กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

รู้เท่าทันโรคมะเร็งหายากที่เกิดขึ้นได้กับเต้านม
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget's disease of the nipple)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งหัวนมเป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ยากโดยจะเกิดขึ้นบริเวณหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง และมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นวิธีรักษา การป้องกันโรคมะเร็งหัวนมจะคล้ายกับโรคมะเร็งเต้านม
  • ลักษณะอาการโรคมะเร็งหัวนมคือ ผิวหัวนมมีผื่นแดง หรือตกสะเก็ดคล้ายกับโรคสะเก็ดเงิน รวมกับมีอาการคันหัวนม มีเลือดออกที่หัวนม
  • วิธีรักษาโรคมะเร็งหัวนมที่แพทย์มักแนะนำเป็นอย่างแรกคือ วิธีรักษาโดยการผ่าตัดเช่นเดียวกับโรคมะเร็งเต้านม ร่วมกับรักษาวิธีอื่นๆ ด้วย เช่น ทำเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา ใช้ฮอร์โมนบำบัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

หลายคนคงรู้จักโรคมะเร็งเต้านม แต่น้อยคนที่จะรู้จักโรคมะเร็งหัวนม เพราะเป็นโรคที่พบได้น้อยมากๆ เรามารู้จักโรคนี้พร้อมๆ กันว่า โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่

ความหมายของโรคมะเร็งหัวนม

โรคมะเร็งที่หัวนม (Paget’s disease of the nippleหรือ Paget’s disease of the breast) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดบริเวณหัวนม โดยจะเกิดที่ผิวหนังหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่หัวนมจะมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ผิวหนังอักเสบเป็นขุย หรือตกสะเก็ดคล้ายกับโรคสะเก็ดเงิน
  • มีผื่นแดงที่หัวนม และค่อยๆ ขยายไปที่เนื้อเยื่อรอบๆ หรือที่เราเรียกกันว่า “ปานนม”
  • มีเลือดออกบริเวณหัวนม
  • รู้สึกคันที่หัวนม

ผู้หญิงหลายคนอาจมีอาการคัดตึง หรือคันเต้านม และหัวนมในบางช่วงเวลาได้ โดยอาจเป็นผลมาจากฮอร์โมน หรือช่วงใกล้มีประจำเดือน แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกว่า ตนเองอาจมีอาการเป็นโรคมะเร็งหัวนม เพราะโอกาสเป็นโรคนี้มีได้น้อยมากๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนก็ควรเข้าตรวจความเสี่ยงโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง และความเสี่ยงโรคมะเร็งอื่นๆ ตามอายุ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อความมั่นใจ และจะได้หาทางรักษาทันเวลา หากพบว่า มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งชนิดใดๆ ก็ตาม

ชนิดของโรคมะเร็งหัวนม

โรคมะเร็งหัวนมสามารถแบ่งออกได้2ชนิด คือ

  • โรคมะเร็งหัวนมชนิดรุกราน (Invasive)เกิดจากเซลล์มะเร็งเติบโต และลุกลามแพร่กระจายไปรอบๆ เนื้อเยื่อเต้านม
  • โรคมะเร็งหัวนมชนิดไม่รุกราน (non-invasive)เกิดจากเซลล์มะเร็งอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านมอยู่แล้ว หรืออาจมากกว่า 1 บริเวณ แต่ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อลุกลามออกไปได้

จากชนิดของโรคมะเร็งหัวนมที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมบางส่วนอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหัวนมได้ แต่ก็ยังเป็นไปได้น้อยอยู่ดี

แต่หากถามว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมกลุ่มใดเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหัวนมที่สุด ก็ต้องตอบว่า คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม (Invasive breast cancer)

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งหัวนม

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหัวนมได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อายุที่มากขึ้น
  • มีน้ำหนักตัวน้อย
  • อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
  • ประวัติมีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
  • เคยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • มีพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งหัวนม

หากพบว่า หัวนม หรือปานนมมีความผิดปกติ เช่น ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น มีผื่นแดง หรือผิวหนังหัวนมตกสะเก็ดอย่างที่ไม่เคยเป็น รู้สึกคันหัวนมมาก และรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ ก็สามารถไปตรวจกับแพทย์ได้

โดยในเบื้องต้นแพทย์อาจสอบถามประวัติสุขภาพ โดยเฉพาะหากคุณมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับผื่นผิวหนังอักเสบมาก่อน รวมถึงประวัติการใช้ยา ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหนักตัว

หลังจากนั้นแพทย์อาจทดสอบ หรือตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติมอีกเพื่อให้แน่ใจว่า "คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหัวนมหรือไม่" เช่น การทำแมมโมแกรม (Mammogram) การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) การส่งตรวจชิ้นเนื้อ (Skin biopsy)

วิธีรักษาโรคมะเร็งหัวนม

โรคมะเร็งหัวนมมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นวิธีรักษาจึงจะคล้ายกัน

การผ่าตัดเป็นทางเลือกแรกที่แพทย์จะแนะนำในการรักษา โดยมักจะใช้การผ่าตัดอยู่ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ 

  • การผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด (mastectomy) 
  • การผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ (Breast-conserving surgery)

และหลังจากนั้นแพทย์อาจใช้การรักษาอื่นๆ เข้ามารักษาให้โรคมะเร็งหัวนมหายขาดได้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)เป็นการรักษาโดยการใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • การให้รังสีรักษา (Radiotherapy)เป็นการรักษาโดยฉายรังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • การใช้ชีวบำบัด หรือฮอร์โมนบำบัด (Biological or Hormone therapy)

การป้องกันโรคมะเร็งหัวนม

การป้องกันโรคมะเร็งหัวนมจะคล้ายกับการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และโรคร้ายอื่นๆ เช่นกัน ได้แก่

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม อย่าปล่อยให้ตนเองมีความเสี่ยงเป็นภาวะอ้วน หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ให้หมั่นไปตรวจร่างกาย และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการดูแลตนเองด้วย โดยเฉพาะคุณต้องการเข้ารับฮอร์โมนบำบัดเพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือน
  • รับประทานยา โดยยาที่มักถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงในผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม คือ ยาทาม็อกซ์ซีเฟน (Tamoxifen) และยาราโลซีฟีน (Raloxifene) แต่ควรใช้ยานี้ในการดูแลของแพทย์
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม เพราะโรคมะเร็งหัวนมมีความเกี่ยวพันกับโรคมะเร็งเต้านมอย่างมาก หากรักษาโรคนี้ได้ทันเวลา โอกาสเป็นโรคมะเร็งหัวนมก็จะน้อยลงไปด้วย

โรคมะเร็งหัวนมอาจเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่โรคนี้จะเกิดขึ้นได้ไม่ต่างจากโรคร้ายหลายๆ โรคที่ยากจะเกิดขึ้น แต่ก็ยังสร้างความสูญเสียให้กับผู้คนมากมายบนโลกใบนี้

เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งหัวนมและโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ คุณต้องหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง และไปตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้รู้เท่าทันโรคภัยที่หลายคนคิดว่า เกิดขึ้นได้ยาก และคงไม่เกิดขึ้นกับตนเอง 

หากตรวจพบความผิดปกติ จะได้รีบหาทางรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Charles J, Clinical manifestations and diagnosis of Paget disease of bone (https://www.uptodate.com/contents/search), 20 November 2020.
Uthamalingam M Periyasamy K. Paget’s Disease of Nipple in Male Breast with Cancer. J Clin Diagn Res. 2016 Feb; 10(2): PD14–PD16. doi:10.7860/JCDR/2016/17778.7217. (https://doi.org/10.7860/jcdr/2016/17778.7217), 20 November 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1
รู้จักโรคมะเร็งเต้านมระยะ 1

รู้ไหมว่า...โรคมะเร็งเต้านมระยะ 0 และ 1 สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถรักษาให้หายได้ และมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด 100%

อ่านเพิ่ม
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย
โรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย

รวมข้อมูลโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ความเสี่ยงมีมากขนาดไหน รักษาหายได้หรือไม่

อ่านเพิ่ม