วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

แผลถลอกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

วิธีรักษาแผลถลอกที่ควรรู้ ทำอย่างไรไม่ให้กลายเป็นแผลเป็น
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 23 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แผลถลอกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลถลอกเป็นบาดแผลที่ผิวหนังชั้นนอกหลุดลออก หรือถูกทำลายออกไป ส่วนมากเป็นบาดแผลระดับที่จะไม่ทิ้งแผลเป็นเอาไว้บนผิวหนัง
  • แผลถลอกแบ่งได้ตามลักษณะและสาเหตุการเกิดแผล ได้แก่ แผลที่เกิดจากการครูดกับผิวขรุขระ แผลที่เกิดจากการกระแทกซึ่งตั้งฉากกับผิวหนัง แผลที่เกิดจากการเสียดสีกับวัตถุ แผลที่เกิดจากรอยข่วนเล็บ
  • ระยะของแผลถลอกแบ่งได้ 3 ระยะ เริ่มจากระยะแรกคือ บาดแผลมีเพียงรอยข่วน ระยะที่ 2 คือ บาดแผลมีผิวหนังที่ลึกลงไปหลุดลอกออก และระยะที่ 3 คือ บาดแผลที่ชั้นผิวหนังเกือบทั้งหมดหลุดลอกออกไปเกือบทั้งหมด
  • บาดแผลถลอกเป็นบาดแผลที่ทำความสะอาดและรักษาได้ง่าย แต่หากดูแลแผลไม่มากพอ แผลก็อาจติดเชื้อจนบวม เป็นหนอง หายช้า และทำให้รู้สึกเจ็บปวดแผลมากกว่าเดิมได้
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยเกิดบาดแผลตามร่างกายไม่บริเวณใดก็บริเวณหนึ่ง โดยบาดแผลแบ่งออกได้หลายชนิด ความรุนแรงของบาดแผลก็แตกต่างกัน ในทีนี้เราจะพูดถึง “แผลถลอก” แผลอีกชนิดที่หลายคนเคยเผชิญ หรืออาจกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ 

แผลถลอกเป็นแผลที่มีวิธีรักษาได้ไม่ยาก แต่ทุกคนควรรู้สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และดูแลแผลอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ หรืออักเสบลุกลามจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บร้ายแรงกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของแผลถลอก

แผลถลอก (Abrasion wound) คือ บาดแผลที่มีลักษณะผิวหนังชั้นนอกสุด หรือผิวหนังชั้นตื้น (Superficial layer) หลุดลอก หรือถูกทำลายออกไป เป็นชนิดของบาดเแผลที่เมื่อแห้ง หรือหายดีแล้วจะไม่มีรอยแผลเป็นในภายหลัง 

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนังที่ถูกทำลาย

ประเภทของของแผลถลอก

ประเภทของแผลถลอกแบ่งออกได้หลักๆ 4 ชนิด โดยจะแบ่งออกตามลักษณะ และสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล ได้แก่

  1. แผลที่เกิดจากผิวหนังไปครูดกับพื้นผิวขรุขระ (Scrape or brush abrasions) ลักษณะของแผลจะเป็นรอยถลอกคล้ายถูกขนแปรงแข็งครูดผิวหนัง ความลึกของแผลชนิดนี้จะแตกต่างไปตามความคม และความขรุขระของพื้นผิว

    ส่วนมากแผลชนิดนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุทางจราจร หรือการหกล้ม จนส่วนใดของร่างกายถูลากไปกับพื้นถนน หรือพื้นผิวที่ขรุขระ

  2. แผลที่เกิดจากแรงกระแทกซึ่งตั้งฉากกับผิวหนัง (Impact abrasions) แผลมักเกิดบริเวณส่วนนูนของกระดูกซึ่งถูกกระแทกกับพื้นผิวโดยตรง เช่น คาง ข้อศอก หัวเข่า

    สาเหตุของการเกิดแผลชนิดนี้อาจเกิดจากการหกล้ม หรือการกระเด็น ร่างกายกระแทกอย่างแรงกับพื้นผิว

  3. แผลที่เกิดจากการเสียดสี หรือการประทับของวัตถุกับผิวหนัง (Patterned abrasions) เป็นแผลถลอกซึ่งเกิดจากการถูเสียดสีซ้ำๆ หรือการกดทับระหว่างวัตถุกับผิวหนังจนกลายเป็นรอยแผล เช่น รอยเชือก รอยตะเข็บเสื้อ ลักษณะรอยแผลจะใกล้เคียงกับลักษณะพื้นผิววัตถุที่เสียดสีจนทำให้เกิดแผล

  4. แผลที่เกิดจากรอยเล็บข่วน (Fingernail marks) เป็นรอยแผลถลอกชนิดพิเศษที่เกิดจากเล็บจิก หรือข่วนจนผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออก

นอกจากนี้ยังมีชนิดของแผลถลอกที่เกิดแมลงกัดต่อย หรือกัดแทะเป็นอาหาร เช่น มด แมลงสาบ ส่วนมากแผลชนิดนี้มักเกิดในร่างกายผู้เสียชีวิตแต่ยังค้นหาร่างกายไม่เจอจึงทำให้มีแมลงต่างๆ มากัดแทะร่าง 

และอาจทำให้ผลการชันสูตรศพออกมาผิดว่า เป็นแผลที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บได้

ระยะอาการของแผลถลอก

ระยะของแผลถลอกแบ่งได้ 3 ระยะ ซึ่งระยะที่เกิดขึ้นของแผลถลอกในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของการเกิดแผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • แผลระยะที่ 1 เป็นระยะที่ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด แต่จะไม่มีเลือดออก แผลระยะนี้เรียกได้อีกชื่อว่า “รอย หรือแผลขีดข่วน”
  • แผลระยะที่ 2 เป็นระยะที่ผิวหนังชั้นซึ่งลึกลงไปจากผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออก ในระยะนี้บาดแผลอาจมีเลือดออกบ้าง
  • แผลระยะที่ 3 เป็นระยะที่ชั้นผิวหนังเกือบทั้งหมดหลุดลอกออกไป เรียกได้อีกชื่อว่า “แผลหลุดหาย (Avulsion wound)” แผลในระยะนี้จะมีเลือดออกมาก และควรรีบปฐมพยาบาล หรือพาไปพบแพทย์ฉุกเฉิน

อาการแทรกซ้อนของแผลถลอก

ถึงแม้แผลถลอกจะเป็นชนิดของแผลที่ไม่ร้ายแรง แต่หากผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ทำความสะอาดแผลให้สะอาด หรือรักษาแผลไม่เหมาะสม ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ร้ายแรงขึ้นได้ เช่น

  • แผลหายช้า หรือขยายใหญ่ขึ้น อาจเกิดจากการไม่ทายารักษาแผลให้หาย หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม การเช็ดบาดแผลแรงๆ จนทำให้ปากแผลขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม วิธีรักษาแผลที่ผิดๆ เหล่านี้จะเข้าไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวที่กำลังเกิดใหม่ให้เติบโตช้าลง

  • การติดเชื้อ บาดแผลที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด ถูกกดทับ หรือมีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ปากแผลนั้นจะง่ายต่อการติดเชื้อมาก และทำให้แผลเกิดบวม มีหนอง ส่งกลิ่นเหม็น อีกทั้งทำให้ยากต่อการรักษาให้ปากแผลปิด และแห้งได้

  • รู้สึกเจ็บปวดแผลกว่าเดิม หากไม่รีบทำความสะอาด และปฐมพยาบาลเพื่อปิดปากแผล ผู้ได้รับบาดเจ็บจะยิ่งรู้สึกเจ็บแสบแผลกว่าเดิมได้
  • เกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง (traumatic tattoo) ควรล้างบาดแผลเพื่อก้าจัดสิ่งแปลกปลอมในบางครั้งอาจต้องใช้แปรงขัดเพื่อกำจัดเศษดิน หรือสารแปลกปลอมเพื่อป้องกันการเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง (traumatic tattoo) เพราะถ้าทิ้งไว้สิ่ง แปลกปลอมนี้จะลึกลงในชั้นผิวหนังมากขึ้นเรื่อย ๆ

หากไม่แน่ใจว่า แผลถลอกของคุณ หรือคนที่คุณรัก เข้าข่ายมีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ หรือต้องดูแลรักษาอย่างไรเพื่อให้แผลหายดี อาจใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ บริการนี้สามารถเปิดวิดีโอคอลเพื่อให้แพทย์ได้เห็นสภาพบาดแผลได้ด้วย 

เมื่อเห็นบาดแผลและซักประวัติคร่าวๆ จากคุณ แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ว่า บาดแผลถลอกของคุณมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน รักษาต่อเองได้ไหม หรือต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือไม่  

วิธีรักษาแผลถลอก

ขั้นตอนการดูแลรักษาแผลถลอกมีดังต่อไปนี้

  • ล้างมือให้สะอาดเพื่อเริ่มทำความสะอาดแผล จากนั้นทำความสะอาดแผลด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อนๆ หรือใช้น้ำเกลือ น้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างแผลอีกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแผล
  • หากแผลมีขนาดเล็ก ไม่ได้มีเลือดออก และผิวหนังไม่ได้หลุดลอกมาก ให้เปิดปากแผลทิ้งไว้ให้แห้ง ไม่จำเป็นต้องปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าก๊อซสะอาด  แต่หากแผลมีเลือดไหล ให้ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าพันแผลปิดแผลเพื่อให้เลือดหยุดไหล
  • ทายาฆ่าเชื้อ หรือครีมยาปฏิชีวนะ สำหรับรักษาแผลถลอกลงที่แผลเบาๆ แล้วปิดแผลด้วยผ้าพันแผล หรือผ้าก๊อซสะอาด 
  • ทำความสะอาดแผลทุกวัน 
  • หมั่นทายาหลังทำความสะอาดแผลวันละ 1-2 ครั้ง

หากทำตามขั้นตอนต่อไป โดยปกติแผลถลอกจะหายและกลายเป็นตกสะเก็ดหลุดลอกออกไปภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากแผลมีขนาดใหญ่ หรือผิวหนังที่หลุดลอกลึกมากกว่าปกติ ก็อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม หากได้รับบาดแผลถลอกแล้วพยายามห้ามเลือด แต่เลือดไม่หยุดไหลภายใน 5 นาที หรือผู้ได้รับบาดเจ็บมีอาการบาดเจ็บบริเวณอื่นๆ อีก ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันไม่ให้แผลถลอกกลายเป็นแผลเป็น

แผลเป็นแบ่งออกได้หลายชนิดและไม่มีใครอยากให้เกิดแผลเป็นบนร่างกายแน่ เพราะจะทำให้ผิวหนังมีรอยคล้ำที่มีขนาดตามแผลถลอกในช่วงแรก และยังใช้เวลารักษานานอีก

การป้องกันแผลถลอกไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็นนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะแผลถลอกไม่ใช่แผลในระดับร้ายแรง ดังนั้นการนวดและกดแผลที่ตกสะเก็ดแล้วบ่อยๆ ร่วมกับทายารักษาแผลเป็นอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยให้แผลถลอกไม่กลายเป็นแผลเป็นได้

อีกทั้งในปัจจุบันยังมีนวัตกรรมเลเซอร์รักษารอยแผลเป็น ซึ่งสามารถไปใช้บริการได้ตามโรงพยาบาล หรือคลินิกเสริมความงามต่างๆ 

ส่วนระยะเวลาสำหรับเลเซอร์ที่จะช่วยรักษาแผลถลอกที่ตกสะเก็ดไม่ให้กลายเป็นแผลเป็น หรือช่วยให้ความเข้มของแผลเป็นจางลงจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องเลเซอร์และรุ่นนั่นเอง

แต่หากแผลถลอกดังกล่าวมีขนาดใหญ่และลึก วิธีรักษาแผลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นในภายหลังก็อาจต้องเปลี่ยนเป็นการฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งมักใช้เพื่อรักษาแผลเป็นนูน หรือแผลคีลอยด์ ซึ่งต้องรักษาด้วยแพทย์เท่านั้น

หรือการรักษาอีกแบบก็คือ การผ่าตัด แต่ส่วนมากมักใช้รักษาแผลเป็นขนาดใหญ่และลึก หรือต้องมีการเย็บปิดปากแผลเพื่อลดขนาดแผลให้ดูแลได้ง่ายขึ้น

แผลถลอกเป็นระยะของแผลที่ไม่ได้รุนแรง และยังสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่เหลือริ้วรอยใดๆ ไว้บนผิวหนัง ขอเพียงรู้วิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ได้รับการจ่ายยาจากแพทย์อย่างเหมาะสม และใช้ยารักษาแผลอย่างสม่ำเสมอ 

เพียงเท่านี้แผลถลอกก็สามารถหายได้สนิท ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนใดๆ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stacy Sampson, Everything You Should Know About Skin Abrasions (https://www.healthline.com/health/abrasion), 18 August 2020.
Peacock EE, Cohen IK. Wound Healing. In: Mc Carthy, editor. Plastic surgery. Philadelphia W.B.Saunder; 1990. P.161-185.
Cohen IK, Diegelmann RF, Crossland MC. Wound care and wound healing. In: Schwartz, editor. Priciples of Surgery 6thed. Singapore: Mc Graw-Hill; 1994. p. 279-303.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม