กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

ฟันคุด

ต้นเหตุของความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่ใต้เหงือก ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรักษาไว คลายความทรมาน
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ฟันคุด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันคุดคือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นๆ ได้ตามปกติ อาจขึ้นไม่ได้เลย หรืออาจโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน เนื่องจากมีฟันซี่ข้างเคียง เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางอยู่
  • หากมีฟันคุดแล้วไม่ถอนออก อาจเกิดอันตรายได้ เช่น อาจส่งผลให้เหงือกบริเวณดังกล่าวอักเสบ บวมแดง หากปล่อยให้อักเสบอย่างเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดหนอง หรือมีการติดเชื้อตามมาได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดฟันเก ฟันผุ โรคเหงือก ถุงน้ำรอบฟันคุด หรือมีกลิ่นปากได้
  • การแก้ไขฟันคุดทำได้ด้วยการถอนฟันคุดออก หรือผ่าตัดฟันคุดออก (ผ่าตัดเล็ก) แต่หากทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า ฟันคุดซี่นั้นสามารถงอกออกจากเหงือกได้ตามปกติเพียงแต่อาจต้องใช้เวลา ก็อาจไม่ต้องถอนออก
  • หลังผ่าตัดฟันคุดเสร็จ กัดผ้าก๊อซให้แน่นราว 2 ชั่วโมงแล้วค่อยเอาออก ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดผืนใหม่ วางบนแผลและกัดให้แน่นตามเดิม แต่หากเลือดออกเป็นลิ่มเป็นก้อน มีปริมาณมาก ควรพบทันตแพทย์โดยด่วน
  • การถอนฟันคุดออกในช่วงวัยรุ่นจะส่งผลดีมากกว่าการถอนฟันในช่วงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นจะมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่า เหงือกและกระดูกเติมเต็มในช่องว่างที่ถอนฟันออกไปได้ดี 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจผ่าฟันและถอนฟันคุด

ฟันคุดคือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นๆ ได้ตามปกติ หรืออาจโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน สาเหตุเนื่องจากมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางอยู่ 

ฟันซี่ที่มักพบว่า เป็นฟันคุดบ่อยๆ คือ ฟันกรามล่างแท้ซี่ที่สาม (lower third molar) โดยปกติแล้วฟันซี่นี้จะโผล่พ้นเหงือกออกมาในช่วงอายุ 16–21 ปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกเหนือจากฟันกรามซี่นี้แล้วก็อาจพบได้ในฟันกรามบนซี่ที่สาม ฟันกรามน้อย และฟันเขี้ยว ทั้งนี้หากเป็นฟันกรามน้อย หรือฟันเขี้ยวที่ฝังอยู่ในกระดูกทั้งหมด อาจเรียกว่า "ฟันฝัง"

จะรู้ได้อย่างไรว่า คุณมีฟันคุด?

รู้ได้จากการตรวจช่องปากว่า ฟันกรามแท้ซี่นี้โผล่พ้นเหงือกออกมาหรือยัง แต่หากฟันกรามยังฝังตัวอยู่ใต้เหงือก ต้องมีการเอ็กซเรย์ช่องปากเพื่อดูว่า มีฟันกรามแท้ซี่นี้ฝังคุดอยู่หรือไม่ 

บางครั้งการงอกของฟันคุดมักทำให้รู้สึกถึงแรงดัน ตึง หรือปวดบริเวณหลังของฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 หากมีอาการปวดควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยช่องปากและเอ็กซเรย์ก่อน 

จากนั้นจึงสามารถประเมินมุมของการงอกและระยะการเติบโตของฟันคุดเพื่อทำการรักษาต่อไป

ต้องถอนฟันคุดออกหรือไม่?

หากมีฟันคุดแล้วไม่ถอนออกอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ บวมแดง และหากปล่อยให้อักเสบอย่างเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดหนองและการติดเชื้อลุกลามได้ในที่สุด  

นอกจากนี้ฟันคุดยังทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ถอนหรือผ่าฟันคุดวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 594 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เกิดฟันซ้อนเก หมายความว่า ฟันคุดไปดันฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เกิดฟันซ้อนเกได้ 
  • เกิดถุงน้ำรอบฟันคุด หมายความว่า เนื้อเยื่อรอบฟันคุดอาจเจริญเติบโตเป็นถุงน้ำ ทำให้ฟันเคลื่อนผิดไปจากตำแหน่งเดิม และละลายกระดูกรอบฟันซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อฟันและเหงือกรอบๆ ได้ 
  • เกิดกลิ่นปากหมายความว่า หากฟันคุดซี่สุดท้ายขึ้นชนฟันกรามที่ติดกันมักทำให้เศษอาหารเข้าไปติด เมื่อทำความสะอาดไม่ทั่วถึงมักทำให้เกิดกลิ่นปากได้  

กรณีเหล่านี้มีวิธีแก้ไขทางเดียวคือ การถอนฟันคุดออก หรือผ่าตัดฟันคุดออก 

อย่างไรก็ตาม หากทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า ฟันคุดซี่นี้สามารถงอกออกจากเหงือกได้ตามปกติเพียงแต่อาจต้องใช้เวลา  ฟันคุดซี่นั้นก็อาจไม่จำเป็นต้องถอนออก

สัญญาณและอาการของฟันคุดที่ติดเชื้อมีอะไรบ้าง?

การอักเสบเป็นหนองของเหงือกที่คลุมฟันเป็นสาเหตุหลักที่ต้องถอนฟันคุดออกอย่างเร่งด่วน 

การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้มีอาการแดง เหงือกบวม มีกลิ่นปาก เจ็บปวด และมักโดนฟันคู่สบกัดบ่อยครั้ง บางกรณีก็อาจมีหนองออกจากบริเวณนั้นด้วย 

บางครั้งการติดเชื้อก็ทำให้เนื้อเยื่อ เหงือก แก้ม หรือบริเวณโดยรอบของกรามข้างที่มีอาการบวมออก ซึ่งการบวมนี้จะทำให้เกิดแรงดันที่อาจลามไปยังหูจนก่อให้เกิดอาการปวดหูรุนแรงอีกด้วย 

นอกจากนี้บางครั้งการติดเชื้อที่หู หรือไซนัส ก็สามารถก่อให้เกิดอาการปวดลงฟันได้เช่นกัน ทำให้จำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อมองหาสัญญาณต้องสงสัยของการติดเชื้อด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จะทำอย่างไรถ้าคุณเจ็บฟันคุดและไม่สามารถถอนออกได้ทันที?

หากมีอาการบวม ติดเชื้อ กลืนอาหารลำบาก มีกลิ่นปาก มีไข้ หรือรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง อาจเกิดจากเหงือกอักเสบเฉียบพลัน 

การรับประทานยาแก้ปวดนับว่า เป็นวิธีการบรรเทาอาการเฉพาะหน้าได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การไปพบทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินอาการแล้วให้การรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 

ผ่าฟันคุด

การถอนฟันคุดทำอย่างไร?

เมื่อทันตแพทย์ตรวจและวินิจฉัยแล้วว่า ต้องถอนฟันคุดออก ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ในการถอนฟันเพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกเจ็บปวด

แต่หากฟันคุดอยู่ลึกลงไปใต้เนื้อเยื่อของเหงือกก็จำเป็นต้องมีการผ่าตัดขนาดเล็กขึ้นเพื่อให้นำฟันออกมาจากเบ้าฟันได้ หลังการถอนฟันแพทย์จะเย็บแผลด้วยไหมเย็บเพื่อให้เหงือกเข้าที่เป็นปกติเร็วขึ้น

หลังผ่าตัดครบ 7 วัน ทันตแพทย์จะนัดดูแผลและตัดไหมออก

วิธีปฏิบัติตัวหลังการถอนฟันคุด

  • หลังผ่าตัดเสร็จกัดผ้าก๊อซให้แน่นราว 2 ชั่วโมงแล้วค่อยเอาออก ถ้าเลือดยังไม่หยุด ให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดผืนใหม่ วางบนแผลและกัดให้แน่นตามเดิม ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดอาจมีเลือดออกจากบริเวณที่ถอนฟันเล็กน้อยก็นับว่าเป็นเรื่องปกติ จากนั้นเลือดจะออกลดลง แต่หากเลือดออกเป็นลิ่มเป็นก้อน มีปริมาณมาก ควรพบทันตแพทย์โดยด่วน
  • เมื่อยาชาหมดฤทธิ์อาจมีอาการปวดตึง เปิดปากลำบาก และมีความเจ็บปวดบ้าง ทันตแพทย์จึงมักจ่ายยาแก้ปวดมาบรรเทาอาการหลังผ่าตัด ร่วมกับการประคบเย็นในวันแรกและประคบอุ่นในวันต่อๆ มา
  • หลังผ่าตัดสามารถแปรงฟันเพื่อทำความสะอาดได้ แต่วันแรกต้องระมัดระวังไม่ให้โดนแผลผ่าตัด 
  • ไม่จำเป็นต้องงดอาหารใดๆ เพื่อคงสภาพร่างกายให้สมบูรณ์และส่งเสริมการฟื้นตัวให้เร็วขึ้น
  • 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด ต้องรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น น้ำผลไม้ปั่น โยเกิร์ต โจ๊ก ซุป พุดดิ้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด อาหารร้อนจัด หรืออาหารที่ไม่สะอาด สุกๆ ดิบๆ 
  • ไม่ควรดื่มน้ำผ่านหลอด เพราะทำให้กล้ามเนื้อช่องปากออกแรงดูดมากอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดและมีเลือดออกได้
  • เมื่ออาการปวดลดลงสามารถกลับไปรับประทานอาหารตามปกติที่ต้องใช้การเคี้ยวได้ 
  • ห้ามสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ 
  • พักผ่อนให้มากๆ 
  • ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัดจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ 
  • สำหรับเหงือกนั้น การฟื้นตัวเองให้สมบูรณ์อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

การถอนฟันคุดมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

ปัญหาที่พบได้หลังการถอนฟันคุดคือ กระดูกเบ้าฟันแห้ง หรือกระดูกเบ้าฟันอักเสบ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่อยู่ในบริเวณผ่าตัดเกิดหลุดออกโดยไม่ตั้งใจจนเผยให้เห็นกระดูกข้างใต้ 

หากเกิดเช่นนี้ขึ้น กระดูกรอบเบ้าที่ถอนจะเกิดการอักเสบได้ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นหลังการถอนฟัน 2-5 วัน และจะทำให้มีกลิ่นปากพร้อมกับอาการปวดรุนแรงต่อเนื่อง ควรติดต่อทันตแพทย์ทันทีที่ประสบกับอาการข้างต้น

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาท inferior alveolar nerve 

สำหรับการถอนฟันคุด ไซนัสทะลุสำหรับการถอนฟันคุด ความเสียหายที่ฟันใกล้เคียง มีอาการชาต่อเนื่อง หรือความรู้สึกที่ลิ้น ริมฝีปาก หรือเหงือกเปลี่ยนแปลงไป หรือปัญหากับข้อต่อขากรรไกรที่เกิดมาจากการอ้าปากกว้างเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงเหล่านี้ก่อนเริ่มถอนฟัน หากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้น ควรแจ้งให้ทันตแพทย์เจ้าของเคสทราบ

การถอนฟันคุดออกในช่วงวัยรุ่นจะส่งผลดีมากกว่าการถอนฟันในช่วงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นจะมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่า  

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการของฟันคุดควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ผ่าฟันฝัง ที่ ทันตกรรมตรงข้ามพาต้า เจ็บไหม? เช็กเลย | HDmall
รีวิว ถอนฟันคุด ที่ Deezy Dental Home สาขาเมืองเอกรังสิต | HDmall
รีวิวถอนฟันคุด ที่ Deezy Dental Home | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจผ่าฟันและถอนฟันคุด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

ผ่าฟันคุด

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ถอนฟันคุดดีไหม ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม?, (https://hdmall.co.th/c/wisdom-tooth-removal).
ผ่าฟันคุดเจ็บไหม? ฟันคุดแบบไหนถอนได้? ตอบครบทุกข้อมูลโดยทันตแพทย์จาก TDH, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-wisdom-teeth-by-thonglor-dental-hospital).
Julie Ryan Evans, Identifying and Treating Impacted Teeth (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/impacted-teeth), 1 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด เป็นอย่างไร? ตอบทุกข้อสงสัยจากทันตแพทย์

รวมคำตอบเกี่ยวกับฟันคุด เกิดได้อย่างไร การผ่าตัดหรือถอน แผลกี่วันหาย

อ่านเพิ่ม
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม
อยากผ่าฟันคุด ควรไปผ่าที่ไหน? ราคาประมาณเท่าไร การใช้สิทธิประกันสังคม

ไขข้อข้องใจ ถ้าต้องผ่าฟันคุดไปที่ไหนดี ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้หรือไม่ เช็กสิทธิ์ได้ที่ไหน และตัวอย่างราคาค่าผ่าฟันคุดตามโรงพยาบาลต่างๆ

อ่านเพิ่ม
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
รวมขั้นตอนการผ่าฟันคุด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เตรียมตัวเตรียมใจก่อนผ่าฟันคุด สาเหตุ วิธีการผ่าฟันคุดโดยละเอียด

อ่านเพิ่ม