กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง

ปัสสาวะบ่อยแม้จะไม่ส่งผลอันตรายทันที แต่ก็รบกวนการชีวิตประจำวันไม่น้อย เกิดจากอะไรบ้างนั้น อ่านได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คนทั่วไปจะปัสสาวะประมาณ 4-10 ครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ ปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน ขนาดกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงยารักษาโรคที่กำลังรับประทานอยู่ในขณะนั้น
  • ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ โรคเบาหวาน ฯลฯ
  • เป็นเรื่องปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่จะปัสสาวะบ่อย นื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นประกอบกับมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกมาร่วมด้วย ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือปวดปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย 

การ “ปัสสาวะบ่อย” จนเกินไป ไม่ว่าจะปริมาณมาก หรือน้อย ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และหากคุณมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะก็ได้

คนปกติปัสสาวะวันละกี่ครั้ง

ปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดีจะปัสสาวะประมาณ 4-10 ครั้งต่อวัน หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของปัสสาวะในแต่ละครั้งจะมาก หรือน้อย ไม่ใช่สิ่งที่บอกได้ว่า ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติหรือเปล่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เนื่องจากความถี่และปริมาณของการปัสสาวะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น

  • อายุ
  • ปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน
  • เครื่องดื่มที่ดื่มในขณะนั้น เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม
  • ยารักษาโรคที่กำลังรับประทาน เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน หรือยาขับปัสสาวะ
  • ขนาดของกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ

ภาวะ หรือโรคที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะบ่อย

1. โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน

อาการปัสสาวะบ่อยนี้เกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ผู้ป่วยบางรายรู้สึกปวดปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง และถ้าอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นจะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการปัสสาวะเล็ด หรือเจ็บท้องน้อย อีกด้วย

2. ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

อาการนี้มักเกิดขึ้นกับวัยกลางคนที่ทำงานหนักและผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง กระเพาะปัสสาวะมีการหดรัดตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น 

ส่งผลให้ปวดปัสสาวะบ่อยและมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาที่ไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกายนานๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองแล้วรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการเจ็บหลังหรือตรงสีข้างซึ่งเกิดจากโรคนิ่วในไต 

4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อาศัยอยู่ในลำไส้ แต่เมื่อเชื้อชนิดนี้เข้าไปในท่อปัสสาวะจะก่อให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

เราสามารถสังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะแสบขัด และมีอาการปวดท้องน้อยขณะปัสสาวะ

5. เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เกิดขึ้นมากกับผู้ชายที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ เนื้องอกนี้อาจจะเป็นเนื้องอกปกติ หรือเนื้อร้ายก็ได้ โดยเนื้องอกจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะติดขัด และมีเลือดปนออกออกมากับปัสสาวะ

6. โรคไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะแรกมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน แต่จะมีอาการเมื่อเป็นมากแล้ว โดยผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นในช่วงแรก 

หากคุณเป็นหนึ่งที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต เช่น ชอบรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งรสเค็ม มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก มีความเครียดสูง การเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

7. โรคเบาหวาน

เมื่อเรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น และมีการขับน้ำตาลส่วนเกินออกมาทางกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจมีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยนั่นเอง

8. โรคต่อมลูกหมากโต

อาการต่อมลูกหมากโตจะทำให้กล้ามเนื้อของปัสสาวะบีบตัวอย่างแรง เพื่อให้สามารถขับน้ำปัสสาวะผ่านท่อแคบๆ ที่ต่อมลูกหมากเบียดอยู่ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะขัด แล้วทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนเก็บน้ำในกระเพาะปัสสาวะได้ลดลง

9. โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท

เมื่อระบบประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง จะส่งผลต่อการควบคุมระบบขับถ่ายโดยตรง และทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ยารักษาโรคบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยได้

ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาขับปัสสวะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องปกติของการรับประทานยากลุ่มนี้

เป็นเรื่องปกติที่หญิงตั้งครรภ์จะปัสสาวะบ่อย

เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ร่วมกับมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รู้สึกแน่นท้องและปวดปัสสาวะบ่อย

อาการปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่า ในแต่ละวันมีอาการปัสสาวะบ่อยมากน้อยเพียงใด หรือมีอาการปวดปัสสาวะจนไม่สามารถกลั้นได้หรือไม่ 

หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cleveland Clinic medical professional, Urination: Frequent Urination (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15533-urination--frequent-urination), 9 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม