กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การตรวจเข่า

ทำความเข้าใจวิธีการตรวจประเมินข้อเข่าด้วยวิธีต่างๆ ประโยชน์ของการตรวจข้อเข่าแต่ละวิธี และผู้ที่ควรได้รับการตรวจเข่า
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
การตรวจเข่า

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ข้อเข่า เป็นข้อต่อในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นบริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บ หรือผิดปกติได้มากอีกแห่งด้วย
  • การตรวจข้อเข่าในขั้นตอนแรกจะมีการซักประวัติสุขภาพ จากนั้นแพทย์จะสังเกตลักษณะข้อเข่า รวมถึงเอามือคลำ กดเบาๆ สังเกตรอยแดง นอกเหนือจากนั้นอาจมีการตรวจทางรังสีวิทยาประกอบด้วย
  • หากคุณมีอาการบาดเจ็บ หรือข้อเข่าผิดปกติ แพทย์อาจมีการตรวจในรูปแบบอื่นๆ อีกเช่น ตรวจช่วงการเคลื่อนไหว การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ การตรวจด้วยมือผ่านการเคลื่อนไหวที่เฉพาะ การตรวจระบบประสาท
  • โครงสร้างข้อต่อที่มักได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือออกกำลังกายได้แก่ หมอนรองข้อเข่า เอ็นไขว้หน้า และเอ็นไขว้หลัง เอ็นยึดกระดูกด้านข้างข้อเข่า และถุงน้ำข้อเข่า
  • ประโยชน์ของการตรวจข้อเข่า คือ จะช่วยให้คุณรู้ถึงสุขภาพข้อเข่าตนเองว่า เป็นอย่างไร และจะได้วางแผนป้องกัน ชะลออาการบาดเจ็บได้อย่างเหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจข้อเข่า หรือกระดูก

ข้อเข่า (Knee Joint) เป็นข้อต่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย แม้จะเคลื่อนไหวได้แค่ 2 ทิศทางหลัก คือการงอ และเหยียด แต่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวปกติของมนุษย์มาก 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับข้อเข่าจำนวนมาก และสามารถยังเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย เช่น ข้อเข่าผิดรูปแต่กำเนิดในทารก เอ็นข้อเข่าบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาในวัยรุ่น หรือข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นทุกคนควรต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดวังเพื่อป้องกันประสิทธิภาพของข้อเข่า และควรเข้าไปตรวจสุขภาพเกี่ยวกับระบบกระดูกกับข้อต่อบ้าง

ความหมายของการตรวจข้อเข่า

การตรวจเข่า เป็นการตรวจเพื่อหาโครงสร้างที่มีความผิดปกติภายในข้อเข่าผ่านกระบวนการตรวจร่างกายซึ่งประกอบไปด้วย 2 กระบวนการใหญ่ๆ ได้แก่

1. การซักประวัติ (History taking) 

การซักประวัติสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมที่ผู้ป่วยเคยทำเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการวินิจฉัยแยกโรค หรืออาการบาดเจ็บเกี่ยวกับข้อเข่าได้ เช่น ผู้ป่วยปวดเข่าที่อายุมาก มีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ป่วยปวดเข่าที่มีอายุน้อย 

หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่ามากในตอนเช้าหลังตื่นนอน จะมีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ที่มีอาการปวดเข่าหลังจากยืน หรือเดินเป็นเวลานานๆ 

2. การตรวจร่างกาย (Physical examination) 

การตรวจร่างกายมีด้วยกันหลายวิธี เริ่มตั้งแต่การดู (Inspection) จะทำให้สังเกตเห็นรูปร่างของข้อเข่าที่ผิดปกติ หรืออาการบวม นอกจากนี้ บริเวณที่มีรอบสีแดงยังอาจบ่งชี้ว่า มีอาการอักเสบ (Inflamation) เกิดขึ้นด้วย 

การตรวจโดยการคลำ (Palpation) ก็สามารถตรวจหาความผิดปกติของข้อเข่าได้ โดยผู้ตรวจจะใช้มือสัมผัสรอบๆ ข้อเข่าที่มีอาการผิดปกติ หากบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะบ่งชี้ถึงการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ การกดเบาๆ ก็จะทำให้แยกได้ว่า การบวมนั้นเป็นการบวมที่กดแล้วบุ๋มหรือไม่ หากเป็นอาการบวมที่กดแล้วบุ๋ม (Pitting edema) ก็จะไม่ใช่การบวมจากการอักเสบ 

นอกเหนือจากการตรวจร่างกาย ตรวจทางรังสีวิทยา และเทคโนโลยีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Investigation) ก็มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจประเมินผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อเข่าได้มากเช่นกัน

รายละเอียดการตรวจข้อเข่า

วิธีตรวจเข่าสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อเข่าในแต่ละราย จะแตกต่างกันตามประวัติที่ผู้ป่วยรวมถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา หรือการการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากการซักประวัติ และตรวจร่างกายด้วยมือผ่านการเคลื่อนไหวที่เฉพาะ (Special test) สามารถบ่งชี้อาการได้ชัดเจน 

การตรวจเข่าที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาล และคลินิกกายภาพบำบัด มีดังนี้

1. การตรวจช่วงการเคลื่อนไหว (Range of motion testing)

เป็นการตรวจเพื่อประเมินความสามารถในการงอ และเหยียดของข้อเข่า อุปกรณ์ที่ใช้คือ เครื่องวัดมุมที่มีลักษณะคล้ายไม้โปรแทรกเตอร์มีชื่อว่า "โกนิโอมิเตอร์ (Goniometer)" 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจด้วยวิธีนี้นอกจากจะช่วยประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวไม่สุดแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่ใช้ประเมินผลการรักษาได้ด้วย ตัวอย่างผู้ป่วยที่มักจะต้องวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เช่น 

  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าจนงอเข่าไม่ได้ 
  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าด้วยวิธีการต่างๆ 
  • ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่เริ่มมีการผิดรูปของข้อเข่า

2. การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ (Manual muscle testing)

ผู้ตรวจจะให้แรงต้านการงอ และเหยียดเข่าในลักษณะสู้กันกับคนไข้ แล้วประเมินเป็นคะแนน 0-5 

กำลังกล้ามเนื้อช่วยบอกการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อนั้นๆ ทั้งจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy) หรือจากปัญหาของเส้นประสาทไขสันหลังก็ได้ เช่น 

  • ผู้ที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังระดับข้อที่ 3 หรือ 4 (L3-4) กดทับเส้นประสาท ก็อาจจะมีอาการอ่อนแรงของการเหยียดเข่า 
  • ผู้ที่ควรจะเข้ารับการตรวจกำลังกล้ามเนื้อเข่า ซึ่งได้แก่ ผู้ที่รู้สึกเข่าอ่อนแรง กล้ามเนื้อบริเวณเข่าฝ่อลีบลง มีอาการปวดหลังร่วมกับชาร้าวลงขา 

3. ตรวจร่างกายด้วยมือผ่านการเคลื่อนไหวที่เฉพาะ (Special test) และการตรวจการทำงานของระบบประสาท (Neurological examination)

การตรวจทั้ง 2 ชนิดนี้ถือเป็นการตรวจที่ใช้ชี้เฉพาะโครงสร้างที่มีปัญหา มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ละโครงสร้างที่คาดว่าน่าจะมีปัญหา 

บางโครงสร้างที่มีปัญหาอาจจะมีหลายวิธีตรวจที่แตกต่างกัน การตรวจร่างกายด้วยมือผ่านการเคลื่อนไหวบริเวณที่เฉพาะส่วนมากมักจะเป็นท่าทางที่กระตุ้นให้มีอาการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เช่น การให้ผู้ป่วยนอนหงาย การชันเข่าข้างที่มีปัญหาขึ้น การเคลื่อนขาท่อนล่างมาด้านหน้า

หากข้อเข่าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ หรือกระตุ้นแล้วเกิดอาการเจ็บขึ้นมา ก็อาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติของเอ็นไขว้หน้าภายในข้อเข่า (Anterior cruciate ligament) ได้ 

นอกจากนี้ การตรวจการทำงานของระบบประสาท ก็จะช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งของระบบประสาท หรือเส้นประสาทที่มีปัญหารอบๆ ข้อเข่า หรือบริเวณที่เกี่ยวข้องได้ เช่น 

  • การตรวจการรับความรู้สึกสัมผัส (Light touch) 
  • การตรวจการรับความรู้สึกแหลมคม (Pinprick) 
  • การตรวจปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (Reflex reaction) 

ผู้ที่ควรจะได้รับการตรวจการทำงานของระบบประสาท ได้แก่ ผู้ที่มีความผิดปกติการรับความรู้รอบๆ ข้อเข่า เช่น มีอาการชา มีความสามารถในการรับความรู้สึกลดลง รู้สึกผิวหนังหนาๆ เหมือนเวลาฉีดยาชาตอนทำฟัน หรือมีการอ่อนแรงของเข่าร่วมกับมีอาการปวดหลัง

4. การตรวจทางรังสีวิทยา

จะทำโดยอาศัยเครื่องมือ และกระบวนการถ่ายภาพทางรังสีวิทยาต้องทำโดยนักรังสีเทคนิคตามการส่งตรวจของแพทย์เท่านั้น การตรวจทางรังสีวิทยาที่พบได้บ่อยๆ ในข้อเข่ามีดังนี้

4.1 การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์เรย์ (X-ray)
ข้อดีของการตรวจด้วยวิธีนี้ คือ ใช้เวลาน้อย ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจทางรังสีวิทยาชนิดอื่นๆ อีกทั้งสามารถเห็นโครงสร้างที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ชัดเจน 

แต่โครงสร้างที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า เช่น เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) หรือเอ็นยึดกระดูก (Ligament) จะสังเกตเห็นความผิดปกติได้ยาก 

4.2 การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
ข้อดีของการถ่ายภาพเอ็มอาร์ไอ คือ เห็นรายละเอียดโครงสร้างต่างๆ ที่ภาพเอกซเรย์ภายในข้อเข่าไม่สามารถมองเห็นชัดเจนได้ แต่มีข้อเสีย คือ ใช้เวลานานกว่า และค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลายเท่า

4.3 การตรวจน้ำไขข้อทางห้องปฏิบัติการ (Arthrocentesis)
มักทำในผู้ที่มีข้อเข่าบวมมาก และแพทย์สงสัยว่า อาจติดเชื้อในข้อเข่า หรือรับการรักษามาเป็นระยะหนึ่งแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นเลย การตรวจวิธีนี้ทำได้โดยการใช้เข็มดูดของเหลวในข้อเข่าออกมา เพื่อทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการต่อไป

ระยะเวลาในการรอผลตรวจขึ้นกับสิ่งที่แพทย์ต้องการตรวจสอบ ข้อดี คือ สามารถยืนยันเชื้อที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้ชัดเจน หากเป็นกรณีของการติดเชื้อในข้อเข่า

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ อีกมากมายที่แพทย์ และนักกายภาพบำบัดจะสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยแต่ละรายได้ ขึ้นอยู่กับอาการ และอาการแสดงของคนไข้แต่ละคน 

โครงสร้างในข้อเข่าที่มักจะมีปัญหา

ข้อเข่ามีหน้าที่สำคัญหลายประการ นอกจากทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแล้วยังรับน้ำหนัก และส่งผ่านไปยังข้อเท้าช่วยให้การทรงตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

โครงสร้าง และหน้าที่ของข้อเข่าจึงค่อนข้างซับซ้อน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโครงสร้างที่มักมีปัญหาใน 2 กรณีหลักๆ ดังนี้ คือ

1. โครงสร้างที่มักได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการออกกำลังกาย ได้แก่ 

  • หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) 
  • เอ็นไขว้หน้า และเอ็นไขว้หลัง (Anterior and Posterior cruciate ligament) 
  • เอ็นยึดกระดูกด้านข้างข้อเข่า (Lateral collateral ligament) 
  • ถุงน้ำบริเวณข้อเข่า (Bursa)

2. โครงสร้างที่มีปัญหาเนื่องจากการเสื่อมสภาพตามอายุ (Osteoarthritis Knee) ได้แก่ ผิวของข้อต่อที่เป็นกระดูกอ่อน (Articular surface)

ประโยชน์ของการตรวจข้อเข่า

ประโยชน์การตรวจเข่าก็เหมือนกับการตรวจร่างกายประเภทอื่นๆ คือ ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโครงสร้างที่มีความผิดปกติได้ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยให้แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้ 

ในกรณีการตรวจข้อเข่าในผู้สูงอายุ จะช่วยให้สามารถวางแผนป้องกัน หรือชะลอความเสื่อมที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อเข่าได้ด้วย ส่วนในกรณีของนักกีฬาก็ช่วยให้นักกายภาพบำบัดสามารถออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬาชนิดนั้น 

หรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดบริเวณข้อเข่าชนิดต่างๆ ก็เพื่อวางแผนการฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ 

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจข้อเข่า

โดยทั่วไปแล้ว การตรวจเข่าไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ควรจะรีบเข้ารับการตรวจอย่างเร็วที่สุดเมื่อสังเกตพบว่า มีความผิดปกติเพราะการตรวจวินิจฉั ยและให้การรักษาอย่างรวดเร็วมักจะให้ผลดีกว่ารักษาเมื่ออาการเข้าขั้นเรื้อรังแล้ว

แม้ยังไม่ถึงขั้นสูงวัยอายุเลข 5 ขึ้นไป แต่โรคข้อเข่าเสื่อมก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเช่นกัน ขึ้นอยู่สาเหตุ และปัจจัย 

หมั่นสังเกตการเคลื่อนไหวของตนเอง หากพบความผิดปกติเช่น ปวดเข่า มีเสียงเข่าลั่นเวลาเคลื่อนไหว นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของข่อเสื่อมก็เป็นได้ เพื่อความมั่นใจ การไปตรวจเข่าก็เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้คุณได้รับคำแนะนำในการรักษา และได้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างเหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจข้อเข่า หรือกระดูก ตรวจก่อนแต่งจากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Atkins E, Kerr J, Goodlad E. A practical approach to orthopaedic medicine. 3rd ed. China:Churchill Livingstone;2010.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป