กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

กระ เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหม รักษาอย่างไร?

กระ จุดด่างดำบนผิวหนังที่อาจทำให้หลายคนกังวลใจ มารู้จักกับกระแต่ละชนิด และวิธีการรักษาที่เหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กระ เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหม รักษาอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระ คือจุดด่างดำที่เกิดบนใบหน้า หรือผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำคอ หน้าอก แขน หรือขา
  • กระมี 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ กระตื้น กระลึก กระเนื้อ และกระแดด โดยอาจเกิดได้จากพันธุกรรม การสัมผัสแสงแดด หรือผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการฉายแสง
  • กระสามารถรักษาได้ด้วยการทายา เช่น กรดผลไม้ หรือยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่า และกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวใหม่ แต่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะเห็นผล
  • ในทางการแพทย์ สามารถรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ เพื่อทำให้กระจางลง โดยการยิงคลื่นแสงความยาวคลื่นต่างๆ ลงไปถึงชั้นผิวด้านใน เพื่อให้ผิวซ่อมแซมตัวเอง พร้อมกับผลัดเซลล์ผิวได้เร็วยิ่งขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์

กระ เป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่หลายคนกังวลใจ เพราะทำให้ผิวไม่กระจ่างใส สีผิวไม่สม่ำเสมอ จนขาดความมั่นใจได้

กระนั้นมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะ และสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับกระแต่ละชนิด รวมถึงวิธีการรักษาด้วยตัวเอง และทางการแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กระ...จุดด่างดำบนผิวหนัง

กระ คือจุดด่างดำที่เกิดบนใบหน้า หรือผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำคอ แขน หรือขา

กระมี 4 ชนิดหลักๆ ได้แก่ กระตื้น กระลึก กระเนื้อ และกระแดด โดยมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม อาจเรียบเนียนไปกับผิว หรืออาจนูนขึ้นมาเป็นติ่งเนื้อก็ได้

กระมักพบในกลุ่มคนที่มีผิวขาว โดยพบตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่ออายุมากขึ้น กระอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือสีคล้ำขึ้นได้

รู้จักกับกระแต่ละชนิด ลักษณะ และสาเหตุ

กระแต่ละชนิดมีลักษณะ รวมถึงสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. กระตื้น

กระตื้น เป็นกระที่พบบ่อยในชาวยุโรป มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มักพบบริเวณที่สัมผัสแสงแดดมาก เช่น โหนกแก้ม หรือจมูก บางรายอาจกระจายทั่วหน้า ลำคอ แขน และหน้าอก

กระตื้นเกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุที่เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกตินั้นส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมที่ทำให้เซลล์เม็ดสีมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ ทำให้มีกระตั้งแต่วัยเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่เป็นกระชนิดนี้ หากสัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำโดยไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม ก็มีโอกาสทำให้กระเข้มขึ้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายใหญ่ขึ้นด้วย

2. กระลึก

กระลึกเป็นกระที่พบบ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะคนญี่ปุ่น จีน และไทย

ลักษณะของกระลึก เป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ดำ ขอบไม่ชัด มองเผินๆ คล้ายฝ้า มักพบบริเวณโหนกแก้ม สันจมูก หรือขมับทั้ง 2 ข้าง

กระลึกนั้นเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีบริเวณชั้นหนังแท้ โดยจะพบตั้งแต่แรกเกิด และจะถูกกระตุ้นด้วยรังสียูวีจากแสงแดดร่วมกับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นช่วงวัยรุ่น หรือช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เห็นกระชัดเจนขึ้นในช่วงอายุที่มากขึ้น

3. กระเนื้อ

กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม มักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลัง โดยอาจขึ้นเป็นตุ่มเนื้อเล็กๆ แล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น นูนขึ้น หรือมีสีเข้มขึ้นได้ แต่เจริญเติบโตค่อนข้างช้า

กระเนื้อนั้นเกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเจริญเติบโตมากผิดปกติ มีตัวกระตุ้นคือ แสงแดดและอายุที่มากขึ้น โดยยิ่งมีอายุมากขึ้น กระเนื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

4. กระแดด

กระแดด มีลักษณะเป็นจุด หรือปื้นเรียบๆ สีน้ำตาล หรือสีดำ ขนาดเล็ก ขอบชัด มักพบบริเวณที่สัมผัสแสงแดดบ่อยๆ เช่น ใบหน้า แขน หรือขา ส่วนใหญ่เกิดในผู้ที่มีผิวขาว และมีอายุค่อนข้างมาก

สาเหตุเกิดจากการได้รับแสงแดดแรงๆ จากการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในบางครั้งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการรักษาโรคอื่นๆ เช่น การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยการฉายแสง UVA ก็มีผลทำให้เกิดกระแดดได้เช่นกัน

วิธีการรักษากระ

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดกระ

แสงแดด คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกระ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกันสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหมวก กางร่ม หรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ช่วยป้องกันรังสี UV โดยควรมีค่า SPF30 Pa+++ ขึ้นไป

นอกจากนี้ยาบางชนิดที่มีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาคุมกำเนิด ก็มีส่วนทำให้เกิดกระได้เช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน หรือสอบถามถึงทางเลือกอื่นๆ ในการคุมกำเนิด

2. ทายารักษากระ

การรักษากระ สามารถทำได้ด้วยการทายา เช่น AHA (กรดผลไม้) หรือยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่า และกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวใหม่

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยการทายาอาจเห็นผลช้า และต้องทาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-6 เดือนจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง แต่มีข้อดีคือ เป็นวิธีที่ปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย

3. เทคโนโลยีทางการแพทย์

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์หลากหลายรูปแบบที่ช่วยบรรเทากระบนใบหน้าให้ดีขึ้นได้ ซึ่งวิธียอดนิยมคือ การใช้เลเซอร์เพื่อทำให้กระแลดูจางลง โดยการยิงคลื่นแสงความยาวคลื่นต่างๆ ลงไปถึงชั้นผิวด้านใน เพื่อให้ผิวซ่อมแซมตัวเอง พร้อมกับผลัดเซลล์ผิวได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษากระรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำทรีตเมนท์ การจี้กระ การฉีดยาเมโส หรือการทำไอออนโต เป็นต้น โดยวิธีการรักษากระนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และดุลยพินิจของแพทย์

ทั้งนี้ผู้มีปัญหากระควรเลือกรักษากับคลินิก หรือโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีเครื่องมือที่สะอาด ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจว่า กระบนใบหน้าจะหายไป และไม่มีผลข้างเคียงร้ายแรงใดๆ ตามมา

ข้อควรระวังในการรักษากระ

หลายคนที่มีปัญหากระ หรือฝ้า อาจเคยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือรักษาฝ้าที่มีส่วนผสมของสารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง ทำให้ใบหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ครีมหน้าขาว”

อย่างไรก็ตาม สารไฮโดรควิโนนมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก เริ่มจากทำให้ระคายเคืองต่อผิว เกิดจุดด่างขาวที่ผิวหน้า ผิวหน้าดำ อาจเกิดตุ่มนูนสีดำบริเวณที่ทายาบ่อยๆ เช่น โหนกแก้ม และสันจมูก

นอกจากนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย รวมทั้งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย

ปัจจุบันยาชนิดนี้ถูกสังห้ามนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่ายทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในคลินิกที่จ่ายยาโดยแพทย์ ยังสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ยาเคร่งครัด

กระเป็นปัญหาผิวที่รักษาได้ยาก การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดกระ หรือทำให้กระเข้มขึ้นได้ โดยเฉพาะการสัมผัสกับแสงแดดโดยไม่ทาครีมกันแดดจะดีที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดกระขึ้นแล้ว และต้องการรักษาให้หายไป ก็ควรเลือกใช้วิธีรักษาที่เหมาะสม และปลอดภัย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ไฝ กระ แผลเป็นคีลอยด์ รักษาอย่างไรดี? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/how-to-treatment-mole-freckle-and-keloid-scar).
จี้ไฝ ขี้แมลงวัน เจ็บไหม แบบไหนควรเอาออก? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/laser-mole-removal).
อ. ดร. เอกรัตน์ จันทราทิตย์, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/14/), 12 April 2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)