กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Peritonitis (เยื่อบุช่องท้องอักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นการติดเชื้อที่ทำให้ปวดมากของเยื่อบุผนังทางเดินอาหาร ซึ่งต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน

เยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่เยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบุบางๆ คล้ายผ้าไหมที่บุอยู่ในผนังหน้าท้องด้านใน เยื่อบุช่องท้องจะปกป้องอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องจะทำให้เกิดอาการปวด อักเสบ ระคายเคือง และต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาการติดเชื้อและภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

เยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจากการสะสมของเลือด ของเหลวที่ร่างกายสร้าง หรือหนองในช่องท้อง โดยเยื่อบุช่องท้องอักเสบมี 2 ประเภท คือ

  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อของของเหลวที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ซึ่งของเหลวนี้จะมีมากในโรคตับระยะท้ายหรือในโรคไต และยังทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นอันตรายต่อลำไส้ได้ด้วย
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากสาเหตุอื่น เกิดจากภาวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น มีการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากระบบทางเดินอาหาร ตัวอย่างเช่นจากไส้ติ่งแตก แผลในกระเพาะอาหาร ถุงผนังลำไส้อักเสบ หรือลำไส้ใหญ่รั่ว

นอกจากนี้ การบาดเจ็บจากแผลกระสุนปืนหรือแผลถูกแทงก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับการใส่สายล้างไตทางหน้าท้องหรือใส่สายให้อาหาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียสามารถทำให้เกิดเกิดภาวะพิษจากการติดเชื้อ (sepsis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงมากในกระแสเลือด ทารกคลอดก่อนกำหนดที่อวัยวะยังพัฒนาไม่เต็มที่จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากภาวะลำไส้เน่าในทารกแรกเกิด (necrotizing enterocolitis)

อาการของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

อาการและอาการแสดงของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ได้แก่

  • ปวดท้องหรือสัมผัสท้องแล้วปวด
  • ท้องอืดหรือแน่นท้อง
  • ไข้
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ถ่ายเหลว
  • ถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือผายลมไม่ออก
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • กระหายน้ำ
  • อ่อนเพลีย
  • หนาวสั่น
  • ปวดข้อ
  • มึนศีรษะหรือไม่มีแรง

ผู้ที่ล้างไตทางหน้าท้องอาจเคยมีอาการเหล่านี้

  • น้ำล้างไตออกมาเป็นสีขุ่น
  • มีจุด เส้นใย หรือตะกอนขาวๆ (เส้นใยไฟบริน)ในน้ำล้างไต

ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะลำไส้เน่า ในทารกจะมีอาการเกิดขึ้นใน 1-2 สัปดาห์แรก ได้แก่

  • ท้องอืด หรือหน้าท้องบวม
  • รับอาหารได้ไม่ดี
  • อาเจียนบ่อยและอาจมีสีเขียว
  • อุจจาระมีเลือดปน ท้องผูก หรือถ่ายเหลว
  • หน้าท้องแดงหรือมีสีผิดปกติไป
  • ไม่มีแรง
  • ไข้
  • อุณหภูมิกายต่ำหรือไม่คงที่ หัวใจเต้นช้า หรือความดันต่ำ
  • หยุดหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

หากทิ้งไว้ไม่รักษา เยื่อบุช่องท้องอักเสบจะทำให้เกิด

  • การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดที่เรียกว่า แบคทีรีเมีย (bacteremia)
  • ภาวะพิษจากการติดเชื้อ (sepsis)
  • โรคสมองจากตับ (Hepaticencephalopathy) เป็นการสูญเสียการทำงานของสมอง ซึ่งเกิดจากตับไม่สามารถกำจัดสารพิษในเลือดออกไปได้
  • กลุ่มอาการโรคไตจากตับ (Hepatorenal syndrome) คือ ภาวะที่ไตล้มเหลวมากขึ้นเรื่อยๆ ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • เสียชีวิต

การวินิจฉัยเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ในผู้ป่วยที่ล้างไตทางหน้าท้องแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบด้วยอาการและอาการแสดงโดยเฉพาะหากมีน้ำล้างไตสีขุ่น หากแพทย์ต้องการยืนยันการวินิจฉัยหรือภาวะติดเชื้อนั้นเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์จำเป็นต้องตรวจร่างกายหน้าท้องเพื่อดูว่ากดแล้วปวดหรือแข็งหรือไม่ และอาจต้องส่งตรวจอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

  • ตรวจวิเคราะห์น้ำในช่องท้องทำได้โดยใช้เข็มเล็กๆ เก็บตัวอย่างน้ำในช่องท้อง หากเม็ดเลือดขาวในน้ำในช่องท้องสูงขึ้น บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือมีการอักเสบและการเพาะเชื้อจากน้ำในช่องท้องจะบ่งบอกว่าติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่
  • ตรวจเลือด จะช่วยบอกได้หากมีเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นและการเพาะเชื้อจากเลือดจะบอกได้ว่ามีแบคทีเรียในเลือดหรือไม่
  • การถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็กซเรย์ อัลตราซาวน์ หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) สามารถตรวจหาน้ำ ลม ก้อน หรือฝีในช่องท้องได้และหารอยรั่วของระบบทางเดินอาหารได้

การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

เมื่อพบสาเหตุของเยื่อบุช่องท้องอักเสบแล้ว การรักษาจะเริมทันที หากทิ้งไว้เยื่อบุช่องท้องอักเสบจะรุนแรงมากขึ้นและอันตรายถึงชีวิต การรักษา ได้แก่ การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อและไม่ให้การติดเชื้อแพร่กระจาย อาจทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออก รักษาสาเหตุของการติดเชื้อและป้องกันเชื้อแพร่กระจาย ส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น ยาระงับปวด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน และการให้เลือดอาจทำในผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล หากล้างไตทางหน้าท้องอยู่ จำเป็นต้องล้างไตด้วยวิธีอื่นจนกว่าการติดเชื้อจะหายไป หากเยื่อบุช่องท้องอักเสบเป็นนานหรือกลับมาเป็นซ้ำจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีล้างไตเป็นวิธีอื่นอย่างถาวร


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Markus MacGill, Everything you need to know about peritonitis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/312552.php), October 23, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ช่วงนี้ปวดท้องบ่อย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการปวดท้องบ่อยๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำใส้หรือช่องท้องหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คุณแม่อายุ 70 มีก้อนแข้งๆ บริเวณท้อง ใต็ราวนม ไม่ทราบว่า จะเป็นสาเหตุของโรคอะไรได้บ้างครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เจ็บบริเวณแผลผ่าคลอด หลังผ่ามา 6เดือน จะมีอันตรายมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หากผ่าคลอดมา10เดือนมีอาการเจ็บท้องน้อยจะมีความผิดปกติอะไรหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)