กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง การรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจคัดกรองทุกปี จะช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมได้
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รู้จักกับโรคมะเร็งเต้านม สาเหตุ อาการ การตรวจคัดกรอง แนวทางการรักษา และป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่อาจตรวจพบอาการ เช่น คลำเจอก้อนที่เต้านม มีอาการปวด บวม กดเจ็บบริเวณก้อน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และลักษณะของเต้านม หรือหัวนม
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เช่น ผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม รับประทานฮอร์โมนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้า
  • ผู้หญิงควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง หลังหมดประจำเดือน 7-10 วัน โดยสังเกตลักษณะรูปร่างของเต้านม หรือคลำเต้านมอย่างเบามือเพื่อดูว่า มีก้อนเนื้อหรือไม่
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถตรวจได้ด้วยแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ไม่แสดงอาการใดๆ ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหายได้โดยไม่ต้องตัดเต้านม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน 

แม้ว่า โรคมะเร็งเต้านมจะไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนโรคมะเร็งปากมดลูก แต่การรู้จักสังเกตอาการ และรีบไปพบแพทย์เมื่อมีความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายเป็นปกติในบางราย หรือชะลอการดำเนินโรคไม่ให้ก้าวสู่ระยะรุนแรงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคมะเร็งเต้านม สาเหตุเกิดจากอะไร?

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่มีส่วนเกี่ยวของกับโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งบริเวณอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ
  • ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
  • ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง หรือผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่มีความเครียดสูง ออกกำลังกายน้อย
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว 1 ข้าง มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้างสูงถึง 5 เท่า

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ มักไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่สามารถตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ แต่ก็อาจมีอาการแสดงได้ ดังนี้

  • คลำพบก้อนที่เต้านม
  • มีอาการปวด บวม ที่เต้านม
  • กดเจ็บบริเวณก้อน
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของหัวนม เช่น มีรอยบุ๋ม
  • มีการเปลี่ยนขนาด หรือรูปร่างในเต้านมโตที่เจริญเต็มที่
  • มีการเปลี่ยนสี หรือพื้นผิวของหัวนม และลานนม เช่น มีผื่น มีรอยย่น
  • มีเลือด หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำนม เช่น น้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม

นอกจากอาการของโรคมะเร็งเต้านมที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแล้ว ในทางการแพทย์มะเร็งเต้านมยังแบ่งอาการเป็น 4 ระยะดังนี้

  • ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
  • ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ แล้ว

วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเอง

ผู้หญิงในวัยสาวถึงวัยสูงอายุควรตรวจเต้านมของตัวเองทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ หลังจากหมดประจำเดือน 7-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง ทำให้ตรวจได้ง่าย

วิธีตรวจเต้านมด้วยตัวเองมีดังนี้

  • ยืนหน้ากระจก ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย แล้วสังเกตลักษณะเต้านมทั้งสองข้างโดยละเอียด โดยเต้านมควรมีรูปร่างกลมรี รูปไข่ ขนาดเท่ากันทั้งสองข้าง หัวนมอยู่ในระดับเดียวกัน และผิวหนังมีลักษณะปกติ
  • นั่งตัวตรงยกแขนเหยียดเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง หากมีก้อน หรือเนื้องอก จะเกิดการรั้งจนเห็นรอยบุ๋ม
  • นั่งตัวเอนมาทางข้างหน้า ให้เต้านมห้อยลง สังเกตว่า มีการเหนี่ยวรั้งเป็นรอยบุ๋มหรือไม่
  • คลำด้วยฝ่ามือตนเอง โดยอาจยืน หรือนอนราบก็ได้ หากนอนราบ ให้ยกแขนข้างที่ต้องการตรวจเหนือศีรษะ ใช้มือคลำทั่วเต้านมและรักแร้อย่างเบามือ ไม่บีบเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อได้
  • ตรวจลักษณะพื้นผิว โดยใช้นิ้วคลำแล้วบีบเข้าหากัน เพื่อดูลักษณะผิวหนังว่า หนา ด้าน หรือแข็งผิดปกติไหม

หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับเต้านมแต่ไม่แน่ใจว่า เข้าข่ายมะเร็งเต้านมหรือไม่ หรือยังไม่มีเวลาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล อาจปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับปัญหามะเร็งนรีเวชเบื้องต้นก่อน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นและแนะแนวทางได้ว่า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างไร เพราะบางคนอาจไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร ไปตรวจที่ไหน 

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

แม้จะหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น อาจตรวจไม่พบมะเร็งเต้านมในระยะแรกๆ ได้ ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง ซึ่งข้อดีของการตรวจพบก้อนมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ คือ มีโอกาสรักษาหายได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดเต้านมออก

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มีดั้งนี้

  • ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษคล้ายการเอกซเรย์ แต่ใช้รังสีน้อยกว่า และตรวจละเอียดกว่ามาก โดยสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ไม่มีอาการ
  • ตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) การตรวจเต้านมด้วยคลื่นความถี่สูง เหมาะสำหรับใช้ตรวจก้อนเต้านมว่า เป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ หรือตรวจลักษณะของก้อนเนื้อว่า เป็นก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือก้อนมะเร็ง

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านมจะขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้ทำการรักษา อาการ และระยะของมะเร็งเต้านม โดยแนวทางการรักษาโรคมะเร็งเต้านมทั่วไปมีดังนี้

  • การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้าง และผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้
  • การฉายรังสี เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง หรือป้องกันเซลล์มะเร็งเติบโต
  • การใช้ยาเคมีบำบัด มีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดรับประทาน หรือฉีดเข้าเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยการกำจัด หรือหยุดการแบ่งตัว
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน คือการหยุดการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโต เช่น การผ่าตัดรังไข่ออก เพื่อหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน

วิธีป้องกันมะเร็งเต้านม

ถึงแม้จะไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมแน่ชัด แต่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม อาจช่วยลดความเสี่ยงที่ก่อโรคมะเร็งเต้านมได้ เช่น

  • รับประทานผักสดและผลไม้สดให้มากๆ โดยสารอาหาร วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในผัก ผลไม้จะช่วยต่อสู้กับสารอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดง อาหารแปรรูป หรือรับประทานในปริมาณน้อย
  • ดื่มชาเขียวเป็นประจำ เพราะชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมัน
  • ดูแลสุขภาพร่างกายพื้นฐาน เช่น ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่เครียดจนเกินไป
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี

โรคมะเร็งเต้านม แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถลดความรุนแรงที่อาจเกิดจากโรคมะเร็งเต้านมได้ เพียงแค่ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Toledo E, et al. Mediterranean diet and invasive breast cancer risk among women at high cardiovascular risk in the PREDIMED trial. JAMA Internal Medicine. 2015;175:1752.
Schneider, A. P., et al., The breast cancer epidemic: 10 facts (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4135458/), 30 October 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม
รวมวิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านม

รักษามะเร็งเต้านมมีกี่วิธี มีผลกระทบยังไง รักษานานแค่ไหน มาดูกัน

อ่านเพิ่ม
รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน
รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านม อาการ วิธีรักษา การป้องกัน

รวมครบจบในบทความเดียวเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

รู้เท่าทันโรคมะเร็งหายากที่เกิดขึ้นได้กับเต้านม

อ่านเพิ่ม