กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. ธวัลรัตน์ ปานแดง
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. ธวัลรัตน์ ปานแดง

ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

ตะคริวเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตะคริว คือ อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก โดยส่วนที่มักเกิดอาการจะเป็นบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดตะคริวมีหลายปัจจัย แต่สาเหตุชัดเจนยังไม่แน่ชัด บางทฤษฎีอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ทำให้หดรั้ง และเกร็งเมื่อใช้งานบ่อยๆ เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ 
  • คุณสามารถรักษาอาการตะคริวกินได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อ หยุดทำสิ่งต่างๆที่จะทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น หรือประคบร้อน หรือเย็น การรับประทานยาแก้ปวด ดื่มน้ำให้มากขึ้นก็ช่วยให้หายจากอาการตะคริวกินได้
  • วิธีป้องกันตะคริวกินหลักๆ คือ การรักษาสุขภาพกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เช่น หมั่นออกกำลังกายอย่างพอดี ยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ ต้องมีการยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ก่อนใช้งาน รับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุกลุ่มแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • อาการตะคริวกินอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคไต โรคไทรอยด์ พาร์กินสัน ภาวะซีด น้ำตาลในเลือดต่ำ คุณจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ 
  • เปรียบเทียบราคาและดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย   

ตะคริว เกิดจากการหดและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างกระทันหัน

ส่วนที่พบมากที่สุด คือ ตะคริวกล้ามเนื้อขา ผู้ที่เคยมีประสบการณ์การเป็นตะคริวจะทราบดีถึงความเจ็บปวด เมื่อกล้ามเนื้อบีบตัวแน่น จนไม่สามารถขยับเขยื้อนขาได้เลย แม้จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น อาการจะเป็นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อไปเพียงไม่กี่อึดใจเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด หากเกิดขึ้นตอนที่ร่างกายต้องเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ขณะว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาโลดโผน 

ตะคริวจึงเป็นหนึ่งในภัยร้ายที่สามารถคร่าชีวิตได้รวดเร็วไม่แพ้โรคติดต่อชนิดอื่นๆ

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดตะคริว

สาเหตุของการเป็นตะคริวยังไม่ได้รับการยืนยันชัดเจน จากการสำรวจพบว่า ตะคริวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย บ้างก็เกิดขึ้นในขณะที่นอนอยู่เฉยๆ และบางคนเป็นตะคริวติดต่อกันหลายครั้งมากในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ 

การเป็นตะคริวมักมีความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัย ดังต่อไปนี้

  1. กล้ามเนื้อทำงานหนัก หรืออยู่ในท่าที่ผิดปกติ ตะคริวกล้ามเนื้อขามักเกิดขึ้นหลังจากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ยืนบนพื้นที่แข็งมาก นั่งท่าเดิมนานๆ หรือนอนในลักษณะที่ขาไม่ได้เหยียดคลาย พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความล้ามาก และเกร็งตัวในที่สุด
  2. เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย บางทฤษฎีอาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ทำให้หดรั้ง และเกร็งเมื่อใช้งานบ่อยๆ
  3. ร่างกายได้รับแร่ธาตุหรือน้ำที่ไม่เพียงพอ ปัจจัยหนึ่งที่พบมากในผู้ที่เป็นตะคริว คือการขาดแร่ธาตุ และน้ำในร่างกาย หรือแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งมักเกิดในสตรีมีครรภ์ เพราะแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ถูกดึงไปใช้ในการพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกทั้งการตั้งครรภ์ยังเบียดกระเพาะปัสสาวะให้ต่ำลงกว่าปกติ ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง ทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่าย ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้งมาก และนำมาซึ่งการขาดน้ำ
  4. สัมผัสกับความเย็นนานๆ กล้ามเนื้อก็เหมือนกับผิวหนัง เมื่อสัมผัสความเย็นจะทำให้หดตัวอย่างรวดเร็วจนรู้สึกแน่นและตึงได้ ส่วนใหญ่แล้วตะคริวมักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัมผัสอากาศหนาวมาก หรือน้ำเย็นจัดเป็นเวลานาน
  5. ปัญหาสุขภาพแทรกซ้อน ปัญหาสุขภาพบางประเภทสามารถทำให้เกิดตะคริวได้ เช่น ปัญหาการหมุนเวียนเลือดต่างๆ เช่น โรคไต โรคไทรอยด์ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  6. เกิดจากการที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอ มักพบในคนที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเลือด เช่น เบาหวาน
  7. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง อาจเป็นผลข้างเคียงมาจากการรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น กลุ่มยาระงับอาการทางจิต ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ ยาสลายไขมันในเลือด และสเตียรอยด์

วิธีรับมือเมื่อเป็นตะคริว

  • หยุดการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นทันที
  • ยืดกล้ามเนื้อและนวด ควรค่อยๆทำอย่างช้าๆ ไปควรยืดออกเร็วเป็น เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ลักษณะการยืดกล้ามเนื้อนั้นขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นตะคริว 

ดังมีวิธีต่อไปนี้ ได้แก่ 

  • ตะคริวที่ต้นขาด้านหน้า: ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง หรือนอนคว่ำหน้าลงบนพื้น จากนั้นใช้มือพับขาข้างที่ปวดเข้าหาตัวจากทางด้านหลัง กล้ามเนื้อบริเวณหน้าขาจะรู้สึกตึง ยืดค้างไว้จนกว่าอาการปวดจะหาย 
  • ตะคริวที่ต้นขาด้านหลัง: นอนหงายและเหยียดขาขึ้นในมุมตั้ง จากนั้นงอข้อเท้าเข้าหาตัว แล้วใช้มือดึงขาข้างที่ยกเข้าหาตัวให้มากที่สุดจนรู้สึกตึง ดึงค้างไว้จนกว่าอาการปวดจะหาย 
  • ตะคริวที่น่อง: นั่งลงบนพื้น และเหยียดขาไปด้านหน้าให้ตรง จากนั้นใช้มืองอปลายเท้าเข้าหาตัวจนรู้สึกตึงที่บริเวณน่อง ควรทำค้างไว้จนกว่าจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว 
  • กรณีที่เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ: หากขาสามารถแตะพื้นสระน้ำได้ให้หยุดยืนและนวดกล้ามเนื้อ แต่หากอยู่ในตำแหน่งที่ลึก ให้หงายตัวขึ้นและลอยอยู่ที่ผิวน้ำ จากนั้นยืดขาออกในลักษณะที่ไม่เกร็งมาก งอข้อเท้าเข้าหาตัว และทำค้างไว้จนหายดี

หลังจากอาการปวดทุเลาลง หรือหายไปแล้ว ให้นวดเบาๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • วิธีประคบร้อนและประคบเย็น 

ดังมีวิธีต่อไปนี้

  • ประคบร้อน: ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือแผ่นประคบร้อน กดลงไปในบริเวณที่ปวด ความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้เร็วขึ้น 
  • ประคบเย็น: ใช้น้ำแข็ง หรือแผ่นเจล แช่แข็งประคบไว้ในบริเวณที่ปวด โดยมีผ้าสะอาดคั่นระหว่างอุปกรณ์ประคบเย็นและผิวหนัง การประคบเย็นจะช่วยให้รู้สึกชา บรรเทาอาการปวดลงได้จนกว่ากล้ามเนื้อจะคลายตัว
  • การรับมือตะคริวด้วยวิธีอื่นๆ มีดังนี้
  • รับประทานยาแก้ปวด: โดยรับประทานตามที่ระบุไว้บนฉลาก หรือตามที่แพทย์จัดไว้ให้ในกรณีที่เป็นตะคริวบ่อยครั้ง และได้เคยปรึกษาแพทย์แล้ว 
  • ดื่มน้ำให้มาก: น้ำและเครื่องดื่มสำหรับการเล่นกีฬาก็สามารถคลายตะคริวได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของเกลือแร่
  • หมั่นยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนออกกำลังกาย หรือก่อนทำงานหนัก และก่อนเข้านอน
  • ออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหม
  • สวมใส่รองเท้าที่นุ่ม และมีความยืดหยุ่นพอสมควร
  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุกลุ่ม แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

หากกำลังรับประทานยากลุ่มที่อาจทำให้เกิดตะคริวได้ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาชนิดอื่นแทน

วิธีป้องกันตะคริวในหญิงตั้งครรภ์ช่วงใกล้คลอด

เนื่องจากหญิงคั้งครรภ์จะต้องมีการแบกรับน้ำหนักของครรภ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กล้ามเนื้อขาทำงานหนัก ส่งผลให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น ควรมีการยืดกล้ามเนื้อขา บีบนวดคลายการยึดเกร็ง และเดินออกกำลังขาอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำอื่นๆ อีกดังนี้

ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ
คุณแม่ตั้งครรภ์จะสูญเสียน้ำได้ง่ายจากการปัสสาวะบ่อย เมื่อร่างกายรับน้ำไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย หากเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ใกล้คลอด ภาวะดังกล่าวจะรุนแรงมากกว่าปกติ
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 7-10 แก้ว ถ้าไม่อยากให้ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน ให้ดื่มน้ำในช่วงเช้า และบ่ายให้เพียงพอ ส่วนตอนเย็นใช้วิธีจิบเล็กน้อย จะได้ทำให้นอนหลับสบายตลอดคืน

เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะทำให้แคลเซียมในร่างกายขาดแคลนได้ เนื่องจากร่างกายต้องนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อของลูกน้อยในครรภ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็เสี่ยงต่อการเป็นตะคริว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงให้มากขึ้น ซึ่งพบได้มากในบล็อคโคลี่ ถั่วพลู ผักใบเขียวเข้ม ปลาตัวเล็กที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก นม ถั่วเหลือง งา โยเกิร์ต และชีส

รับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย
ในช่วงของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้นถึง 300 กิโลแคลอรี่ โดยอาหารที่เลือกรับประทานควรให้มีความหลากหลาย ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยลดการเกิดตะคริวในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตะคริวแม้จะเป็นอาการที่สร้างความเจ็บปวดได้ยาวนานและอาจเป็นอันตรายได้ในบางราย แต่ตะคริวก็สามารถป้องกันได้ไม่ยาก เพียงใส่ใจร่างกายของตนเอง

เปรียบเทียบราคาและดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD.com, Leg Cramps and Leg Pain (https://www.webmd.com/baby/leg-cramps), 21 May 2020.
OrthoInfo, Muscle Cramps (https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/muscle-cramps), 21 May 2020.
NHS.UK, Cramp (https://www.nhs.uk/conditions/leg-cramps/), 23 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม