียงทางจิตเวชได้ โดยงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานรากวาเลอเรียนทุกคืนนาน 4 สัปดาห์สามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับและความวิตกกังวลของผู้ที่กำลังใช้ยา Efavirenz ได้ แต่วิธีนี้อาจไม่สามารถป้องกันความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลของวาเลอเรียนกับภาวะวิตกกังวลที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานวาเลอเรียนสามารถลดความวิตกกังวลได้ อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาอื่นที่กล่าวว่าวาเลอเรียนไม่ได้มีผลเช่นนี้ แต่ผลจากข้อมูลเหล่านี้อาจจะมีความแตกต่างกันเนื่องจากปริมาณยาที่ใช้หรือประเภท/ความรุนแรงของภาวะที่กำลังรักษาอยู่ก็เป็นได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวาเลอเรียนร่วมกับเซนจอห์นเวิร์ตจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ โดยการทานวาเลอเรียนปริมาณที่สูง (1000 mg) ร่วมกับเซนจอห์นเวิร์ตจะช่วยให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้เร็วกว่าการใช้ในปริมาณต่ำ (500 mg)
  • ปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวาเลอเรียน 255 mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลาสองรอบประจำเดือนจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิงลง
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual disorders (PMS)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานวาเลอเรียน 255 mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลาสองรอบประจำเดือนจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิงลง
  • กระสับกระส่าย (Restlessness) งานวิจัยกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ยาสารสกัดจากรากวาเลอเรียน 160 mg และสารสกัดจากใบสะระแหน่ 80 mg หนึ่งหรือสองเม็ดหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันอาจช่วยลดอาการกระสับกระส่ายรุนแรงของเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีได้ 
  • ภาวะเครียด งานวิจัยกล่าวว่าการทานวาเลอเรียน 600 mg นาน 7 วันก่อนเข้าสอบความเครียดจะช่วยลดความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, และความกดดันภายใต้ความเครียดลงได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการทานวาเลอเรียน 100 mg ก่อนออกไปปราศรัยจะช่วยลดความกังวลของผู้พูดได้ การศึกษาหนึ่งพบว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวาเลอเรียน 360 mg กับสะระแหน่ 240 mg เพียงโดสเดียวก็สามารถลดความกังวลได้ แต่เมื่อบริโภควาเลอเรียน 1080 mg กับสะระแหน่ 720 mg ในปริมาณสูงกลับจะยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลมากขึ้น
  • โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD))
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome (CFS))
  • ชัก (Convulsions)
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ปวดศีรษะ
  • อาการหมดประจำเดือนอย่างร้อนวูบวาบและวิตกกังวล
  • อาการสั่นไม่รุนแรง
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • กระเพาะปั่นป่วน
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของวาเลอเรียนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของวาเลอเรียน

วาเลอเรียนถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อบริโภคในปริมาณที่ใช้กันในทางการแพทย์ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีงานวิจัยทางคลินิกที่รายงานการใช้วาเลอเรียนอย่างปลอดภัยกับผู้เข้าร่วมการทดลอง 12,000 คนในการศึกษานาน 28 วัน ส่วนระยะเวลาการใช้ในระยะยาวกว่าที่กล่าวไปนั้นยังคงไม่ชัดเจน มีข้อมูลบางส่วนที่กล่าวว่าวาเลอเรียนถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อให้เด็กรับประทานนาน 4-8 สัปดาห์

วาเลอเรียนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้อย่างปวดศีรษะ, ท้องไส้ปั่นป่วน, ความคิดทึบ, รู้สึกตื่นเต้น, อยู่ไม่สุข, ความผิดปรกติที่หัวใจ, และแม้แต่นอนไม่หลับในบางคน มีกรณีผู้ใช้วาเลอเรียนบางคนรู้สึกตอบสนองช้าในตอนเช้าโดยเฉพาะหากใช้ในปริมาณสูง บ้างก็ประสบกับภาวะปากแห้งหรือมีอาการฝันเด่น (vivid dreams) จึงมีคำเตือนไม่ให้ผู้ใช้วาเลอเรียนขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรหนัก ส่วนผลจากการใช้วาเลอเรียนระยะยาวกับความปลอดภัยยังคงไม่ชัดเจน แต่ก็คาดว่าการเลิกใช้วาเลอเรียนหลังผ่านมาระยะเวลานานอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการถอนยาได้ ดังนั้นเพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจมาจากการเลิกใช้วาเลอเรียนในระยะยาวควรใช้วิธีค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลงอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหนึ่งหรือสองสัปดาห์จะดีที่สุด

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้วาเลอเรียนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้วาเลอเรียนเพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัด: วาเลอเรียนจะชะลอการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งยาสลบที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดเองก็มีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางเช่นกัน ดังนั้นการใช้วาเลอเรียนร่วมกับยาสลบอาจทำให้เกิดผลเสียขึ้น ดังนั้นควรหยุดใช้วาเลอเรียนก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้วาเลอเรียนร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้วาเลอเรียนร่วมกับยาเหล่านี้

  • แอลกอฮอล์กับวาเลอเรียน

แอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ วาเลอเรียนเองก็อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนเช่นกัน ดังนั้นการบริโภควาเลอเรียนในปริมาณมากร่วมกับแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากเกินไปได้

  • Alprazolam (Xanax) กับวาเลอเรียน

วาเลอเรียนสามารถลดความเร็วในการทำลาย alprazolam ของตับได้ ดังนั้นการทานวาเลอเรียนร่วมกับ alprazolam อาจเป็นการเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงจากยา alprazolam ขึ้นเช่นอาการง่วงนอน เป็นต้น

  • ยากล่อมประสาท (Benzodiazepines) กับวาเลอเรียน

วาเลอเรียนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้เช่นเดียวกับยากล่อมประสาท ดังนั้นการทานวาเลอเรียนร่วมกับยากล่อมประสาทอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากเกินไปได้ ตัวอย่างยากล่อมประสาทมีทั้ง alprazolam (Xanax), clonazepam (Klonopin), diazepam (Valium), lorazepam (Ativan), midazolam (Versed), temazepam (Restoril), triazolam (Halcion), และอื่น ๆ

  • ยากล่อมประสาท (CNS depressants) กับวาเลอเรียน

วาเลอเรียนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้เช่นเดียวกับยากล่อมประสาท ดังนั้นการทานวาเลอเรียนร่วมกับยากล่อมประสาทอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากเกินไปได้ ตัวอย่างยากล่อมประสาทมีทั้ง pentobarbital (Nembutal), phenobarbital (Luminal), secobarbital (Seconal), thiopental (Pentothal), fentanyl (Duragesic, Sublimaze), morphine, propofol (Diprivan), และอื่น ๆ

ใช้วาเลอเรียนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) substrates) กับวาเลอเรียน

ยาบางตัวจะถูกเปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ วาเลอเรียนอาจลดความเร็วในการทำลายยาของตับได้ ดังนั้นการทานวาเลอเรียนร่วมกับยาเหล่านี้จะเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ขึ้น เพราะเช่นนั้นก่อนทานยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับร่วมกับวาเลอเรียนให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด ตัวอย่างยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยตับมีทั้ง lovastatin (Mevacor), ketoconazole (Nizoral), itraconazole (Sporanox), fexofenadine (Allegra), triazolam (Halcion), และอื่น ๆ มากมาย

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับภาวะนอนไม่หลับ: 
    • สารสกัดวาเลอเรียน 400-900 mg ก่อนเข้านอนนาน 6 สัปดาห์ หรือ
    • สารสกัดวาเลอเรียน 120 mg ร่วมกับสารสกัดสะระแหน่ 80 mg ก่อนเข้านอนนาน 30 วัน หรือ
    • สารสกัดวาเลอเรียน 374-500 mg ร่วมกับสารสกัดจากฮอปส์ 83.8-120 mg ก่อนเข้านอนนานสองสัปดาห์
    • ทานวาเลอเรียนก่อนเข้านอน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง
  • สำหรับอาการหมดประจำเดือน: รากวาเลอเรียนบด 225 mg สามครั้งต่อวันนาน 8 สัปดาห์ หรือสารสกัดจากรากวาเลอเรียน 530 mg สองครั้งต่อวันนาน 8 สัปดาห์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alyse Wexler, Does valerian root treat anxiety and insomnia? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318088.php), 25 June 2017.
Jacquelyn Cafasso, Valerian Root Dosage for Anxiety and Sleep (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/valerian-root), 8 January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)