กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การลดอาการเอ็นอักเสบภายในหัวเข่า

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การลดอาการเอ็นอักเสบภายในหัวเข่า

เส้นเอ็นเป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่ช่วยยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก ภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการที่มีการบาดเจ็บซ้ำๆ ที่บริเวณดังกล่าว เอ็นกล้ามเนื้อนั้นหมายถึงเนื้อเยื่อส่วนที่ทำหน้าที่ยึดกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก และภาวะเอ็นอักเสบนั้นมักจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ เรื้อรังเช่นจากการทำท่าเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ภาวะนี้มักจะเกิดที่ข้อศอก ข้อเท้า และข้อมือ

ผู้ที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมหนักๆ เช่นการวิ่งหรือเล่นบาสเกตบอลเฉพาะในช่วงวันหยุด แต่ไม่ได้มีการเล่นต่อเนื่องมาในช่วงวันทำงานนั้นมักจะเกิดภาวะเอ็นอักเสบขึ้นที่เข่า นอกจากนั้นการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวที่เข่าได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ก็คืออายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเอ็นจะมีความยืดหยุ่นลดลงและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงซึ่งล้วนแต่จะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น หากกล้ามเนื้อต้นขาหรือกล้ามเนื้อน่องของคุณนั้นไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของภาวะเอ็นอักเสบที่เข่าประกอบด้วย

  • ปวดเหนือหรือใต้ต่อหัวเข่า
  • บวม
  • ปวดเวลาทำกิจกรรมบางอย่างและอาการดีขึ้นเมื่อได้พัก
  • ในรายที่มีอาการรุนแรง อาการปวดจะคงอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะนั่งพัก และอาจปวดมากจนนอนไม่หลับได้

วิธีต่อไปนี้สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะดังกล่าวได้

  • จำกัดกิจกรรมที่ทำที่จะเพิ่มความเครียดต่อหัวเข่า
  • ประคบเย็น
  • ใช้ยาแก้ปวดเช่นยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หรือ naproxen
  • ใส่สนับพยังเข่า

เมื่ออาการปวดและบวมลดลงแล้ว ค่อยๆ เริ่มกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติอย่างช้าๆ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักในช่วงสัปดาห์แรกๆ โดยมากภาวะนี้มักจะหายภายในระยะเวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน และแพทย์อาจให้คำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติมหากยังคงมีอาการอยู่

นอกจากนั้นคุณควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นแก่กล้ามเนื้อเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวว้ำ


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Persistent Knee Swelling in the Adult. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/decision_guide/persistent-knee-swelling-in-the-adult)
8 Ways to Reduce Inflammation From Arthritis. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-to-reduce-inflammation-from-arthritis-189897)
Inner knee pain: Treatment, exercises, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321065)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
การตรวจเข่า
การตรวจเข่า

ทำความเข้าใจวิธีการตรวจประเมินข้อเข่าด้วยวิธีต่างๆ ประโยชน์ของการตรวจข้อเข่าแต่ละวิธี และผู้ที่ควรได้รับการตรวจเข่า

อ่านเพิ่ม