กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

คู่มือไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)

ไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่ก็ยังมีหลายคนเข้าใจผิดว่า เมื่อเป็นไข้หวัดจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ นั่นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คู่มือไข้หวัดธรรมดา (Common Cold)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไข้หวัดเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยคนส่วนใหญ่มักเป็นไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส
  • ไข้หวัดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้หายเร็วขึ้น
  • ไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรียจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาให้หมด เพื่อป้องกันอาการเชื้อดื้อยา
  • วิธีจำแนกไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรียคือ มีอาการป่วยเรื้อรัง ไข้สูง เจ็บคอมาก น้ำมูกมีสีเขียวปนเหลือง ต่อมน้ำเหลืองและต่อมทอนซิลอักเสบ
  • การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน บรรเทาความรุนแรง และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่นี่)

ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า เมื่อเป็นไข้หวัดจะต้องรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ นั่นไม่ใช่ความจริงเสมอไป 

ไข้หวัดนั้นเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยไข้หวัดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน ในขณะที่ไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรียต้องรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แล้วจะแยกไข้หวัดจากเชื้อไวรัส และไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรียออกจากกันได้อย่างไร วันนี้เราได้ทำ “คู่มือไข้หวัด” เพื่ออธิบายความแตกต่างของไข้หวัดทั้งสองชนิด อาการ วิธีการรักษา และวิธีป้องกัน

ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดจากเชื้อไวรัส และไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย

รู้หรือไม่ว่า มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคไข้หวัด เป็น ไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์บนโลก

โดยเชื้อไวรัสหลักที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดคือ ไรโนไวรัส (Rhinoviruses) คิดเป็น 30-50 เปอร์เซ็นต์ และโคโรน่าไวรัส (Coronaviruses) คิดเป็น 10-15 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนคนเป็นไข้หวัดทั้งหมด

อาการไข้หวัดจากเชื้อไวรัสคือ มีไข้ต่ำ หรือไม่มีไข้เลยก็ได้ แต่มักจะมีอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูกใส คัดจมูก แน่นจมูก ไอ จาม เจ็บคอ คอแดง ต่อมทอนซินบวมโดยที่ไม่มีตุ่มหนองอักเสบ และอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย

ในขณะที่อาการของผู้ป่วยไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการป่วยเรื้อรังนานกว่า 5-10 วัน มีไข้ตัวร้อนสูง เจ็บคอมาก มีน้ำมูกสีเขียวปนเหลือง ปวดจมูก ความสามารถในการรับกลิ่นแย่ลง และอาจมีการอักเสบบริเวณต่อมน้ำเหลือง หรือต่อมทอนซิลด้วย

วิธีตรวจจำแนกไข้หวัดด้วยตนเอง

สามารถตรวจเบื้องต้นได้ด้วยการอ้าปากแล้วใช้ไฟฉายส่อง หรือมองผ่านกระจก เพื่อดูว่า ต่อมทอนซิลที่อยู่บริเวณข้างลำคอมีจุดขาว หรือจุดหนองหรือไม่ หรือทดลองจับบริเวณใต้กรามทั้งสองข้างเพื่อดูว่า มีการบวมของต่อมน้ำเหลืองหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากมีอาการเจ็บ หรือสัมผัสได้ถึงอาการบวม แสดงว่า เป็นไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง

วิธีรักษาไข้หวัดจากเชื้อไวรัส และไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย

  • ไข้หวัดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน ในระหว่างนี้ แนะนำให้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จะช่วยให้หายไข้เร็วขึ้น
  • ไข้หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับยาปฏิชีวนะ และยาบรรเทาอาการอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้หมดเพื่อป้องกันอาการเชื้อดื้อยา

วิธีป้องกันไข้หวัดด้วยตนเอง

ไข้หวัดมักเกิดจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง วิธีป้องกันโรคไข้หวัดที่ดีที่สุดจึงเป็นการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ประมาณวันละ 8-10 แก้ว เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบหลักของร่างกาย หากร่างกายขาดน้ำ จะทำให้อ่อนเพลีย และป่วยง่าย
  • ล้างมือให้บ่อยครั้ง เนื่องจากเราอาจสัมผัสกับสิ่งของ หรือเครื่องมือต่างๆ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ เมื่อขยี้ตา หรือรับประทานอาหารก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

สิ่งที่ควรทำเมื่อเป็นไข้หวัด

เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด ผู้ป่วยควรหยุดงาน หรือหยุดเรียน เพื่อพักฟื้นร่างกาย อีกทั้งยังป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคอีกด้วย แต่หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย และสวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ

ในช่วงนี้ไม่ควรสระผมบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้อาการหวัดรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม

หากเจ็บคอให้บรรเทาอาการด้วยการกลั้วน้ำเกลือ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย วันละ 3-4 ครั้ง

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำคัญอย่างไร?

ในทุกๆ ปี หน่วยงานด้านการเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดใหญ่ระดับโลก จะกำหนดสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ 3-4 สายพันธุ์ที่มีแนวโน้มจะระบาดมากที่สุดในปีนั้นๆ เพื่อจัดทำเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงจำเป็นต้องฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยวัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ บรรเทาความรุนแรง และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ไข้หวัดสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

แต่หากป่วยเป็นไข้หวัด จะต้องแยกให้ได้ก่อนว่า ไข้หวัดนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการป่วยหายได้เร็วขึ้น โดยอาจไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะอีกด้วย

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS.UK, Common Cold (https://www.nhs.uk/conditions/common-cold/), 5 March 2020.
Healthline.com, Common Cold (https://www.healthline.com/health/life-cycle-of-the-common-cold), 5 March 2020.
CDC, Common Cold (https://www.cdc.gov/features/rhinoviruses/index.html), 5 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)