กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจเลือด HIV ขั้นตอนเป็นอย่างไร? เมื่อไหร่ถึงควรไปตรวจ?

ตรวจ HIV ไม่ได้ยุ่งยากและน่ากลัวอย่างที่คิด อ่านขั้นตอนการตรวจ HIV และประโยชน์ที่มีมากกว่าที่คุณคิด
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตรวจเลือด HIV ขั้นตอนเป็นอย่างไร? เมื่อไหร่ถึงควรไปตรวจ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์  
  • ปัจจุบันการตรวจเลือดยังเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ทราบว่า "คุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่" 
  • การตรวจเอชไอวีจะใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกันนี้ในเลือดที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับการเชื้อไวรัส  ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังการติดเชื้อเอชไอวีจึงจะตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันนี้ได้
  • คนไทยสามารถตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยวิธี Anti HIV ได้ฟรีปีละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ และสามารถตรวจด้วยวิธี NAT ได้ฟรี ปีละ 2 ครั้งที่คลินิกนิรนาม ทั้งสองแห่งขั้นตอนใช้บริการไม่ยุ่งยากเพียงยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น
  • การตรวจหาเอชไอวีไม่ใช่เรื่องน่าอายเพราะหากคุณอยู่ในภาวะเสี่ยง ผลตรวจที่ได้จะช่วยคลายความกังวล หรือนำไปสู่่การวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

เอชไอวี (HIV) ย่อมาจาก Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่คนไทยคุ้นหูว่า "โรคเอดส์"  

เมื่อเชื้อ ไวรัส  HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว (หรือที่เรียกว่า CD4) ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคต่างๆ ทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนตามมาได้อีกมากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีวิธีสังเกตอาการอย่างไรว่า เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV หรือไม่ 

ที่ผ่านมาเรามักจะคิดว่าผู้ติดเชื้อ HIV จะมีไข้สูง ลิ้นเป็นฝ้า ผิวหนังมีตุ่มแดง แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่า ผู้ที่มีอาการที่กล่าวมานี้จะเกิดจากการติดเชื้อ HIV เท่านั้นเนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อบางรายหากสุขภาพยังแข็งแรงดีก็อาจไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็ได้เป็นเวลาหลายปี  

ดังนั้นการตรวจเลือดจึงยังเป็นวิธีการเดียวที่จะสามารถยืนยันได้ว่า "คุณได้รับเชื้อ HIV หรือไม่" ปัจจุบันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ทำให้การตรวจ HIV สามารถทำได้รวดเร็ว ไม่เจ็บตัว และค่าใช้จ่ายไม่สูง

หลักการตรวจ HIV เป็นอย่างไร

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HIV ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเพื่อต่อสู้กับการเชื้อไวรัส ดังนั้นการตรวจ HIV จะใช้หลักการตรวจหาภูมิคุ้มกันนี้ในเลือด ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ HIV จึงจะตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันนี้ได้ 

เราเรียกช่วงระยะเวลา 3 เดือนนี้ว่า "ระยะฟักตัว (window period)" ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่มีการติดเชื้อ HIV แล้ว แต่ยังตรวจไม่พบ ดังนั้นหากเข้ารับการตรวจ HIV ในช่วงระยะฟักตัวจะได้ผลเป็นลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วคุณอาจติดเชื้อแล้วก็ได้  

ผลที่ออกมานี้จะทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่า "ตนเองไม่ติดเชื้อ" ในทางปฏิบัติหากมีภาวะเสี่ยงก็ควรต้องมาตรวจซ้ำอีก 3 เดือนหลังจากการตรวจครั้งแรก  ทั้งนี้ระยะ ฟักตัวของการตรวจแต่ละวิธีก็ไม่เท่ากันด้วย 

การตรวจ HIV มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ปัจจุบันการตรวจ HIV มี 3 วิธีหลักๆ แยกได้ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีที่ 1 Anti HIV 

บริการนี้คนไทยสามารถตรวจได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตรวจได้ถึงปีละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพียงยื่นบัตรประชาชนเท่านั้น  การตรวจประเภทนี้จะสามารถให้ผลได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังตรวจ และผลที่ได้จะเป็นผลย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน

กล่าวคือ หากมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมาเมื่อคืนแล้วไปตรวจ Anti HIV ในวันรุ่งขึ้น ผลตรวจที่ได้จะไม่ได้ยืนยันว่า เพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันเมื่อคืนของคุณนั้นปลอดภัย 

แม้ว่าผลเลือดจะออกมาเป็นลบ ( Negative = ไม่พบเชื้อ HIV) ซึ่งสามารถอธิบายทางการแพทย์ได้ว่า เชื้ออยู่ในระยะฟักตัว และยังตรวจไม่พบด้วยวิธีการตรวจแบบ Anti HIV  

นอกจาก`นี้ในโรงพยาบาลเอกชนเอกก็สามารถตรวจ Anti HIV ได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 500 – 800 บาทต่อครั้ง สำหรับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหา HIV ทั้งนี้ยังอาจมีค่าแพทย์ ตามแต่ละโรงพยาบาลที่แตกต่างกันออกไป ผู้สนใจสามารถโทรปรึกษาโรงพยาบาลเพื่อสอบถาม ราคาก่อนเข้ารับการตรวจได้

วิธีที่ 2 การตรวจแบบ NAT หรือ Nucleic Acid Testing  

สำหรับการตรวจแบบ NAT จะมีข้อแตกต่างจาก Anti HIV คือ สามารถชี้วัดผลจากร่างกายของเราย้อนหลังไปประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากได้รับความเสี่ยง

เช่น หากไปมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันมาเมื่อ 7 วันก่อน แล้ววิตกกังวลว่า อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV การตรวจแบบ NAT จะทำให้เราทราบผลเลือดว่า เป็นบวก หรือลบ ได้แน่ชัดกว่าการตรวจแบบ Anti HIV   

ปัจจุบันคลีนิคนิรนาม (คลินิกเฉพาะทางที่ให้คำปรึกษาด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ให้บริการตรวจด้วยวิธี NAT ฟรี ปีละ 2 ครั้ง เพียงยื่นบัตรประชาชนเพื่อรับสิทธิ

วิธีที่ 3 Rapid HIV Test หรือการตรวจ HIV ชนิดเร็ว 

ปัจจุบันการตรวจวิธีนี้ใช้เวลารอผลเพียง 20 นาที เท่านั้น แม้จะได้ผลเร็วกว่าการตรวจวิธีอื่นๆ แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ปัจจุบันการตรวจแบบนี้สามารถตรวจได้เองที่บ้านผ่านโครงการ Adam’s Love HIV Self Testing

ปัจจุบันหากค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับชุดการตรวจ HIV ด้วยตนเอง ก็จะพบร้านค้าออนไลน์จำนวนมากที่ขายชุดตรวจแบบนี้ แต่ทั้งนี้ทาง HD  ขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจวิธี Rapid HIV Test ตรวจสอบผ่านโครงการ Adam’s Love หรือคลินิกที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำและอ่านผลตรวจ

เนื่องจากหากปฏิบัติเองและใส่น้ำยาตรวจสอบไม่ถูกต้อง ผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนและส่งผลเสียต่อผู้ตรวจได้

หากการตรวจแบบ Rapid HIV Test ให้ผลเป็นบวก (พบเชื้อ HIV) ผู้ตรวจต้องได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า ติดเชื้อจริงด้วยขั้นตอน Anti HIV หรือ NAT แล้วแต่ระยะเวลาที่ได้รับเชืื้อมา

ทั้งนี้หากเปรียบเทียบราคาและความแม่นยำระหว่างการซื้อ Rapid HIV Test มาตรวจเอง กับการไปตรวจ Anti HIV หรือ NAT แนะนำว่า การเดินทางไปตรวจ Anti HIV และ NAT จะให้ผลที่ชัดเจนกว่าในค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน

    การตรวจ HIV สามารถตรวจได้ด้วยเหตุผลใดบ้าง 

    คนไทยอาจคุ้นเคยกับการตรวจ HIV ว่า ต้องเป็นผู้ที่เสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือว่าไม่ได้ป้องกัน หรือบุคคลนั้นต้องทำงานด้านค้าบริการทางเพศ นั่นทำให้ภาพจำในสังคมไทยต่อการตรวจโรค HIV เป็นด้านลบ 

    ทั้งที่จริงๆ แล้วการตรวจเชื้อ HIV สามารถตรวจได้ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

    • ตรวจเพื่อวางแผนการมีบุตร สร้างครอบครัว สำหรับชายหญิงที่ต้องการมีบุตรรวมถึงชายรักชาย หรือหญิงรักหญิง ที่ต้องการมั่นคงกับคู่รักเพื่อมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน การแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการตรวจเชื้อ HIV เพื่อวางแผนการมีบุตร หรือสร้างครอบครัว ก็เป็นเรื่องปกติ  เราสามารถพบเห็นการแนะนำเพื่อตรวจประเภทนี้ได้ทั่วไปในแผนกสูตินรีเวช
    • ตรวจเพื่อเข้าสมัครงาน หลายบริษัทมีการตรวจเช็คความพร้อมของบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานโดยการให้ตรวจสุขภาพ หนึ่งในนั้นคือ การตรวจเชื้อ HIV 
    • ตรวจเพื่อเช็คสุขภาพ คนไทยอาจไม่คุ้นเคยและมีความเขินอายต่อการเดินเข้าไปขอตรวจเชื้อ HIV หลายคนจึงชอบใช้วิธีบริจาคเลือดเพื่อจะได้ตรวจเช็คว่า เลือดของตนเองนั้นปลอดภัยต่อการบริจาคหรือไม่ แต่วิธีนี้ที่ไม่ถูกต้องและอาจส่งผลเสียต่อผู้อื่นได้ หากเกิดความผิดพลาด หรือยังไม่พ้นระยะฟักตัวของเชื้อที่ทำให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจเช็คและบอกข้อมูลสำคัญต่อเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    เมื่อไรที่ควรตรวจ HIV 

    การตรวจ HIV สามารถตรวจได้ เมื่อประเมินแล้วว่า มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ ทั้งนี้สามารถแจกแจงความเสี่ยงได้ดังนี้

    • การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน กับคู่นอนที่ไม่ทราบผลเลือด
    • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
    • การที่บาดแผลได้สัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่ไม่ทราบผลเลือด ในกรณีนี้หมายรวมถึง การมีบาดแผลในช่องปากขนาดเล็กแล้วทำการ Oral Sex การหลั่งภายใน มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก 
    • การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
    • ชายรักชาย หรือหญิงรักหญิง 
    • บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่นำไปสู่การติดเชื้อ HIV ได้  
    • หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์
    • ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 
    • ป่วยด้วยวัณโรค
    • ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ HIV 

    การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (รวมถึงการตรวจ HIV) ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายประจำปี  ดังนั้นหากต้องการเข้ารับการตรวจ HIV คุณจะต้องแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบก่อนเสมอซึ่งแพทย์จะช่วยเลือกวิธีในการตรวจที่เหมาะสม

    ที่สำคัญไม่ควรต้องเขินอาย จำไว้เสมอว่า "การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริงจะส่งผลดีกับตัวคุณ มากกว่าการปกปิด หรือบอกข้อมูลไม่หมด" การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใดๆ หากรู้ผลก่อนก็มีสิทธิวางแผนแนวทางรักษาได้เร็วขึ้นและเหมาะสมขึ้น หรือช่วยคลายความกังวลมากขึ้น

    ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพเปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


    3 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    ตรวจ HIV หลังเสี่ยงกี่วัน ตรวจยังไง? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/human-immunodeficiency-virus).
    "Blood Testing". American Red Cross. Retrieved 12 October 2013.
    Armstrong WS, Taege AJ (April 2007). "HIV screening for all: the new standard of care". Cleve Clin J Med. 74 (4): 297–301. doi:10.3949/ccjm.74.4.297. PMID 17438679.

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)