ต้องรู้! อ่านก่อนซื้อ อาหารสำเร็จรูป ดูอย่างไรให้ปลอดภัยระยะยาว

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ต้องรู้! อ่านก่อนซื้อ อาหารสำเร็จรูป ดูอย่างไรให้ปลอดภัยระยะยาว

วันนี้อาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปมีวางขายมากมายในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งร้านขายของชำ ผู้ซื้อก็มีแนวโน้มการบริโภคมากขึ้น ผู้ประกอบการก็พยายามใช้กลวิธีทางธุรกิจมากมายในการดึงดูดใจ หนึ่งในนั้นก็คือรูปลักษณ์ และหีบห่อที่สวยงาม ผู้ซื้อควรพิจารณาข้อมูลอะไรบ้างก่อนซื้อเพื่อสุขภาพตนเอง ?

สภาพหีบห่อ บรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์มีทั้งเป็นกล่อง ซอง กระป๋องและพลาสติก สภาพหีบห่อ บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งแรกที่ง่าย และควรพิจารณาก่อน กล่าวคือกล่องและพลาสติก รวมทั้งซองควรมีสภาพใหม่ ปิดแน่น ฉลากสีสด ไม่มีรอยฉีกขาด ร่องรอยจากสัตว์แทะ ในกรณีเป็นกระป๋องไม่ควรบุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม มีสลากติดครบล้อมรอบ

ดูวันเดือนปีที่ผลิต

โดยการสังเกต MFG. เป็นการแสดงวันเดือนปีที่ผลิตและ BBF. เป็นการแสดงว่าผู้ซื้อควรบริโภคก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ ซึ่งจะกำหนดข้างหีบห่อ บรรจุภัณฑ์

ข้อมูลสารอาหาร

ฉลากสารอาหารมีข้อมูลมากมาย เช่น ปริมาณพลังงาน สารอาหาร เกลือโซเดียม น้ำตาลรวมทั้งคำแนะนำจำนวนหน่วยบริโภคเป็นการแสดง จำนวนครั้งที่รับประทานแล้วจะได้พลังงาน และสารอาหารตามที่ระบุไว้ ผู้ซื้อจะทราบว่าเองว่าสุขภาพตนควรระวังเรื่องใดบ้าง

เครื่องหมายคุณภาพ

มีเครื่องหมายขององค์การอาหารและยา อย. และเครื่องหมาย มอก. เป็นการรับรองว่าอาหารสำเร็จรูปชิ้นนั้น มีคุณภาพมาตรฐานการผลิต เท่าเทียมกันทุกชิ้น มีการผ่านกระบวนการผลิตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด เพราะนั่นคือ การรับรองความปลอดภัยในการบริโภคเบื้องต้น

ชื่อโรงงาน ผู้จัดจำหน่าย

เนื่องจากวิธีการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการมีมากมาย เป็นต้นว่า บางรายมีการว่าจ้างโรงงานผลิต ภายใต้การใช้ยี่ห้อตน บางรายผลิตเองจำหน่ายเอง ดังนั้นไม่ว่ากรณีใดควรมีการแสดงชื่อที่ตั้ง เบอร์ติดต่อโรงงาน และผู้จัดหน่าย เป็นการระบุแหล่งที่มา รวมทั้งเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

มีสารกันบูดหรือไม่ ?

เมื่ออาหารสำเร็จรูปบางชนิดมีอายุสั้น ผู้ผลิตจะใส่สารกันบูด และซองกำจัดออกซิเจน เพื่อยืดอายุ ผู้ซื้อควรระวังปริมาณการบริโภคสารดันบูดไม่ให้มากจนเกินไป

ข้อมูลทั้งหมดของอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป จะระบุไว้ที่ฉลากข้างหีบห่ออย่างชัดเจน ผู้ซื้อควรจะตระหนักเรื่องรายละเอียด ก่อนตัดสินใจซื้อ อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารสำเร็จรูป ควรบริโภคในปริมาณที่น้อย และไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เพราะทำให้ร่างกายขาดสารหลักซึ่งเป็นผลเสียแก่สุขภาพในระยะยาว


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
20 tips to eat well for less. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/20-tips-to-eat-well-for-less/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป