กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผิวเปลี่ยนสี (Skin discolored)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

มีภาวะมากมายที่ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน เช่น รอยฟกช้ำหรือภาวะเส้นเลือดขอด รวมถึงการไหลเวียนโลหิตที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอก็ทำให้ผิวหนังของมนุษย์เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้เช่นกัน ในทางการแพทย์จะเรียกภาวะผิวเปลี่ยนสีนี้ว่าอาการตัวเขียว (Cyanosis)

ภาวะผิวเปลี่ยนสีมักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด เนื่องจากผิวหนังของเด็กยังอยู่ในช่วงปรับตัวตามสภาพแวดล้อม นอกจากนี้อาการตัวเขียวยังอาจบ่งชี้ได้ถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกี่ยวกับปอด หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการตัวเขียวมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

  • อาการตัวเขียวบริเวณส่วนปลาย (Peripheral Cyanosis) คือภาวะที่อวัยวะแขนขาขาดแคลนออกซิเจนหรือมีการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี เนื่องจากการบาดเจ็บหรือมีการไหลเวียนเลือดต่ำ
  • อาการตัวเขียวบริเวณส่วนกลาง (Central Cyanosis) เกิดจากร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำ มักเกิดจากภาวะโปรตีนในเลือดผิดปกติหรือมีอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ
  • อาการตัวเขียวแบบผสม (Mixed Cyanosis) เป็นภาวะผสมกันระหว่างอาการตัวเขียวส่วนปลายกับส่วนกลาง
  • อาการเขียวที่มือและเท้า (Acrocyanosis) คือภาวะที่เกิดจากการสัมผัสกับความหนาวเย็น จึงทำให้มือและเท้าเปลี่ยนสี และจะหายไปเองเมื่อร่างกายได้รับความอบอุ่น

สาเหตุของการเกิดอาการตัวเขียว

อาการตัวเขียวจะเกิดขึ้นเมื่อมีออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือจากปัจจัยภายนอก โดยภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตที่ทำให้เกิดอาการตัวเขียว ได้แก่

  • ขาดอากาศหายใจ
  • หลอดลมอุดกั้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวของปอดหรือการบาดเจ็บที่ผนังช่องอก
  • ความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด ทำให้เลือดไหลข้ามปอดออกไปจนไม่สามารถเข้าไปเติมออกซิเจนใหม่ได้
  • หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว
  • ภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง (Pulmonary Hypertension)
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
  • ภาวะช็อก (Shock)
  • ภาวะ Methemoglobinemia ที่เกิดจากการใช้ยาหรือได้รับสารพิษจนทำให้โปรตีนในเลือดผิดปกติและไม่สามารถอุ้มออกซิเจนได้

อาการตัวเขียวอาจเป็นผลจากการทรุดลงของโรคเรื้อรังได้ด้วย โดยมากจะเป็นภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจ ปอด เลือด หรือการไหลเวียนโลหิตเอง เช่น

  • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด (Asthma) หรือภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • การติดเชื้อที่หลอดลมอย่างเฉียบพลัน เช่น โรคปอดบวม (Pneumonia)
  • โรคโลหิตจางรุนแรง (Anemia) หรือมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ
  • การใช้ยาบางประเภทเกินขนาด
  • การสัมผัสกับสารพิษบางชนิด เช่น ไซยาไนด์
  • กลุ่มอาการเรย์เนาด์ (Raynaud’s Syndrome) ที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังนิ้วมือหรือนิ้วเท้าลง
  • ภาวะตัวเย็นเกิน (Hypothermia) หรือการสัมผัสกับอุณหภูมิที่หนาวเย็นสุดขั้วจนทำให้อุณหภูมิในร่างกายตกลง

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

ควรติดต่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือโทรศัพท์สายด่วน 1669 ทันทีหากพบอาการตัวเขียวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

การวินิจฉัยอาการตัวเขียว

แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการตัวเขียวได้จากการสังเกตผิวหนัง จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายพร้อมกับสอบถามประวัติสุขภาพ และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

  • การตรวจเลือดสมบูรณ์ (Complete Blood Count (CBC))
  • การวัดออกซิเจนชีพจร (Pulse Oximetry)
  • การประเมินกิจกรรมไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG))
  • การทำเอคโคหัวใจ (Echocardiogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) หัวใจ
  • การเอกซเรย์ (X-ray) หรือสแกนคอมพิวเตอร์ (CT Scan) หน้าอก

ในการตรวจเลือดนั้น หากพบว่าฮีโมโกลบินในเลือดมีความเข้มข้นน้อย แพทย์จะสรุปว่าผู้ป่วยมีอาการตัวเขียวส่วนกลาง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีจำนวนฮีโมโกลบินน้อยกว่า 5 กรัมต่อเดซิเทอร์ (Deciliter) เพราะโดยปกติแล้วฮีโมโกลบินของผู้ใหญ่จะมีจำนวนระหว่าง 12–17 g/dL

การรักษาสาเหตุของอาการตัวเขียว

แผนการรักษาอาการตัวเขียวของแพทย์ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุต้นตอของอาการตัวเขียว เช่น การบำบัดชดเชยออกซิเจน หากผู้ป่วยมีภาวะที่ส่งผลต่อการหายใจหรือหลอดลม ซึ่งเป็นการบำบัดด้วยการใช้หน้ากากออกซิเจนหรือสอดท่อเข้าไปในจมูกเพื่อส่งอากาศเข้าไป

สำหรับภาวะที่ส่งผลต่อหัวใจหรือหลอดเลือด แพทย์อาจจัดให้มีการรักษาด้วยยา การผ่าตัด หรือการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม

การป้องกันอาการตัวเขียว

อาการตัวเขียวสามารถป้องกันได้ยาก แต่ก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะบางอย่างที่เป็นต้นเหตุของอาการตัวเขียวได้ เช่น

  • ไม่สูบบุหรี่และไม่สูดดมควันบุหรี่มือสอง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำหากคุณมีภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเรย์เนาด์ โรคหอบหืด หรือภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
  • สวมเสื้อผ้าให้หนาและอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว
  • ฉีดวัคซีนป้องกันภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และโรคร้ายแรงอื่นๆ

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cynthia Cobb, APRN, What causes patches of discolored skin? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322599.php), July 26, 2018
Justin Choi, MD , Discolored Skin Patches (https://www.healthline.com/health/discolored-skin-patches), April 15, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้