ท่าออกกำลังกายลดพุง ตามรูปร่างของผู้หญิง ให้ได้ผลดีที่สุด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ท่าออกกำลังกายลดพุง ตามรูปร่างของผู้หญิง ให้ได้ผลดีที่สุด

นอกจากการเลือกทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อลดพุงอย่างจริงจังก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ถึงแม้การออกกำลังกายลดพุงจะทำให้น้ำหนักไม่ได้ลดลงมากนัก แต่ถือว่าเป็นการลดความพลุ้ยของพุงให้น้อยลง ทำให้ดูรวมๆ แล้วมีเสนห์

เคล็ดลับที่จะทำให้สาวๆ หุ่นดีขึ้นกว่าเดิมด้วยการลดพุง จะมีวิธีแตกต่างกันออกไป เพราะผู้หญิงแต่ละคนมีรูปร่างต้นแบบต่างกัน ท่าออกกำลังกายจึงไม่เหมือนกัน เรามาลองกันดีกว่า ว่าสาวๆ หุ่นแต่ละแบบ จะมีวิธีลดพุงอย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หุ่นแอปเปิ้ล

  1. นั่งหลังตรง เหยียดเท้า แขนยันพื้นข้างสะโพก ปลายนิ้วชี้ไปข้างหน้า หายใจออก เอนลำตัวไปข้างหลัง ยกขาขึ้นจากพื้นทำมุม 45 - 55 องศา
  2. หายใจเข้า ยกแขนขึ้นระดับหัวไหล่ขนานกับพื้น หลังเหยียดตรง ทิ้งน้ำหนักลงสะโพก หายใจออก ค้างไว้ 10 - 20 วินาที กลับสู่ท่าเริ่มต้น และทำซ้ำ 5 ครั้ง

หุ่นลูกแพร

  1. นอนหงาย จัดตัวตรง ชันเข่า ขึ้น แยกเท้า ออกจากกันประมาณช่วงสะโพก ทิ้งน้ำหนักลงที่ฝ่า เท้า ศีรษะ และไหล่แขนเหยียดตรง
  2. หายใจเข้า ดันตัวหรือยกสะโพกขึ้นให้หลังลอยสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ 15 วินาที หายใจออก แล้วค่อยๆ ลดตัวลง กลับสู่ท่าเริ่มต้น และทำซ้ำ 10 ครั้ง

หุ่นตะเกียบ

  1. ยืนตรงเท้าชิด แขนแนบลำตัว หายใจเข้า - ออกช้าๆ แยกเท้าออกประมาณ 3 - 4 ฟุต กางแขนขนานกับพื้น หมุนเท้าขวาไปทางขวา 90 องศา ส่วนเท้าซ้ายเฉียงมาทางขวาเล็กน้อย
  2. งอเข่าขวาลงจนสะโพกขวาอยู่ในระดับเข่า ขาซ้ายตึง กางแขนทั้งสองข้างขนานกับพื้น หันหน้าไปทางขวามองที่ปลายนิ้ว
  3. หายใจเข้า โน้มตัวไปทางขวาให้มากที่สุด ค้างไว้ 30 วินาที จากนั้นหายใจออก กลับสู่ท่าเริ่มต้น สลับข้างทำซ้ำ 10 ครั้ง

หุ่นกระบอก

  1. ยืนตรง แขนแนบลำตัว กางแขน ปลายเท้าแยกห่างกัน ตำแหน่งของปลายเท้าตรงกับข้อมือ ปลายเท้าขวาหันออกด้านข้าง หันหน้ามองมือขวา
  2. สูดลมหายใจเข้า - ออก เหยียดตัวและแขนไปให้มากที่สุด แล้วลดมือขวาวางที่พื้นหรือจับที่ข้อเท้า แขนซ้ายเหยียดขึ้นด้านบน ถ้าทำถูกต้องจะรู้สึกตึงที่ด้านข้างซ้าย เพราะสีข้างถูกยืด บิดหน้ามองขึ้นบนตามมือซ้าย ค้างไว้ 10 วินาทีหายใจเข้า - ออก ทำซ้ำ 10 ครั้ง

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
8 Yoga Poses for Beginners and Their Benefits. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/fitness-pictures/yoga-poses-for-beginners.aspx)
Common posture mistakes and fixes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/common-posture-mistakes-and-fixes/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป