การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว คือ การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์, ออกกำลังกายเป็นประจำ, หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลง

ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือดแดงมีการอุดตันของไขมัน และยังลดความเสี่ยงของการมีความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้อีกด้วย ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าคุณมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตและการเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวซ้ำในอนาคตได้

อาหาร

อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง เพราะว่าอาหารเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได

ดังนั้นขอแนะนำให้รับประทานอาหารไขมันต่ำ มีใยอาหารสูง รวมถึงผักและผลไม้สด (5 ส่วนต่อวัน) และธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ขัดสี สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่รับประทานอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีเกลือสูงและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว

คุณควรจำกัดปริมาณการบริโภคเกลือไม่ให้เกิน 6 กรัมต่อวัน เพราะเกลือที่มากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตสูง ปริมาณเกลือ 6 กรัมเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำร่วมกับการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์คือวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีและการออกกำลังกายจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีด้วย

คำแนะนำสำหรับผู้คนโดยทั่วไปคือ แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาที (2 ชั่วโมง 30 นาที) ต่อสัปดาห์ เช่น การปั่นจักรยาน หรือการเดินเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การหยุดสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองอย่างมาก เพราะจะไปทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบและทำให้มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดง่ายกว่าปกติ

ถ้าคุณสูบบุหรี่ คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองขาดเลือดได้ด้วยการหยุดสูบบุหรี่ การหยุดสูบบุหรี่ยังช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งปอด และโรคหัวใจได้อีกด้วย

สำหรับประเทศไทย คุณสามารถขอรับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ได้ที่สายด่วนเลิกบุหรี่ โทร 1600

ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม, ความดันโลหิตสูง และกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น

ถ้าคุณเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์อยู่ คุณควรจำกัดปริมาณการดื่มไม่ให้เกิดปริมาณที่แนะนำ ดังนี้

  • ผู้ชาย ไม่ควรดื่มเกิน 3-4 หน่วยต่อวัน
  • ผู้หญิง ไม่ควรดื่มเกิน 2-3 หน่วยต่อวัน

การรักษาโรคอื่นๆ ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง เช่น มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation), หรือเบาหวาน คุณต้องมั่นใจว่าโรคเหล่านี้ได้รับการรักษาและควบคุมได้ดี

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กล่าวถึงข้างบนจะช่วยควบคุมโรคต่างๆ เหล่านี้ไม่ให้เป็นมากขึ้น แต่คุณก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/transient-ischaemic-attack-tia#prevention


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ischemic stroke: Causes, symptoms, and risk factors. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318098)
Secondary Prevention of Stroke and Transient Ischemic Attack. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2667676/)
Transient ischemic attack (TIA) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/transient-ischemic-attack/symptoms-causes/syc-20355679)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)