กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 วิธีดูแลไตให้มีสุขภาพดี

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีดูแลไตให้มีสุขภาพดี

 " ไต " เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ซึ่งการทำงานของไตมีความสำคัญต่อสุขภาพในภาพรวม ทั้งนี้ไตมีหน้าที่ทำให้เลือดสะอาด ควบคุมปริมาณน้ำภายนอกเซลล์ ระดับอิเล็กทรอไลต์ และค่า PH ภายในร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดที่ควบคุมการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรนำนิสัยที่ดีต่อสุขภาพมาปรับใช้ เพื่อให้ไตทำงานได้ราบรื่น และป้องกันไม่ให้โรคร้ายมาถามหา สำหรับบทความนี้ เราจะพาคุณไปดูหลากวิธีดูแลตัวเอง เพื่อให้ไตมีสุขภาพดี มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

นิสัยการทานอาหารถือเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดได้ถึงการทำงานของไตว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำแนะนำ

  • เพิ่มการทานผักและผลไม้สด
  • ทานธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแล้ว
  • ทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น เมล็ดพันธุ์ ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง
  • จำกัดการทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก เนื้อกระป๋อง และมันฝรั่งทอด
  • จำกัดการทานเกลือและน้ำตาลให้อยู่ในระดับปานกลาง

2.ดื่มน้ำให้มากขึ้น

การดื่มน้ำจะช่วยสนับสนุนให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้น้ำมีความสำคัญต่อการกรองสารพิษออกจากเลือด และช่วยดีท็อกซ์ผ่านทางปัสสาวะ

คำแนะนำ

  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ดื่มชา น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรือบรรดาซอฟต์ดริ้งค์ทั้งหลาย

 

3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เรามักเชื่อมโยงการสูบบุหรี่กับการเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ แต่ความจริงแล้ว มันยังทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่นกันค่ะ สารพิษที่อยู่ในบุหรี่จะเข้าไปในกระแสเลือด และส่งผลต่อสุขภาพของหัวใจและไต ทั้งนี้คนที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะไตวายมากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่

คำแนะนำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แต่ถ้าคุณพบว่ามันเป็นเรื่องยาก ให้คุณลองไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ในกรณีที่คุณไม่สูบบุหรี่ ให้คุณหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่

4.จำกัดการทานยา

เมื่อถึงคราวที่ไม่สบาย หลายคนมักจะคุ้นชินกับการรักษาตัวเองโดยทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป แต่การทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกลับไปเร่งให้การทำงานของไตเสื่อมถอยลง

คำแนะนำ

  • ทานยาเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ
  • หลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านอักเสบที่ซื้อจากร้านขายยา
  • ทานยาตามที่ระบุไว้เสมอ และคอยสำรวจปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อยา
  • ในกรณีที่อาการเจ็บป่วยไม่ได้ร้ายแรง คุณอาจเลือกรักษาตัวด้วยวิธีธรรมชาติ

5.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำไม่เพียงแต่ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมเท่านั้น แต่มันยังช่วยสนับสนุนให้คุณมีสุขภาพโดยรวมที่ดีอีกด้วย ทั้งนี้การออกกำลังกายจะช่วยทำให้กระบวนการเผาผลาญทำงานดีขึ้น และกระตุ้นการกำจัดของเสียที่สะสมในเลือด รวมถึงยังเป็นวิธีแบบธรรมชาติที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต และการคั่งของๆ เหลว ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ขัดขวางการทำงานของไต

คำแนะนำ

  • อุทิศเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันให้กับการออกกำลังกาย
  • หากคุณไม่มีเวลาไปยิม คุณอาจออกกำลังกายที่บ้านแทน

6.ดีท็อกซ์ไต

ไตเป็นอวัยะที่ช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย แต่หากมีการสะสมของสารพิษ โซเดียม และไขมันในปริมาณสูง มันก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณควรช่วยเหลือไตเพื่อให้กระบวนการกำจัดสารพิษทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คำแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือในปริมาณมาก
  • ทานผลไม้ และสมูทตี้สูตรดีท็อกซ์

นอกจากการปฏิบัติตัวตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว มันก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่าไตมีสุขภาพดี และหากแพทย์พบความผิดปกติ คุณก็จะได้ไหวตัวทันค่ะ

ที่มา : https://steptohealth.com/6-basic-care-tips-to-protect-your-kidneys/


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Keeping your kidneys healthy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/keeping-your-kidneys-healthy/)
Take Care of Your Kidneys | Prevention & Risk Management | Chronic Kidney Disease Initiative. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/kidneydisease/prevention-risk/take-care.html)
Kidney Health: 8 Ways to Keep Your Kidneys Healthy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/kidney-health)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
นิโคติน
นิโคติน

วิธีรับมือกับการขาดนิโคติน

อ่านเพิ่ม